ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้
1. ดัชนีเศรษฐกิจที่สาคัญในเดือนมกราคม 2554
2. ร่างกฏหมายเกี่ยวข้องกับงบประมาณผ่านสภาเป็นเรื่องยาก
3. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมกราคม 2554 ลดลงร้อยละ 47.6
-----------------------------------
1.1 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือนมกราคม 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4
กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Economic Trade and Industry)ได้เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ของเดือนมกราคม 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว มาอยู่ที่ระดับ 97.1 (ปี 2548=100) ซึ่งการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากการส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศภูมิภาคเอเชียและยุโรปเพิ่มขึ้น รวมทั้งสารกึงตัวนาไปยังไต้หวันก็เพิ่มขึ้นด้วย
1.2 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index)
กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคยกเว้นอาหารสด (CPI, ปี 2548=100) ประจาเดือนมกราคม 2554 ลดลงร้อยละ 0.2 อยู่ที่ 99.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเวลา 23 เดือนแล้ว เนื่องจากราคาจอ LCD ลดลงร้อยละ 26.1 ขณะที่ราคาน้ามันเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2
1.3 อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)
อัตราการว่างงานเดือนมกราคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 เป็นอัตราเท่ากับเดือนที่แล้ว
1.4 การใช้จ่ายบริโภคเดือนมกราคม 2554 ลดลงร้อยละ1.0
กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่าการใช้จ่ายบริโภคประจาเดือนมกราคม 2554 ลดลงร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งลดลงติดต่อกัน 4 เดือนแล้ว เป็นผลมาจากมียอดการบริโภครถยนต์ลดลงอย่างมาก หลังจากรัฐบาลยกเลิกเงินอุดหนุนสาหรับการซื้อรถยนต์ประหยัดน้ามัน (Eco car) และราคาน้ามันสูงขึ้น
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 สภาล่างของญี่ปุ่นมีมติผ่านร่างงบประมาณประจาปีงบประมาณ 2554 แล้ว ทั้งนี้สถานการณ์สภาญี่ปุ่นปัจจุบันเป็น Twisted Diet โดยสภาสูงมีพรรคฝ่ายค้างครองเสียงข้างมาก ขณะที่สภาล่างมีจานวนพรรคประชาธิปไตยรัฐบาลมากกว่าพรรคฝ่านค้างแต่กฏหมายรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นระบุไว้ว่า หลังจากที่สภาล่างอนุมัติร่างงบประมาณประจาปี จากนั้นจะมีการส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อ และจะสามารถบังคับใช้งบประมาณได้ 30 วันหลังจากนั้น แม้ว่าวุฒิสภาจะมีมติไม่รับงบประมาณดังกล่าวหรือไม่จัดการลงมติก็ตาม
แต่ส่วนร่างกฎหมายเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้งบประมาณนี้ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาล่าง โดยมี 1) ร่างกฎหมายเพื่อการออกพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งหากร่างกฎหมายดังกล่าวนี้ไม่ผ่าน จะไม่สามารถออกพันธบัตร์รัฐบาลมูลค่า 40.7 ล้านล้านเยนเพื่อนารายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายของรัฐบาลได้ ทาให้สูญเสียรายรับจากพันธบัตร
2) ร่างกฎหมายเกี่ยวกับเงินสนับสนุนครัวเรือนที่มีบุตร ซึ่งมาตรการนี้กาหนดบังคับใช้ในช่วงปีงบประมาณ 2553 และมี มูลค่า 2.9356 ล้านล้านเยน โดยที่รัฐบาลจะเสนอต่อสภาว่ากาหนดให้ครัวเรือนที่มีเด็กอายุต่ากว่า 3 ปีให้ได้รับเงินเป็นจานวน 20,000 เยนต่อคน และสาหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไปจนกระทั่งจบการศึกษาชั้นมัธยมต้นได้รับเงินเป็นจานวน 13,000 เยนต่อคน โดยไม่จากัดรายได้ของผู้ปกครอง 3)ร่างกฏหมายเกี่ยวกับการปรับปรุงอัตราภาษีศุลกากล โดยมีสินค้า 415 รายการได้รับสิทธิลดอัตราภาษีสุลกากลจนถึงสิ้นปีงบประมาณ (31 มีนาคม 2554) หากไม่ได้รับความเห็นชาบจากสภาล่าง สินค้ารายการเหล่านี้อาจจะมีโอกาสราคาสูงขึ้นกว่าเดิม อย่างเช่นราคาเนื้อสูงขึ้นประมาณ 11 เยนต่อ 100 กรัม cheese สูงขึ้นประมาณ 10 เยน ต่อ 150 กรัม 4) ร่างกฏหมายเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบภาษี โดยมีการปรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมลดลงจากร้อยละ 40 อยู่ที่ร้อยละ 35 และจากร้อยละ 18 อยู่ที่ร้อยละ 15 ตามลาดับ การสร้างระบบภาษีสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีรายได้มากกว่า 5.86 ล้านเยนจะไม่มีสิทธิหักลดหย่อนผู้มีอายุระหว่าง 23 - 69 ปี และการปรับอัตราภาษีมรดกเพิ่มขึ้น 5) ร่างกฏหมายเกี่ยวกับระบบประกันสังคม และ 6) ร่างกฎหมายเกี่ยกับการปรับปรุงระบบภาษีท้องถิ่น
ทั้งนี้ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาล่างและวุฒิสภา ซึ่งวุฒิสภามีพรรคฝ่ายค้านมากกว่าฝ่ายรัฐบาลทาให้ร่างกฏหมายฯ คงจะไม่ผ่าน หากเช่นนั้น ก็จะต้องได้รับคะแนนเสียงถึง 2 ใน 3 เมื่อส่งกลับไปให้สภาล่างลงมติอีกครั้ง แต่ในสภาปัจจุบันพรรคประชาธิปไตยมีจานวนไม่พอที่จะได้รับเสียงถึง 2 ใน 3 ในสถานการณ์การเมืองญี่ปุ่นอย่างนี้ นายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง อาจะจนมุมแล้วลงจากตาแหน่งหรือยุบสภาจัดการเลือกตั้งใหม่
กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมกราคม 2554 มีมูลค่า 461.9 พันล้านเยน ลดลงร้อยละ 47.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า เนื่องจาก ราคาน้ามันที่สูงขึ้นจากเหตุการณ์ในกลุ่มประเทศอาหรับในตะวันออกกลางทาให้มูลค่าการนาเข้าเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ขาดดุลการค้า 394.5 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี
ญี่ปุ่นมีการขาดดุลการค้าและบริการ เหลือมูลค่า 483.8 พันล้านเยน โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 มีมูลค่า 4.7562 ล้านล้านเยน การส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ขณะที่ยอดการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 มีมูลค่า 5.1506 ล้านล้านเยน เนื่องจากราคาน้ามันสูงขึ้นร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า และการนาเข้าถ่านหินและเชื้อเพลิงส่งผลให้ยอดการนาเข้าเพิ่มขึ้น 200 พันล้านเยน โดยมีการนาเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ส่วนการเกินรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 อยู่ที่ 1.0137 ล้านล้านเยน ผลมาจากเงินปันผลจากหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังกล่าวว่า หากราคาน้ามันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะลดลงต่อไปอย่างแน่นอน รายละเอียดตามตารางที่แนบ
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2554 The Oil Information Center ได้ประกาศว่าราคาน้ามันดีเซลประเภทธรรมดา (Regular Gasoline) ต่อ 1 ลิตรปรับตัวสูงขึ้น 6.5 เยนเป็นราคา 145.5 เยนต่อลิตร เมื่อเทียบกับผลการสารวจเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี 4 เดือนนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 เนื่องจากสถานะการณ์ความไม่สงบในแถบประเทศตะวันออกกลางได้ส่งผลให้ราคาน้ามันโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ามันโลกครั้งนี้ได้ส่งผลให้ค่าครองชีพในหลายประเทศ รวมทั้งญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากได้เริ่มมีการปรับขึ้นราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลให้อัตราการบริโภคของประชาชนนั้นลดลงตามมา และทาให้เศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวนั้นหยุดชะงักลงอีกครั้งด้วย
ประเทศสมาชิก Organization of Petroleum Exporting Countries (OPEC) เช่นประเทศคูเวต สหรัฐฯอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศไนจีเรียได้ประกาศแผนเพิ่มจานวนการผลิตน้ามันดิบในช่วงต้นเดือนเมษายน 2554 อีกเป็นจานวน 3 แสนบาร์เรลต่อวัน จากผลการสารวจของ International Energy Agency (IEA) พบว่ายอดการผลิตน้ามันของประเทศลิเบียลดลงประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันจากเดิมมีจานวนการผลิต 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวันเหลือเพียง 6 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งปัจจุบันประเทศซาอุดีอาระเบียได้เพิ่มจานวนการผลิตน้ามันดิบขึ้นอีกเป็นจานวน 7 แสนบาร์เรลต่อวัน เพื่อทดแทนในส่วนของประเทศลิเบียด้วย
ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศประจำเดือนมกราคม 2554
(Balance of Payments)
หน่วย: พันล้านเยน
รายการ มกราคม 2554 มกราคม 2553 1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance) 461.9 881.9 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-47.6) (-) 1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance) -483.8 10.8 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-) (-) 1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance) -394.5 166.7 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-) (-) การส่งออก (Exports) 4,756.2 4,624.2 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (2.9) (40.9) การนำเข้า (Imports) 5,150.6 4,457.4 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (15.6) (8.0) 1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance) -89.3 -155.9 1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income) 1,013.7 915.9 1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers) -68.0 -44.8 2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance) -1,693.0 -469.2 2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance) -1,673.9 -449.6 การลงทุนโดยตรง (Direct Investment) -263.7 435.9 การลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) 7,790.0 5,257.6 การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives) 50.0 2.3 การลงทุนอื่นๆ (Other investments) -9,250.3 -6,145.3 2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance) -19.1 -19.6 3. ยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets) 362.5 -173.3 ที่มา: กระทรวงการคลังญี่ปุ่น สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th