รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 14 - 17 กุมภาพันธ์ 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 21, 2011 12:06 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ม.ค.54 มีจำนวนทั้งสิ้น 125.7 พันลานบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.9
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ม.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพยรวมในเดือนม.ค. 54 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 70.9
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 54 อยูที่ระดับ 112.7
  • GDP สหภาพยุโรป ในไตรมาส 4 4 ป 53 (เบื้องต้น) ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 หรือขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.3
  • GDP ญี่ปุนในไตรมาสที่ 4 ปี 5 53 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหดตัวร้อยละ -0.3
  • การส่งออกของจีน ในเดือน ม.ค. 54 54 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.7
  • การส่งออกและการนำเข้าสหรัฐฯฯ ในเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13 13.7 และร้อยละ 12.8 ตามลำดับ
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Jan: API (%yoy)                       2.5                  3.1
  • ตามการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องของผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะชาวนาปี และยางพารา เนื่องจากปัญหาอุทกภัยคลี่คลายลง ประกอบกับราคาสินคาเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง จูงใจใหเกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น
Economic Indicators: This Week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ม.ค.54 มีจำนวนทั้งสิ้น 125.7 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.9 และสูงกว่าประมาณการ 20.5 พันล้านบาทหรือร้อยละ 19.4 โดยภาษีที่สำคัญมาจากภาษีฐานการบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่ภาษีฐานรายได้ (ผลรวมของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ขยายตัวร้อยละ 21.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ขยายตัวร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการใช้จ่ายภายในประเทศและรายได้ประชากร ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 54 รายได้สุทธิของรัฐบาล(หลังหักจัดสรรให้ อปท.) มีจำนวนทั้งสิ้น 521.2 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.5 และสูงกว่าประมาณการ 64.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 14.1
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ม.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนธ.ค.53 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.3 และหากปรับผลทางฤดูกาลแล้วจะขยายตัวร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยจากกำลังซื้อของประชาชนและภาคการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม ในเดือนธ.ค. 53 บ่งชี้ว่าการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวในเกณฑ์ดี และจะเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือนม.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 70.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 91.0 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีความต้องซื้อที่อยู่อาศัยปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับภาคอสังหาริมทรัพย์โดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดีหลังสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ รวมทั้งอุปสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 112.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 109.7 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ ที่ขยายตัวดีขึ้นโดยเฉพาะจากภาคการบริโภค ปัจจัยสำคัญมาจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศที่ขยายตัวดี ทั้งยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับ 116.3 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 115.5 เนื่องจากผู้ประกอบการคาดการณ์ว่า ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการจะปรับตัวสูงขึ้น
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ม.ค. 54 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ตามการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องของผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะข้าวนาปี และยางพารา เนื่องจากปัญหาอุทกภัยคลี่คลายลง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง จูงใจให้เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น

Global Economic Indicators: This Week

China: mixed signal
  • China อัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.9 เนื่องจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญยอดส่งออกเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน ที่ร้อยละ 37.7 ขณะที่ยอดนำเข้าขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนในอัตราสูงที่ร้อยละ 51.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนำเข้าก่อนเทศกาลตรุษจีน ทำให้ดุลการค้าเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
USA: mixed signal
  • USA ยอดส่งออกและนำเข้าเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 13.7 และร้อยละ 12.8 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 40.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนหนึ่งจากราคานำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น ยอดค้าปลีกเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 0.3 ยอดสร้างบ้านใหม่เดือน ม.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 14.6 จากเดือนก่อนหน้า แต่ยังหดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ -2.6
Eurozone: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 53 (เบื้องต้น) ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 2.0 หรือขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.3 คาดว่ามาจากภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตต่อเนื่อง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 8.0 แต่หดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.1 (%mom) จากการผลิตสินค้าขั้นกลาง และสินค้าคงทนที่หดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.3 และร้อยละ -1.0 ตามลำดับ การส่งออกและนำเข้าเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนทีร้อยละ 20.3 และร้อยละ 24.4 ตามลำดับ แต่หดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.4 และร้อยละ -1.1 ตามลำดับ โดยขาดดุลการค้าที่ 0.5 พันล้านยูโร
Japan: worsening economic trend
  • Japan GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 53 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหดตัวที่ร้อยละ -0.3 (%qoq_sa) เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศที่หดตัวร้อยละ -0.7 จากไตรมาสก่อนหน้าเป็นสำคัญ
Singapore: mixed signal
  • ยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 1.8 หรือขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าทีร้อยละ 2.7 (%mom_sa) ขณะที่ยอดค้าปลีกไม่รวมรถยนต์ (สัดส่วนร้อยละ 35 ของยอดค้าปลีกทั้งหมด) ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 8.6
South Korea: improving economic trend
  • ธนาคารกลางคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 2.75 ขณะที่การจ้างงานเดือน ม.ค. 54 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 331,000 ตำแหน่งงาน จากการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ
Vietnam: mixed signal
  • ยอดส่งออกและนำเข้าเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 19.7 และร้อยละ 17.5 ตามลำดับ ในขณะที่ธนาคารกลางเวียดนามลดค่าเงินดองเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 15 เดือนลงอีกร้อยละ 7 เพื่อแก้ปัญหาการขาดดลการค้า อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจากล่าสุดที่ร้อยละ 12.2 ในเดือน ม.ค. 54
Taiwan: improving economic trend
  • ยอดส่งออกและนำเข้าเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 16.6 และร้อยละ 21.9 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหนึ่งจากความต้องการสินค้าจากจีนที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากเทศกาลตรุษจีน
Weekly Financial Indicators
  • ตลาดหลักทรัพย์ของไทยเคลื่อนไหวไม่มากนัก อย่างไรก็ตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้นตลอดสัปดาห์ หลังจากที่ปรับลดลงในสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดอื่นในภูมิภาค แรงซื้อหลักมาจากนักลงทุนต่างชาติ ในขณะที่นักลงทุนในประเทศส่วนใหญ่เทขาย ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยยังไม่มีทิศทางที่แน่ชัด การซื้อขายเป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานของตลาด โดยผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น และระยะยาวปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางปรับลดลง
  • ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ โดยมีแรงขายเงินตราต่างประเทศจากผู้ส่งออกและนักลงทุนนอกประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการเข้าซื้อหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างประเทศ อย่างไรก็ตามตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าลงร้อยละ 1.76 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของปีที่แล้ว ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.47 ส่วน ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.97 จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าค่าเงินของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยมีเพียงเงินบาท และเงินหยวนของจีนเท่านั้นที่แข็งค่าขึ้นในสัปดาห์นี้ ส่วนเงินสกุลอื่นอ่อนค่าลง โดยเฉพาะเงินเยนของญี่ปุ่นและเงินยูโร

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ