รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 7 - 10 กุมภาพันธ์ 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 14, 2011 10:59 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค.53 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,279.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.5 ของ GDP
  • ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ม.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 72.6
  • ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ เดือน ม.ค. 54 เพิ่มขึ้น 36,000 ตำแหน่งงาน ส่งผลให้อัตราการว่างงานสหรัฐฯ เดือน ม.ค. 54 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 9.0 ของกำลังแรงงานรวม
  • ธนาคารกลางจีนประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 5 เดือน เพื่อชะลอแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่นเดือน ม.ค. 54 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 41.1
  • GDP อินโดนีเซีย ไตรมาส 4 ปี 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี ที่ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับลดลงตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวผันผวน

Indicators next week

 Indicators                         Forecast            Previous
Jan: Passenger car sale (%yoy)        18.0                28.2
  • เนื่องจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามถือได้ว่ายังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามทิศ

ทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และ 2) ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น

Economic Indicators: This Week
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค.53 มีจำ นวนทั้งสิ้น 4,279.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 113.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.5 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน โดยเพิ่มขึ้นสุทธิ 97.9 และ 18.7 พันล้านบาท ตามลำดับ สะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยยังคงมีความมั่นคง จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
  • ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือน ธ.ค. 53 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 (หรือหดตัวเล็กน้อยร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า) เนื่องจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับตัวเป็นปกติ แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และ 2) กำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ม.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 72.6 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ระดับ 71.9 โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอุปสงค์ในประเทศ 2) รายได้ภาคครัวเรือนอยู่ในเกณฑ์ดี จากราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง และ 3)ความต่อเนื่องของนโยบายรัฐบาล เช่น การต่อมาตรการลดค่าครองชีพ รวมถึงมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซล อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยที่กดดันให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง ได้แก่ แนวโน้มราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ม.ค. 54 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 18.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนธ.ค.53 ที่ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 28.2 เนื่องจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ถือได้ว่ายังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้นตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และ 2)ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น

Global Economic Indicators: This Week

USA: improving economic trend
  • ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรเดือน ม.ค. 54 เพิ่มขึ้น 36,000 ตำแหน่งงาน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 121,000 ตำแหน่งงาน ส่วนหนึ่งจากผลกระทบของสภาพอากาศหนาวที่เป็นอุปสรรคต่อการ อัตราการว่างงานเดือน ม.ค. 54 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 9.0 ของกำลังแรงงานรวม ส่วนหนึ่งจากจำนวนแรงงานที่ลดลง
China: improving economic trend
  • ธนาคารกลางจีนประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 5 เดือน เพื่อชะลอแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อายุ 1 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.06 และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอายุ 1 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ การประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เกิดขึ้นก่อนที่ทางการจีนจะประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค. 54 ที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 53 ที่ร้อยละ 4.6
Japan: mixed signal
  • ยอดเงินกู้คงค้างของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ม.ค .54 ชะลอลงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ถึงแม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อให้เอกชนหันมากู้เงินจากระบบธนาคารมากขึ้นก็ตามคำสั่งซื้อเครื่องจักร (Core machinery order) เดือน ธ.ค. 53 สูงที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อนหน้า (%mom)บ่งชี้สัญญาณที่ดีในภาคการผลิต ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ม.ค.54 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 41.1
Indonesia: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี ที่ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ทั้งปี 2553 เศรษฐกิจขยายตัวที่ร้อยละ 6.1 โดยเป็นผลมาจากภาคการส่งออก การลงทุนโดยรวม และการบริโภคภาครัฐ ที่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนในระดับสูงที่ร้อยละ 16.1 ร้อยละ 8.7 และร้อยละ 7.3 ตามลำดับ ธนาคารกลางปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.75 เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
Philippines: improving economic trend
  • ยอดส่งออกเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 25.3 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 11.5 โดยการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 19.4
Australia: mixed signal
  • Australia ยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) อย่างไรก็ตาม ยอดค้าปลีกในไตรมาสที่ 4 ของปี 53 หดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.3 (%qoq_sa) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแนวโน้มการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 23 ของ GDP ในระยะต่อไป คาดว่าจะยังมีความเปราะบาง ส่วนหนึ่งจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นภายในประเทศ
Egypt: -
  • Egypt ปัญหาการเมืองในอียิปต์เริ่มคลี่คลายลง หลังจากที่ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รองประธานาธิบดี Suleiman ประกาศว่าไม่ต้องการดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดี และเขายังสามารถรวบรวมกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเพื่อเข้าร่วมเจรากับรัฐบาลได้ โดยคาดว่าอียิปต์อาจจะสามารถจัดตั้ง Transitional Government ก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่ได้ ทั้งนี้ธนาคารพาณิชย์ในอียิปต์ สามารถเปิดทำการได้แล้ว
Weekly Financial Indicators
  • ตลาดหลักทรัพย์ข อง ไ ท ยป รับลดลงเล็กน้อย โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับลดลงตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ความไม่สงบบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา และปรับลดลงมากขึ้นตามภาวะตลาดในภูมิภาค เมื่อจีนประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่วนตลาดพันธบัตรของไทยยังไม่มีทิศทางที่แน่ชัด
และค่อนข้างเปราะบาง โดยผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลระยะปานกลาง และระยะยาวปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวอย่างผันผวน โดยอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์เนื่องจากความกังวลเรื่องความไม่สงบบริเวณชายแดน ทำ ให้มีแรงขายเงินบาทจากนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ตาม เงินบาทกลับแข็งค่าขึ้นในกลางสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคและการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดพันธบัตร โดย ดัชนีค่าเงินบาท(NEER)ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.37 จากการที่เงินบาทอ่อนค่าลงน้อยกว่าค่าเงินของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยอ่อนค่าเป็นรองเพียงค่าเงินยูโร และค่าเงินของประเทศคู่ค้าสำคัญบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน กลับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ