ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร มกราคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 14, 2011 12:18 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรในไตรมาส 4 (ข้อมูลเบื้องต้น) หดตัวจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 0.5 ซึ่งอยู่นอกเหนือการคาดการณ์ของตลาด และขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักที่ทาให้เศรษฐกิจ U.K. หดตัวในไตรมาส 4 มาจากสภาพอากาศที่หนาวผิดปกติในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ส่งผลให้การผลิตภาคบริการและการก่อสร้าง ซึ่งมีสัดส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรหยุดชงักลง อย่างไรก็ดี เครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาส 1 ของปี 2554 บ่งชี้ว่าการหดตัวของเศรษฐกิจ U.K.ในไตรมาส 4 น่าจะเป็นปัจจัยชั่วคราว ดังเห็นได้จากการที่ดัชนีการผลิตภาคบริการกลับมาขยายตัวสูงในเดือนมกราคม และดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง เสถียรภาพเศรษฐกิจ

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศแย่ลง จากอัตราเงินเฟ้อที่คำนวณจาก Consumer Price Index ในเดือน ธ.ค. ปรับตัวสูงขึ้นที่ร้อยละ 3.7 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางอังกฤษที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2 อย่างต่อเนื่องนขณะที่อัตราการว่างงานในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน สูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 7.9 ของกำลังแรงงาน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.7 ของกำลังแรงงาน สอดคล้องภาวะเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ที่หดตัวลง ดุลการค้าของสินค้าและบริการของสหราชอาณาจักรในเดือน พ.ย. ขาดดุลเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของการขาดดุลการค้ากับสหภาพยุโรปที่ได้เปรียบจากค่าเงินยูโรที่อ่อนค่ามากในปีก่อนภาคการเงินและภาคการคลัง

ธนาคารกลางอังกฤษยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.5 และคงมาตรการ QE ที่ 200 พันล้านปอนด์ แต่มีกรรมการเสียงข้างนอก 2 ท่านเสนอให้ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นเร็วส่งผลให้ตลาดการเงินคาดว่าธนาคารกลางอังกฤษอาจจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในปี 54 รัฐบาลขาดดุลการคลังลดลงในเดือน ธ.ค. ตามมาตรการลดรายจ่ายภาครัฐ แต่หนี้สาธารณะยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 59.3 ของ GDP

ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 4/2553

ข้อมูล(เบื้องต้น) เศรษฐกิจ U.K.ไตรมาส 4 หดตัวจากไตรมาสก่อน จากสภาพอากาศที่หนาวผิดปกติ ส่งผลให้การผลิตภาคบริการและการก่อสร้างหยุดชงัก

ข้อมูลเบื้องต้นของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหราชอาณาจักรประจาไตรมาสที่ 4 ของปี 2010 หดตัวจากไตรมาสก่อน (Quarter on Quarter) ร้อยละ -0.5 ซึ่งเป็นการหดตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ร้อยละ +0.5 ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year on Year) เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรยังคงขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาส 2 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี

ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในไตรมาส 4 หดตัวจากในไตรมาส 3 มาจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติกว่าทุกปี ส่งผลให้ภาคบริการ ซึ่งมีสัดส่วนถึง 3 ใน 4 ของการผลิตรวม หดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ-0.5 โดยเฉพาะบริการในด้านค้าส่งค้าปลีก โรงแรม และภัตตาคาร (Distribution Hotels and Restaurants) และการคมนาคมขนส่ง (Transport Storage and Communications) ที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศโดยตรง ได้หดตัวจากไตรมาสก่อหหน้าที่ร้อยละ -0.5 และ -0.8 ตามลาดับ นอกจากนี้ ภาคการก่อสร้าง ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 6.1 ของ GDP ก็ได้รับผลกระทบจากอากาศที่หนาวจัด ส่งผลให้การก่อสร้างในไตรมาส 4 หดตัวร้อยละ -3.3 จากไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ภาคการผลิต ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 18.5 ของ GDP ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ที่ร้อยละ 0.9 โดยได้รับอานิสงค์จากการเพิ่มขึ้นของความต้องการซื้อสินค้าอุตสากกรรมจากต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น

เครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาส 1/2554

เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในเดือนมกราคม 2554 ปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลจากการหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 4/2553

ผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Purchasing Managers Index: Manufacturing) ประจำเดือนมกราคม 2554 ของสหราชอาณาจักร ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 62 ขณะที่ดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคบริการ (Purchasing Managers Index: Service) ในเดือนมกราคม 2554 ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 54.5 หลังจากหดตัวมาอยู่ตากว่าระดับ 50.0 ในช่วงปลายปีก่อน

สาเหตุที่ส่งผลให้ดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ของปี 2553 จนถึงเดือนมกราคม 2554 มาจากการที่เศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ความต้องการซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในสหราชอาณาจักรเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการซื้อจากประเทศในเอเชียที่ขยายตัวสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง นอกจากนั้นการที่ค่าเงินปอนด์อ่อนลงในช่วงที่ผ่านมาได้ช่วยให้สินค้าอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักรมีความสามารถการแข่งขันด้านราคาที่ดีขึ้น

สำหรับการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคบริการในเดือนมกราคม 2554 มาจากการเร่งคาสั่งซื้อเพื่อทดแทนการบริการในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมของปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวจัดจนส่งผลให้การผลิตภาคบริการหยุดชงัก อย่างไรก็ดีการปรับตัวที่ดีขึ้นของดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคบริการ ส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลจากการหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ของปี 2553 ซึ่งน่าจะเป็นการหดตัวในลักษณะชั่วคราวจากปัญหาสภาพอากาศที่มีหิมะตกหนัก และน่าจะกลับมาปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2554

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

อัตราเงินเฟอเดือน ธ.ค. เร่งตัวสูงขึ้น 3.7% สูงกว่าเปาหมายเงินเฟอธนาคารกลางที่ 2%

อัตราเงินเฟอที่คานวณจาก ทั่วไป(Consumer Price Index: 3.7 ต่อปี3.3 ต่อปีขณะที่อัตราเงินเฟอพื้นฐาน (Core Inflation) ที่ไม่รวมราคาอาหารและราคาสินค้าพลังงานในเดือนธันวาคมปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี สะท้อนถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นในสหราชอาณาจักร

ส่งผลในเดือนธันวาคมปรับตัวสูงขึ้นและพลังงานธันวาคมที่ผ่านมาสินค้าในหมวด และพลังงาน 6.4 ต่อปี สูงขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี

สำหรับอัตราเงินเฟอที่คำนวณจากราคาสินค้าขายปลีก (Retail Price Index: RPI) ในเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนพฤศจิกายนที่อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี โดยสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อที่คำนวณจากราคาสินค้าขายปลีก (RPI) ปรับสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เนื่องจากการคำนวณดัชนีราคาสินค้าขายปลีกทั่วไป ได้รวมถึงราคาบ้าน ซึ่งมีราคาลดลงในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

อย่างไรกีดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคมที่สูงถึงร้อยละ 3.7 ต่อปี เป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่ากรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางอังกฤษที่ตั้งไว้อยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นตลาดการเงินจึงคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอังกฤษอาจจะเริ่มทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นในปี 2554 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ปรับตัวลดลงภายในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

อัตราการว่างงานในไตรมาส 4 ของปี 2553 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 7.9%

อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน (กันยายนพฤศจิกายน) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 7.9 ของกำลังแรงงาน เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 7.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งไตรมาสทั้งสิ้น 2.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 49,000 คน ทั้งนี้ อัตราการมีงานทำ (Employment Rate) ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ปรับตัวลงลงมา 70.4 ของกำลังแรงงาน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 70.7 ของกำลังแรงงาน โดยในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายนดังกล่าว มีจำนวนผู้มีงานทำที่อายุระหว่าง 16-64 ปี (Employment Level) 29.09 ล้านคน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 69,000 ซึ่งเป็นการลดลงของผู้มีงานทำเต็มเวลา (Fulltime) จานวน 37,000 คน และเป็นการลดลงของผู้มีงานทำบางเวลา (Part-time) จำนวน 32,000 คน

อัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นและอัตราการจ้างงานที่ลดลงในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2553 ดังกล่าว สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่หดตัวลงในไตรมาส 4 อย่างไรก็ดีจากเครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือนมกราคม 2554 ที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ซึ่งมีการจ้างงานอยู่เป็นจำนวนมากคาดว่าจะช่วยให้อัตราการว่างงานและอัตราการจ้างงานในไตรมาสแรกของปี 2554 ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ

ดุลการค้าของสินค้าและบริการในเดือน พ.ย.ขาดดุลเพิ่มขึ้น จากการขาดดุลการค้ากับสหภาพยุโรปที่ได้เปรียบจากเงินยูโรที่อ่อนมากในช่วงเดียวกัน

ดุลการค้าของสินค้าและการบริการในเดือนพฤศจิกายนขาดดุลที่ 4.1 พันล้านปอนด์ ซึ่งเป็นการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล 4 พันล้านปอนด์ โดยสาเหตุที่ทาให้การขาดดุลการค้าและการบริการเพิ่มสูงขึ้น เกิดจากการที่ดุลการค้าของสินค้า (Trade on Goods) ขาดดุลเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายนมาอยู่ที่ 8.7 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคมที่ขาดดุล 8.6 พันล้านปอนด์ ทั้งนี้ สาเหตุหลักที่ทำให้ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้นมาจากการขาดดุลการค้ากับสหภาพยุโรปที่เพิ่มขึ้นจาก 3.5 พันล้านปอนด์ในเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ 3.7 พันล้านปอนด์ในเดือนพฤศจิกายน อันสืบเนื่องมาจากการที่ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินปอนด์ในช่วงเวลาดังกล่าว แต่เมื่อพิจารณาดุลการค้าของของสหราชอาณาจักรกับประเทศนอกสหภาพยุโรป จะเห็นว่าสหราชอาณาจักรขาดดุลการค้ากับนอกสหภาพยุโรปลดลงจาก 5.1 พันล้านปอนด์ในเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ 5.0 พันล้านปอนด์ในเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ดีดุลบริการ (Trade on Service) ของสหราชอาณาจักรในเดือนพฤศจิกายนยังคงเกินดุลเท่ากับเดือนตุลาคมที่อยู่ที่ 4.6 พันล้านปอนด์

นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย

Bank of England คงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 0.5 และคง QE 200 พันล้านปอนด์แต่มีกรรมการเสียงส่วนน้อย 2 คนเห็นควรขึ้นดอกเบี้ย สะท้อนแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2554 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ มีมติให้คงนโยบายอัตราดอกเบี้ย Bank rate ไว้ตามเดิมในอัตราร้อยละ 0.50 พร้อมกับคงมาตรการรับซื้อตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน (Quantitative Easing: QE) จานวน 200 พันล้านปอนด์ ไว้ตามเดิม

แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Monetary Policy Committee) ส่วนใหญ่จะเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ร้อยละ 0.5 แต่ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในเดือนมกราคมดังกล่าว ได้มีคณะกรรมการเสียงข้างน้อยจำนวน 2 คน (Andrew Sentence และ Martin Weale) ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 0.75 สะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรที่ปรับตัวสูงขึ้น จนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับที่สูงกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารที่ร้อยละ 2.0 เป็นระยะเวลานาน

ผลของการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในเดือนมกราคม 2554 ทำให้ตลาดการเงินคาดการณ์ว่าธนาคารกลางของอังกฤษจะเริ่มทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2554 นี้ หลังจากตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.5 ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

อัตราแลกเปลี่ยน

ตั้งแต่ต้นปี 54 เงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรแต่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์และเยน

ในช่วงเดือนมกราคม 2554 ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร เนื่องจากตลาดการเงินเริ่มคลายความกังวลในปัญหาวิกฤติค่าเงินยูโร หลังจากประเทศโปรตุเกสและสเปนสามารถขายพันธับัตรรัฐบาลให้แก่นักลงทุนได้หมด สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของตลาดการเงินที่เชื่อว่ารัฐบาลโปรตุเกสและสเปนจะยังรักษาความสามารถในการชาระหนี้ได้ ส่งผลให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นและค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลง ดังจะเห็นได้จากค่าเงินปอนด์ในช่วงต้นเดือนมกราคมที่อยู่ที่ระดับ 1.195 ยูโร/ปอนด์ ได้อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 1.188 ยูโร/ปอนด์ ในช่วงปลายเดือนมกราคม

อย่างไรก็ดี ค่าเงินปอนด์เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อเทียบกับค่าเงินเยน ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาเริ่มแข็งค่าขึ้น ดั่งจะเห็นได้จาก ในช่วงต้นเดือนมกราคมที่ค่าเงินปอนด์เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ระดับ 1.55 $/ปอนด์ ได้กลับมาแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ 1.612 $/ปอนด์ ในช่วงปลายเดือนมกราคม ในขณะที่ค่าเงินปอนด์เมื่อเทียบกับค่าเงินเยนได้กลับมาแข็งค่าขึ้นเช่นกัน จากระดับ 129 Y/ปอนด์ ในช่วงต้นเดือนมกราคม มาอยู่ที่ 132.7 Y/ปอนด์ ในช่วงปลายเดือนมกราคม สำหรับสาเหตุหลักที่ค่าเงินปอนด์กลับมาแข็งค่าขึ้นเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สรอ.และค่าเงินเยน มาจากการที่อัตราเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรที่เร่งตัวสูงขึ้นมากในเดือนธันวาคม ส่งผลให้ตลาดการเงินเชื่อว่าธนาคารกลางของอังกฤษน่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงขึ้นในปี 2554 นี้ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐและในญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับต่ำมาก ซึ่งเป็นเหตุให้ธนาคารกลางทั้ง 2 ประเทศยังไม่น่าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เพราะฉะนั้น นักลงทุนจึงคาดการณ์ว่าค่าเงินปอนด์จะแข็งค่าขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยในอังกฤษ

นโยบายการคลังและฐานะการคลัง

หนี้รัฐบาล Debt/GDP ณ สิ้นปี 53 ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 59.3% แต่รัฐบาลได้พยายามตัดรายจ่ายและลดการขาดดุลงบประมาณให้เป็นไปตามเป้า

สำหรับยอดหนี้สาธารณะสุทธิ (ที่ไม่รวมมาตรการช่วยเหลือภาคการเงิน) ณ สิ้นเดือนธันวาคม อยู่ที่ระดับ 889.1 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 59.3 ของ GDP ซึ่งสูงขึ้นจากปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 52.2 ของ GDP (843.6 พันล้านปอนด์) แต่ถ้ารวมมาตรการการช่วยเหลือภาคการเงิน ซึ่งได้รวมหนี้สินสุทธิของธนาคาร Royal Bank of Scotland และ Lloyds Banking Group จะอยู่ที่ระดับ 2,322.7 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 154.9 ของ GDP

สำหรับยอดการขาดดุลงบประมาณสุทธิ ณ ในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนที่ 9 ของปีงบประมาณ 2010/11 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณสุทธิ 16.8 พันล้านปอนด์ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดดุล 21 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้ยอดการขาดดุลงบประมาณปี 2010/2011 สะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ (Cumulative public sector net borrowing) อยู่ที่ 118.4 พันล้านปอนด์ ซึ่งตากว่ายอดกู้เงินสะสมในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนที่อยู่ที่ 126.8 พันล้านปอนด์ ทำให้คาดการณ์ว่ารัฐบาลจะสามารถบรรลุเป้าหมายของการลดการขาดดุลงบประมาณในปี 2010/11 ให้อยู่ที่ไม่เกิน 149 พันล้านปอนด์ (หรือร้อยละ 10.1 ของ GDP) ได้

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ