รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 7, 2011 11:24 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • สินเชื่อเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินขยายตัวร้อยละ 8.9
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค.54 เกินดุล 1,091 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ม.ค.54 ขยายตัวรอยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน ม.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 62.1 ของกำลังการผลิตรวม
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑเหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 19.7
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 2.87 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.45
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 6.0
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีน เดือน ก.พ. 54 ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 6 เดือน มาอยูที่ระดับ 52.2
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ เดือน ก.พ. 54 อยู่ระดับสูงที่สุดในรอบ 7 ป ที่ระดับ 61.4
  • เศรษฐกิจอินเดียไตรมาส 4 ปี 53 ขยายตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Feb: Motorcycle Sales (%yoy)           7.5                 5.8
  • โดยไดรับปัจจัยบวกจากกำลังซื้อของประชาชนยังอยูในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในระดับสูง ตามราคาสินคาเกษตรที่ยังคงขยายตัวในอัตราเร่ง
Economic Indicators: This Week
  • สินเชื่อเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 10.1 และสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 15.3 บ่งชี้ว่าความต้องการสินเชื่อสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว สินเชื่อรวมจะขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.9 จากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.7 ซึ่งหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว จะขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จาก 1) การระดมเงินฝากของธนาคารเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป และ 2) การแข่งขันระหว่างธนาคารเพื่อจูงใจลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น สะท้อนได้จากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และการออกผลิตภัณฑเงินออมพิเศษ
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค.54 เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนที่ 1,091 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลจากการขาดดุลการค้า -588 ลานดอลลารสหรัฐ ซึ่งนับเป็นการขาดดุลครั้งแรกตั้งแต่เดือน ก.ค. 53 เนื่องจากมีการนำเข้าทองคำสูงสุดเป็นประวัติการณ ซึ่งหากหักการนำเขาทองคำออกแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ม.ค. 54 จะเกินดุลที่ 1,143 ลานดอลลารสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 1,678 ลานดอลลารสหรัฐ ตามรายรับจากภาคการทองเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับรายจายผลประโยชนจากการลงทุนลดลง
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ม.ค.54 ขยายตัวรอยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน ธ.ค. 53 ที่หดตัวร้อยละ -3.4 โดยได้รับปัจจัยบวกจากอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องหนัง การปั่นการทอ อุปกรณ์วิทยุโทรทัศน์ เป็นสำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นตามคำสั่งซื้อทั้งภายในและภายนอกประเทศ ประกอบกับมีการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ ที่กำลังจะเปิดตัวในเดือน มี.ค. 54 อย่างไรก็ตามมีบางอุตสาหกรรมที่ได้ปรับลดการผลิตลง อาทิ ฮารด์ดิสไดรฟ์ สาเหตุเพราะมีการชะลอการผลิตในช่วงต้นไตรมาส ประกอบกับคำสั่งซื้อภายนอกประเทศลดลง และอุตสาหกรรมเครื่องประดับที่การผลิตลดลงต่อเนื่องหลังได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองในช่วงกลางปี 53 ทั้งนี้ เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ม.ค.54 ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.2 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน ม.ค. 54 อยูที่ร้อยละ 62.1 ของกำลังการผลิตรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 62.4 ของกำลังการผลิตรวม
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑเหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 19.7 เมื่อเทียบกับช๋วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกจะขยายตัวรอยละ 8.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ สาเหตุหลักของการขยายตัวมาจากปริมาณการจำหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้าง โดยเฉพาะเหล็กเส้นขออ้อย และลวดเหล็กแรงดึงสูงขยายตัวร้อยละ 30.1 และ 20.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ตามลำดับ ขณะที่เหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่มาจากเหล็กแผนเคลือบสังกะสีขยายตัวร้อยละ 24.8 ทั้งนี้ ปริมาณการจำหนายเหล็กและผลิตภัณฑเหล็กดังกล่าวสอดคลองกับอัตราการใช้กำลังการผลิตในหมวดการผลิตโลหะขั้นมูลฐานในเดือน ม.ค. 54 ที่อยู่ที่ร้อยละ 50.9 ของกำลังการผลิตรวม สูงขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวสะท้อนถึงการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพยและอุตสาหกรรมที่ใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
  • อัตราเงินเฟอทั่วไปในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวรอยละ 2.87 เมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของปกอน ขยายตัวตอเนื่องแตชะลอลง จากเดือน ม.ค. 54 ที่ขยายตัวรอยละ 3.03 ทั้งนี้ เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแลวจะขยายตัวจากเดือนกอนหนารอยละ 0.40 สาเหตุหลักมาจากดัชนีราคาในหมวดผลไมสด เนื้อสุกร ไกสด เครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป และน้ำมันเชื้อเพลิง ขยายตัวอยางตอเนื่อง ประกอบกับเปนเดือนที่ตรงกับเทศกาลตรุษจีน สงผลใหดัชนีราคาสินคาปรับตัวเพิ่มขึ้นตามอุปสงคในตลาดที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟอพื้นฐานขยายตัวรอยละ 1.45 เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. 54 ที่ขยายตัวอยูรอยละ 1.32
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวรอยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวในระดับเดียวกันกับเดือนก่อนหน้า โดยหมวดสินคาที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑเหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 14.4 ซึ่งมาจากเหล็กเสนเสริมคอนกรีต และลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง ทั้งนี้ ดัชนีในหมวดซีเมนตขยายตัวรอยละ 8.6 ซึ่งสินคาสำคัญ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอรแลนด์ และดัชนีในหมวดไม้และผลิตภัณฑไม้ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.5 ได้แก่ บานประตูหน้าต่าง เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบในการผลิตและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณจำหนายรถจักรยานยนต์ ในเดือน ก.พ. 54 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 โดยได้รับปจจัยบวกจากกำลังซื้อของประชาชนยังอยูในเกณฑดี โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในระดับสูง ตามราคาสินคาเกษตรที่ยังคงขยายตัวในอัตราเร่ง

Global Economic Indicators: This Week

China: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Purchasing Manager's Index: Mfg PMI) ของจีน เดือน ก.พ. 54 อยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 52.2 จาก 52.9 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุจากความต้องการซื้อสินค้า ปริมาณการผลิตและการสะสมสินค้าคงคลังที่ปรับลดลงเป็นสำคัญ นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน จากมาตรการการเงินแบบเข้มงวดของธนาคารกลางจีนยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการชะลอตัวในภาคอุตสาหกรรม
US: improving economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ. 54 สูงที่สุดในรอบ 7 ปี ที่ระดับ 61.4 โดยดัชนีองค์ประกอบด้านการจ้างงานสูงที่สุดในรอบ 38 ปี ที่ระดับ 64.5
Eurozone: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องตน) เดือน ก.พ. 54 สูงที่สุดในรอบ 28 เดือน มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับร้อยละ 2.3 อัตราการว่างงานเดือน ม.ค. 54 ลดลงต่ำกว่าระดับ 10.0 เป็นครั้งแรกในรอบปี มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.9 ของกำลังแรงงานรวม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Service PMI) เดือน ก.พ. 54 สูงที่สุดในรอบ 18 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 56.8 บ่งชี้สัญญาณที่ดีในภาคบริการ ยอดค้าปลีกของเยอรมันในเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยยอดค้าปลีกที่แท้จริง (ณ ราคาคงที่) ในเดือน ม.ค. 2554 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 2.6 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบวายอดค้าปลีกที่แท้จริง (ณ ราคาคงที่) ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.4
Australia: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือเรงขึ้นที่ร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบไตรมาสก่อนหนา (%qoq_sa) จากภาคการบริโภคที่สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องแม้ในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่ภาคการลงทุนหดตัว ส่งผลใหทั้งปี 53 เศรษฐกิจออสเตรเลียขยายตัวร้อยละ 2.7 ในขณะที่มูลค่าการส่งออกเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากฐานการคำณวนที่เข้าสูระดับปรกติ
India: improving economic trend
  • เศรษฐกิจอินเดียไตรมาส 4 ปี 53 ขยายตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัวไดดีที่ร้อยละ 5.6 นอกจากนี้ตัวเลขด้านภาคอุปทานล่าสุด อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในเดือน ม.ค. 54 อยู่ในระดับสูงที่ 56.8 สะท้อนถึงเศรษฐกิจอินเดียในช่วงต้นปี 54 ที่ยังคงมีแนวโนมขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากราคาอาหารและพลังงานที่ขยายตัวในระดับสูง
South Korea: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากปัจจัยฐานสูง และวันหยุดยาวในช่วงต้นเดือน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 16.3 ด้านเสถียรภาพในประเทศ อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ. 54 ปรับตัวสูงสุดในรอบ 27 เดือน ที่ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มแรงกดดันต่อธนาคารกลางในการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินครั้งตอไป
Weekly Financial Indicators
  • ตลาดหลักทรัพยของไทยมีการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างผันผวน โดยดัชนีตลาดหลักทรัพยโดยรวมแล้วปรับตัวดีขึ้น แต่ยังคงอยู่ที่ระดับ ต่ำกว่า1,000 จุด และมีมูลค่าการซื้อขายกว่า 100 ลานบาท อย่างไรก็ตามแรง นักลงทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิเป็นจำนวน -1,575 ล้านบาท แต่ตลาดได้แรงซื้อจากนักลงทุนในประเทศ ส่วนตลาดพันธบัตรของไทยมีความเคลื่นไหวไม่มากนัก เนื่องจากนักลงทุนยังคงรอดูผลการประชุม กนง. ที่จะมีขึ้นในสัปดาหหน้า
  • ค่าเงินบาทในสัปดาหนี้แข็งค่าขึ้นในอัตราเร่งกว่าสัปดาห์ก่อน โดยแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.46 เมื่อเปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลของประเทศคู่ค้าหลักอื่นๆ ยกเว้นค่าเงินเยนที่กลับอ่อนค่าลงหลังจากที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เมื่อพิจารณาค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปีพบว่า ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าลง ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาหนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.13 ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.94 ตั้งแตต้นปี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ