Executive Summary
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 54 มีจำนวนทั้งสิ้น4,263.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.9 ของ GDP
- รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) เดือนก.พ. 54 มีจำ นวนทั้งสิ้น 129.9 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.1
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ก.พ. 54ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในขณะที่ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือนก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 49.8
- นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน ก.พ.54 มีจำนวน 1.81 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 11.8
- ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์เดือน ก.พ. 54 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 15.9
- คณะกรรมการนโยบายการเงินประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากร้อยละ 2.25 เป็นร้อยละ 2.50
- ดุลการค้าจีนขาดดุลสูงที่สุดในรอบ 7 ปีที่ 7.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ เดือน ก.พ. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 192,000 ตำแหน่งงาน สอดคล้องกับอัตราว่างงานที่ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.9 ของกำลังแรงงาน
- Moody’s ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลง 3 ขั้น จาก Ba1 เป็น B1
Indicators Forecast Previous Feb: Passenger car sales (%yoy) 35.0 49.6
- ขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูง ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการผลิตและรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นรวมถึงผู้บริโภคมีความนิยมมีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการแข่งขันสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเช่นกัน
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 54 มีจำ นวนทั้งสิ้น 4,263.0 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 19.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.9 ของ GDP ทั้งนี้ การลดลงสุทธิของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) โดยลดลงสุทธิ 17.9 และ 6.0 พันล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยมีความมั่นคง สะท้อนจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
- รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนก.พ. 54 มีจำนวนทั้งสิ้น 129.9 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.1 และสูงกว่าประมาณการ 14.6 พันล้านบาทหรือร้อยละ 12.7 สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการใช้จ่ายภายในประเทศและรายได้ประชากรโดยภาษีฐานการบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.8 ในขณะที่ภาษีฐานรายได้ (ผลรวมของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ขยายตัวร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าสะท้อนการจ้างงานและรายได้จากการประกอบธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 และหากปรับผลทางฤดูกาลแล้วจะขยายตัวร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยบวกจากกำลังซื้อของประชาชนและภาคการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่ยังคงขยายตัวในระดับสูง บ่งชี้ว่าการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวในเกณฑ์ดี และจะเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือนก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 49.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 76.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกลดลงร้อยละ -3.3 จากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan to Value: LTV) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ม.ค. 54 อย่างไรก็ดี การขยายตัวดังกล่าวบ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับภาคอสังหาริมทรัพย์โดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดีหลังสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ รวมทั้งอุปสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
- นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน ก.พ. 54 มีจำนวน 1.81 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 หรือคิดเป็นร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า(ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะจากภูมิภาคยุโรปและเอเชีย เป็นหลัก ได้แก่ มาเลเซีย อังกฤษ ญี่ปุ่น ที่ขยายตัวร้อยละ 9.6 19.0 และ 11.7 ตามลำดับ
- ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 (หรือขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า) โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการผลิตยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และ 2) กำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ก.พ. 54 อยู่ที่ระดับ 72.2 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน จากเดือนก่อนที่ระดับ 72.6 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความกังวลถึงสถานการณ์ทางการเมืองในอนาคต
- ในวันที่ 9 มี.ค. 54 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นร้อยละ 2.50 ถือเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 5 นับจากเดือน ก.ค. 53 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความไม่สมดุลของระบบการเงิน ทั้งนี้ กนง.ให้เหตุผลในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ว่า เป็นผลจากการที่แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นในระยะต่อไป
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.พ. 54 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 35.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อนตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการผลิตและรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น รวมถึงผู้บริโภคมีความนิยมมีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการแข่งขันสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเช่นกัน
Global Economic Indicators: This Week
- การส่งออกและนำเข้าเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 2.3 และร้อยละ 19.7 ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลสูงที่สุดในรอบ 7 ปีที่ 7.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหนึ่งจากเทศกาลตรุษจีนที่ทำให้การส่งออกชะลอลงขณะที่การนำเข้าในช่วงเทศกาลเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ. 54 อยู่ในระดับเท่ากับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.9 การก่อสร้างในเขตเมืองในเดือน ม.ค. -ก.พ. 54 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.9 ยอดค้าปลีกเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 15.8 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.1
- ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.พ. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 192,000 ตำแหน่งงาน สอดคล้องกับอัตราการว่างงานในเดือนก.พ. 54 ที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ร้อยละ 8.9 ของกำ ลังแรงงาน การส่งออกและนำ เข้าสินค้าเดือน ม.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 18.9 และร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 46.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- Moody’s ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลง 3 ขั้นจาก Ba1 เป็น B1 เนื่องจากมีความกังวลว่ากรีซจะไม่สามารถลดการขาดดุลงบประมาณให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ EU และ IMF กำหนดได้
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคบริการในเดือน ก.พ. 54 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 48.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคตคงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.2
- การส่งออกในเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกไปยังจีนที่หดตัว นอกจากนี้ พบว่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ-19.0 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการนำเข้าสินค้าขั้นกลางและสินค้าทุนเป็นสำคัญ
- การส่งออกในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 27.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกไปยังจีนและสหภาพยุโรป ที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่การนำเข้าเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 28.7 ด้านอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
- การส่งออกเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 11.8 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ25.3
- การจ้างงานเดือน ก.พ. 54 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 10,000 ตำแหน่งงาน เนื่องจากการลดลงของการจ้างงานแบบชั่วคราว (Parttime Employment) อย่างไรก็ตามอัตราการว่างงานเดือน ก.พ. 54คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม
- เวียดนามปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Refinancing Rate) อีกร้อยละ 1.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 12 หลังจากที่ได้เคยปรับขึ้นไปแล้วร้อยละ 2.0 เมื่อเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 54 อยู่ที่ร้อยละ 12.3 ส่วนหนึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของราคากระแสไฟฟ้าและเชื้อเพลิง
- ตลาดหลักทรัพย์ของไทยปรับตัวดีขึ้นมาก โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวกลับขึ้นมาเกิน 1,000 จุด และมีมูลค่าการซื้อขายกว่า 1.25 แสนล้านบาท โดยในสัปดาห์นี้แรงซื้อที่ทำ ให้ตลาดปรับตัวดีขึ้นมาจากนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติเป็นหลัก ในขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศมีแรงขายสุทธิประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท ส่วนตลาดพันธบัตรของไทยมีการคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยและมีการปรับอัตราผลตอบแทนก่อนที่ กนง. จะมีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งเป็นไปตามคาด
- ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นในอัตราชะลอลงกว่าสัปดาห์ก่อน โดยแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.33 เมื่อเปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางตรงกัน
ข้ามกับค่าเงินสกุลของประเทศคู่ค้าหลักอื่นๆ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปีพบว่า ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าลงที่ร้อยละ 1.00 ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.54 ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงร้อยละ 1.65 ตั้งแต่ต้นปี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th