ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้
1. ทุนสารองเงินตราระหว่างต่างประเทศลดลงติดต่อกัน 3 เดือน
2. เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ 1.1 ต่อปีในไตรมาส 4
3. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประจาปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5
4. ญี่ปุ่นและอินเดียทาข้อตกลง Economic Partnership Agreement (EPA)
5. รัฐบาลญี่ปุ่นอาจจะไม่สามารถผ่านร่างกฎหมายงบประมาณประจาปี 2554 ต่อสภาได้
-----------------------------------
กระทรวงการคลังได้เปิดเผยว่าทุนสารองเงินตราระหว่างต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2554 ลดลง 3.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดือนที่แล้ว อยู่ที่ 1.09298 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการลดลงเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจาก 1.การเพิ่มของอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐส่งผลให้มูลค่าพันธบัตรและหลักทรัพย์ที่ถือครองโดยรัฐบาลญี่ปุ่นที่เป็นเงินตราต่างประเทศลดลง และ 2.รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปล่อยเงินกู้ให้กับ Japan Bank for International Cooperation (JBIC) โดยใช้จากทุนสารองเงินตราระหว่างต่างประเทศเพิ่มขึ้น 3.9 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว เพื่อลงทุนในโครงการสาธรณูปโภคให้มากขึ้น ในขณะที่เงินกู้ให้กับ International Monetary Fund (IMF) เพิ่มขึ้น 1.645 พันล้านเยน
Cabinet Office ได้เปิดเผยว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ของปีนี้ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนห้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และร้อยละ - 1.1 ต่อปี ซึ่งการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ส่วนอัตรา Nominal GDP ลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและร้อยละ - 2.5 ต่อปี ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ไตรมาส โดยการใช้จ่ายผู้บริโภคลดลงร้อยละ 0.7 จากไตรมาส 3 ที่อยู่ที่ร้อยละ 0.9 เนื่องจากอัตราภาษีบุหรี่เพิ่มขึ้นและการให้เงินสนับสนุนกับผู้ซื้อรถยนต์ Eco Car ที่สิ้นสุดแล้วทาให้ยอดขายรถยนต์ลดลง แต่โครงการสะสม Eco Point เมื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ทาให้มีผู้บริโภคซื้อโทรทัศน์จอบางเพิ่มขึ้น การลงทุนในที่หยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากไตรมาส 3 อยู่ที่ 1.8
การส่งออกลดลงร้อยละ 0.7 เนื่องจากการส่งออกรถยนต์และสารกึ่งตัวนาลดลง
Cabinet Office ยังเปิดเผยว่าเศรษฐกิจจีนแซงหน้าญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่ของโลกอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ โดยมูลค่า Nominal GDP ของจีนในปี 2553 อยู่ที่ 5.8786 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ญี่ปุ่นมีมูลค่า Nominal GDP หยู่ที่ 5.4742 ล้านล้านดอลลารห์สหรัฐฯ
กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประจาปี 2553 มีจานวน 17.801 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียและจีนปรับตัวดีขึ้น ขณะที่รายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนต่างประเทศลดลงอย่างมาก
ส่วนการเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 98 อยู่ที่ 7.9969 ล้านล้านเยน อุปสงค์ในประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ยอดส่งออกรถยนต์และเหล็กกล้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อยู่ที่ 63.9203 ล้านล้านเยน ขณะเดียวกันยอดการนาเข้าก็เพิ่มขึ้นรอยละ 19.4 อยู่ที่ 1.4768 ล้านล้านเยน โดยมีการนาเข้าน้ามันดิบและก๊าสธรรมชาติเพิ่มขึ้น ราคาอาหารที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในโลกอาจจะทาให้ยอดการนาเข้าเพิ่มขึ้นไปอีก
ส่วนการเกินดุลรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนต่างประเทศลดลงร้อยละ 5.5 อยู่ที่ 11.6414 ล้านล้านเยน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยต่าในทั่วโลกทาให้รายได้จากดอกเบี้ยของพันธบัตรและหลักทรัพย์ลดลง รายละเอียดตามตารางที่แนบ
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 นาย Seiji Maehara รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น และนาย Anand Sharma รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์อินเดีย ได้ร่วมลงนามในข้อตกลง Economic Partnership Agreement (EPA) ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินเดีย
ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศญี่ปุ่นและอินเดียประจาปี 2553 มีจานวนเท่ากับ 9 แสนล้านเยน เมื่อเทียบจากตัวเลขการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของญี่ปุ่นแล้วมีจานวนเท่ากับร้อยละ 1 ซึ่งทั้งสองประเทศได้คาดหวังว่าการทา EPA ครั้งนี้จะทาให้การค้าระหว่างญี่ปุ่นและอินเดียขยายตัวเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีการยกเว้นภาษีศุลกากรของสินค้าจานวนร้อยละ 94 ภายในเวลา 10 ปี การทา EPA ครั้งนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศเมื่อปี 2553 เนื่องจากปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีจานวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงมีความจาเป็นที่จะต้องหาตลาดใหม่ในต่างประเทศทดแทนตลาดในประเทศที่จะลดขนาดลงเรื่อยๆ และอินเดียก็ต้องการเร่งขยายการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจประเทศตนเอง จึงได้มีการหารือและและตกลงทา EPA ครั้งนี้
อินเดียเป็นประเทศที่ 12 ที่ญี่ปุ่นทา EPA ด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้อินเดียได้มีการลงนามในข้อตกลง EPA กับประเทศเกาหลีไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นจะนาเสนอต่อสภาและคาดว่าจะให้มีผลบังคับใช้ภายในช่วงเดือนสิงหาคม 2554 โดยภายหลังจากมีผลบังคับใช้บริษัทผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่น เช่น Suzuki Motor จะได้รับการยกเว้นภาษีชิ้นส่วนรถยนต์ที่ส่งเข้าไปเพื่อประกอบในโรงงานที่อินเดียเป็นต้น และสาหรับอินเดียจะสามารถส่งออกยาประเภท Generic เข้ามาจาหน่ายในญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังจะมีการยกเว้นภาษีสาหรับสินค้าอุตสาหกรรมเกือบทุกชนิดที่นาเข้าจากอินเดียทันทีหลังจากมีผลบังคับใช้ และรัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนที่จะยกเว้นภาษีการนาเข้าเครื่องเทศ ใบชา เป็นต้นภายใน 10 ปีด้วย
ร่างกฎหมายเกี่ยวกับงบประมาณประจาปี 2554 เช่นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกพันธบัตรรัฐบาลนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะผ่านสภาไม่ทันภายในปีงบประมาณนี้ เนื่องจากเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรค The Democratic Party of Japan (DPJ) ซึ่งเป็นพรรคแกนนารัฐบาลจานวน 16 คนได้ประกาศจะตั้งกลุ่มใหม่ภายในพรรค DPJ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับร่างงบประมาณประจาปีดังกล่าว และมีความเป็นไปได้ว่าจะมีผู้แสดงความเห็นเช่นเดียวกันเพิ่มมากขึ้นจากนี้ไป รวมทั้งพรรค Social Democratic Party ที่เป็นพรรคฝ่ายรัฐบาลก็ปฎิเสธที่จะร่วมหารือกับพรรคแกนนารัฐบาลเกี่ยวกับการวางนโยบายด้วย ทาให้พรรคฝ่ายรัฐบาลจะมีเสียงไม่ถึง 2 ใน 3เพื่อจะผ่านกฎหมายดังกล่าวในสภาได้ หากไม่สามารถผ่านกฎหมายดังกล่าวในสภาภายในวันที่ 2 เดือนมีนาคมได้จะทาให้มีงบประมาณไม่พอเป็นจานวนเท่ากับ 40.7 ล้านล้านเยน เนื่องจากไม่สามารถออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ หากเป็นเช่นนั้นรัฐบาลจะต้องใช้รายได้จากการเก็บภาษีแต่ละเดือนมาทดแทนในส่วนดังกล่าว ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองญี่ปุ่น รวมทั้งภายในพรรค DPJ เองเริ่มมีเสียงแสดงความเห็นว่านาย Naoto Kan นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น อาจจะต้องยอมสละตาแหน่งเพื่อแลกกับการให้ร่างกฎหมายงบประมาณดังกล่าวผ่านสภาได้
ดุลการชาระเงินระหว่างประเทศประจาปี 2553
(Balance of Payments)
หน่วย: พันล้านเยน
รายการ ปี 2553 ปี 2552 1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance) 17,080.1 13,286.7 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (28.5) (-18.9) 1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance) 6,520.1 -2,124.9 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (203.9) (12.4) 1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance) 7,996.9 4,038.1 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (98.0) (0.3) การส่งออก (Exports) 63,920.3 50,857.2 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (25.7) (-34.2) การนำเข้า (Imports) 55,923.4 46,819.1 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (19.4) (-36.1) 1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance) -1,476.8 -1,913.2 1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income) 11,641.4 12,325.4 1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers) -1,081.4 -1,163.5 2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance) -12,858.6 -12,644.7 2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance) -12,425.7 -12,179.4 การลงทุนโดยตรง (Direct Investment) -5,123.8 -5,872.5 การลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) -13,203.0 -20,505.3 การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives) 1,041.3 948.7 การลงทุนอื่นๆ (Other investments) 4,859.8 13,249.7 2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance) -432.9 -465.3 3. ยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets) -3,792.5 -2,526.5 ที่มา กระทรวงการคลังญี่ปุ่น สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th