นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ยังคงสูงกว่าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายเกือบ 1.5 หมื่นล้านบาท ส่งผลใ 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายกว่า 8.2 หมื่นล้านบาท หรือ ร้อยละ 14.4
เดือนกุมภาพันธ์ 2554 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 129,891 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 14,650 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 33.1) เป็นผลจากการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ก รจัดเก็บภาษีเงินได้ และภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภคและนำเข้าสูงกว่าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีน้ำมัน และอากรขาเข้า
ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 (ตุลาคม 2553 — กุมภาพันธ์ 2554) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 654,459 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 82,239 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.6) เนื่องจากทุกหน่วยงานจัดเก็บรายได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้โดยกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 47,518 20,185 4,340 และ 6,058 ล้านบาท ตามลำดับ
นายนริศฯ สรุปว่า “จากทิศทางการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจ และแนวโน้มการจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่สูงกว่าเป้าหมายในอัตราที่สูง กระทรวงการคลังจึงมั่นใจว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2554 จะสูงกว่าเป้าหมาย 120,000 ล้านบาท แน่นอน”
เอกสารแนบ
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือนกุมภาพันธ์ 2554
และ 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเบื้องต้นประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2554 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 129,891 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 14,650 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.7 ส่งผลให้ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 รายได้รัฐบาลสุทธิเท่ากับ 654,459 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 82,239 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.6) โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. เดือนกุมภาพันธ์ 2554 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 129,891 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 14,650 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 33.1) เป็นผลจากเศรษฐกิจที่ขยายตั วอย่างต่อเนื่องส่งผลให้จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้สูงกว่าเป้าหมาย 3,959 และ 3,074 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ สามารถจัดเก็บภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภคและการนำเข้าสูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีน้ำมัน และอากรขาเข้า สูงกว่าประมาณการ 1,870 1,678 และ 1,349 ล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ดี การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ล ลงจากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้บริโภคชะลอการซื้อเพื่อรองาน Motor Show ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2554 ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
2. ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 (ตุลาคม 2553 — กุมภาพันธ์ 2554) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 654,459 ล้ นบาท สูงกว่าประมาณการ 82,239 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.6) เป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษี การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่สูงกว่าประมาณการ 72,043 6,058 และ 4,403 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.0 18.2 และ 10.4 ตามลำด บ
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 448,023 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 47,518 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.9) เป็นผลจากเศรษฐกิจที่ขยายตั อย่างต่อเนื่อง ทำให้จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้สูงกว่าประมาณการ 21,873 12,215 และ 8,001 ล้านบาท สำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะที่จัดเก็บได้สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 108.1 นั้น เนื่องจากมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะที่จัดเก็บจากธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ลง หลือร้อยละ 0.1 (จากร้อยละ 3) ได้สิ้นสุดลงตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 184,026 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 20,185 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.8) สาเหตุสำคัญมาจากการขยายต วของการบริโภคภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีสุราและยาสูบ ส่งผลให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ภาษีสุรา ภาษีน้ำมัน และภาษียาสูบได้สูงกว่าเป้าหมาย 8,874 3,874 2,818 และ 1,417 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.9 21.7 4.4 และ 6.3 ตามลำดับ
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บรายได้รวม 41,460 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,340 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.2) เนื่องจากจัดเก็บอากรขาเข้าไ สูงกว่าประมาณการ 4,319 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.0 สาเหตุสำคัญเกิดจากการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าโดยเฉพาะสินค้าประเภทชิ้นส่วนรถยนต์ ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวสะสมของมูลค่าการนำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินบาท 4 เดือน (ตุลาคม 2553 — มกราคม 2554) เท่ากับร้อยล 23.1 และ 11.3 ตามลำดับ
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้ 39,310 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6,058 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง โรงงา นยาสูบ และธนาคารออมสิน นำส่งรายได้จากกำไรสุทธิปี 2553 สูงกว่าประมาณการ 2,039 1,379 622 และ 500 ล้านบาท อย่างไรก็ดี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินปันผลต่ำกว่าประมาณการ 803 ล้านบาท
2.5 หน่วยงานอื่น จัดเก็บรายได้รวม 46,829 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,403 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 21.0) เนื่องจากมีรายได้ค่าใบอนุ ญาตกิจการโทรคมนาคมจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จำนวน 2,378 ล้านบาท (ส่งเร็วกว่า ที่คาดไว้ว่าจะส่งเดือนพฤษภาคม 2554) และมีรายได้จากการไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ครบกำหนดของกระทรวงการคลังจำนวน 2,998 ล้านบาท
2.6 การคืนภาษีของกรมสรรพากร จำนวน 84,967 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 472 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 โดยเป็นการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 71,150 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 2,350 ล้านบา หรือร้อยละ 3.2 และการคืนภาษีอื่นๆ 13,817 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,878 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.7
2.7 การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ ในปีงบประมาณ 2554 นี้ การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. จะแตกต่า งจากที่ผ่านมา โดยจะแบ่งการจัดสรรออกเป็น 12 งวด จากเดิมที่จัดสรร 6 งวด โดยมีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่ม 2 งวดแรกของปีงบประมาณ 2554 (ตุลาคม — พฤศจิกายน 2553) ในเดือนมกราคม 2554 รวม 11,266 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 886 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.5
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0 273 9020 ต่อ 3500 และ 3566
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 22/2554 4 มีนาคม 54--