รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 14 — 18 มีนาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 21, 2011 14:58 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • การเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ก.พ. 54 เบิกจ่ายได้จำนวน 154.7 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -15.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือนก.พ. 54 ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -34.6 พันล้านบาท
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 49.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 37.6
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ. 54 อยู่ที่ระดับ 108.2
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่นเพิ่มสภาพคล่องสู่ระบบเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 15 ล้านล้านเยนหรือประมาณ 183,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป ในเดือน ม.ค. 54ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (%mom)
  • ธนาคารกลางอินเดียประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repurchase Rate) อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.75
  • อัตราการว่างงานเกาหลีใต้ ในเดือน ม.ค. 54 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปี มาอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ของกำลังแรงงานรวม
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Feb: API (%yoy)                        2.8                 3.4
  • ขยายตัวต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสำคัญโดยเฉพาะข้าว และยางพารา เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก รวมถึงราคา

สินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง จูงใจให้เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น

Feb: Unemployment Rate                 1.1                 0.7
  • เป็นผลมาจากการว่างงานภาคเกษตรกรรมคาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยวของพืชผลทางการเกษตรบางชนิด ประกอบกับการ

ว่างงานภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการเร่งการผลิตไปในช่วงก่อนหน้าแล้ว

Economic Indicators: This Week
  • การเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ก.พ. 54 เบิกจ่ายได้จำนวน 154.7 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -15.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 54 จำนวน 139.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 6.7 ของกรอบวงเงิน 2.07 ล้านล้านบาท ในขณะที่รายจ่ายประจำเบิกจ่ายได้ 122.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จำนวน 16.7 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -67.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สำคัญในเดือน ก.พ. 54 ได้แก่ เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 11.6 พันล้านบาทเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 5.7 พันล้านบาท และงบรายจ่ายของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจำนวน 3.8 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 54 เบิกจ่ายได้จำ นวน 988.3 พันล้านบาทขยายตัวร้อยละ 26.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว กัน ข อ ง ปีก่อ นนอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง2555 ณ วันที่ 11 มี.ค. 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 267.6 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 76.5 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.พ. 54 ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -34.6 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -2.0 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ของรัฐบาลขาดดุลจำนวน -36.6 พันล้านบาทและรัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 21.1 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินขาดดุลจำนวน -15.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 54 ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -343.4 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -5.3 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ขาดดุลจำนวน -348.6 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 54 มีจำนวน 169.8 พันล้านบาท ซึ่งการขาดดุลดังกล่าวสะท้อนถึงการทำนโยบายการขาดดุลของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 49.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 49.6 โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในประเทศ 2) ผู้บริโภคมีความนิยมรถรุ่นใหม่ที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น และ 3) ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายขึ้นส่งผลให้ 2 เดือนแรกปี 54 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 49.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทนขยายต่อเนื่องจากปี 53
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 37.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 29.7 โดยได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก และความต่อเนื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่งผลให้ 2 เดือนแรกปี 54 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 33.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนถึงการลงทุนภาคเอกชนยังคงส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 54 อยู่ที่ระดับ 108.2 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 112.7 โดยตัวเลขดัชนีที่ปรับลดลง มีสาเหตุสำ คัญจากการการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำ มันซึ่งเป็นต้นทุนสำ คัญของการผลิตภาคอุตสาหกรรม อันมีสาเหตุมาจากปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลาง รวมทั้งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในส่วนอัตราดอกเบี้ยและค่าจ้างแรงงานอย่างไรก็ดี ดัชนีฯ ยังคงอยู่ในระดับที่มากกว่า 100 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับที่ดี สอดคล้องกับตัวเลขการบริโภค การลงทุน และการสนับสนุนจากภาครัฐ ที่คาดว่ายังคงขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับ 118.1 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 116.3 เนื่องจากผู้ประกอบการคาดการณ์ว่า ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการจะปรับตัวสูงขึ้น
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ. 54 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 ตามการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องของผลผลิตสำ คัญ โดยเฉพาะข้าว และยางพารา เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก รวมถึงราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง จูงใจให้เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น
  • อัตราการว่างงานเดือนม.ค. 54 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากการว่างงานภาคเกษตรกรรมคาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยวของพืชผลทางการเกษตรบางชนิด สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตเกษตรกรรม (API) ในเดือนม.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า(%mom) ประกอบกับการว่างงานภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการเร่งการผลิตไปในช่วงก่อนหน้าแล้ว

Global Economic Indicators: This Week

Japan: worsening economic trend
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่นเพิ่มสภาพคล่องสู่ระบบเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 15 ล้านล้านเยนหรือประมาณ 183,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อรักษาเสถียรภาพของภาคการเงิน ภายหลังจากที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงเนื่องจากเหตุการณ์สึนามิ นอกจากนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังได้ประกาศแผนการจัดซื้อสินทรัพย์ทางการเงินเพิ่มเติมในวงเงิน 10ล้านล้านเยน ผ่านการซื้อทรัพย์สิน อาทิ คืนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น 1 ล้านล้านเยน หุ้นกู้ภาคเอกชน 1.5 ล้านล้านเยน หน่วยลงทุนในกองทุนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ 450,000 ล้านเยน หน่วยลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (REIT) เป็นต้น
Eurozone: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตสินค้าคงทนสำหรับผู้บริโภคเป็นสำคัญอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
USA: worsening economic trend
  • ยอดสร้างบ้านใหม่เดือน ก.พ. 54 ลดลงมากที่สุดในรอบ 27 เดือนโดยหดตัวร้อยละ -22.5 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือหดตัวร้อยละ -20.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน มาอยู่ที่ระดับ 479,000 หลังต่อปี ขณะที่ยอดอนุญาตสร้างบ้านใหม่อยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์มาอยู่ที่ระดับ 517,000 หลังต่อปี คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -8.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือหดตัวที่ร้อยละ -20.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
India: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาอาหารและน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธนาคารกลางอินเดียประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repurchase Rate) อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.75 จากเดิมที่ร้อยละ 6.50
Singapore: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกไปยังจีนและสหภาพยุโรปที่ชะลอลง และหากพิจารณาในหมวดสินค้าพบว่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัว ขณะที่การส่งออกสินค้าเวชภัณฑ์ชะลอลงมาก ด้านมูลค่าการนำเข้าขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดค้าปลีกเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายรถยนต์ที่ลดลงเป็นสำคัญ
South Korea: mixed signal
  • อัตราการว่างงานเดือน ม.ค. 54 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปี มาอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ของกำลังแรงงานรวม จากเดิมที่อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม แม้ว่าการจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 233,000 ตำแหน่งงาน
Hong Kong: improving economic trend
  • อัตราการว่างงานเดือน ก.พ. 54 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ร้อยละ 3.8 ของกำลังแรงงานรวม มาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม สะท้อนถึงการขยายตัวที่ดีของเศรษฐกิจฮ่องกง
Weekly Financial Indicators
  • ตลาดหลักทรัพย์ของไทยแกว่งตัวในระดับสูง โดยในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาดัชนีตลาดหลักทรัพย์สามารถทรงตัวอยู่ในระดับสูงกว่า 1 ,000 จุด ถึงแม้ว่าSentiment ของนักลงทุนโดยรวมจะมีความกังวลจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิที่ญี่ปุ่น สะท้อนได้จากการแข็งค่าของเงินเยน ซึ่งเป็น Save Haven Currency และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการปรับตัวลดลงเล็กโดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว จากการที่นัดลงทุนมีความกังวลต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติดังกล่าว โดยส่วนใหญ่เป็นการเข้าซื้อของนักลงทุนสถาบันต่างชาติ
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.46 เมื่อเปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อน ซึ่งสอดคล้องกับเงินทุนไหลเข้าจากการเข้าซื้อของนักทุนต่างชาติในตลาดพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้เมื่อพิจารณาค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปีพบว่า ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าลงที่ร้อยละ -0.77 ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 104.4 จากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในขณะที่ค่าของภูมิภาคส่วนใหญ่อ่อนค่าลงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ