รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 21 — 25 มีนาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 28, 2011 12:05 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.พ.54 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน ก.พ. 54 อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 18,868 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 31.0 ในขณะที่การนำเข้าสินค้ารวมในเดือนก.พ. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 22.5 ทำให้ดุลการค้าในเดือน ก.พ. 54 เกินดุล 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ยอดจำหน่ายบ้านสหรัฐฯ (Existing Home Sales) เดือนก.พ. 54 อยู่ที่ 4.88 ล้านหลัง ซึ่งหดตัวจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ -9.6 หรือหดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -2.7
  • การส่งออกและนำเข้าญี่ปุ่นในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 9.0 และร้อยละ 9.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ
  • ธนาคารกลางจีนเพิ่มสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (Reserve Requirement Ratio) เป็นครั้งที่ 3 นับจากต้นปี โดยปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.5
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม(PMI) ยูโรโซน เดือน มี.ค. 54 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 57.7 ขณะที่ PMI ภาคบริการ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 56.9
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Feb: MPI (%yoy)                        -3.5                4.1
  • โดยได้รับปัจจัยลบจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นสะท้อนจากดัชนีราคาผู้ผลิตที่ขยายตัวในอัตราเร่งตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก
Mar: Headline inflation (%yoy)         2.97               2.87
  • สาเหตุสำคัญมาจากดัชนีราคาสินค้าในหมวดผักและผลไม้ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากผลผลิตที่ลดลงโดยเฉพาะพืชผักบางชนิดที่คาดว่าจะมีปริมาณลดลงเนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำ นวย ประกอบกับราคาน้ำมันในประเทศมีการปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
Economic Indicators: This Week
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนถึงการลงทุนในภาคการก่อสร้างที่เริ่มมี
สัญญาณการฟื้นตัว หลังจากในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกชุกซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้าง ประกอบกับสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายลง
  • มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน ก.พ. 54 อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 18,868 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 31.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 22.3 และหากหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว จะขยายตัวร้อยละ 6.5 จากเดือนก่อนหน้าอย่างไรก็ตาม หากหักทองคำแล้ว จะขยายตัวร้อยละ 24.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือร้อยละ 4.9 จากเดือนก่อนหน้า โดยในแง่มิติสินค้า การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวสูงที่ร้อยละ 46.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 33.1 ในขณะที่สินค้าแร่และเชื้อเพลิงหดตัวร้อยละ -
2.7 จากการเร่งส่งออกในเดือนก่อนหน้า
  • การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 22.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 33.3 หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะหดตัวร้อยละ -4.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 64.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่การนำเข้าสินค้าทุนสินค้าวัตถุดิบ และสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 31.8 6.8 และ 13.4 ตามลำดับ ทั้งนี้มูลค่าส่งออกสินค้าที่สูงกว่ามูลค่านำ เข้า ทำ ให้ดุลการค้าในเดือน ก.พ. 54 เกินดุล 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.พ.54 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ -3.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 โดยได้รับปัจจัยลบจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนจากดัชนีราคาผู้ผลิตที่ขยายตัวในอัตราเร่งตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 54 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ2.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.87 โดยคาดว่าสาเหตุสำคัญมาจากดัชนีราคาสินค้าในหมวดผักและผลไม้ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากผลผลิตที่ลดลง โดยเฉพาะพืชผักบางชนิดที่คาดว่าจะมีปริมาณลดลงเนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ประกอบกับราคาน้ำมันในประเทศมีการปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal
  • ยอดจำหน่ายบ้าน (Existing Home Sales) เดือน ก.พ. 54 อยู่ที่ 4.88 ล้านหลังต่อปี ซึ่งหดตัวจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ -9.6 หรือหดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -2.7 ยอดขายบ้านใหม่ (New Home Sales) เดือน ก.พ. 54 หดตัวจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ -16.9 มาอยู่ที่ 250,000 หลังต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์คำสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน ก.พ. 54 หดตัวร้อยละ -0.9 จากเดือนก่อนหน้า (%mom sa)
Japan: mixed signal
  • การส่งออกและนำเข้าในเดือน ก.พ. 54 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 และร้อยละ 9.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ โดยการส่งออกไปจีนขยายตัวร้อยละ 29.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อทั่วไปเดือนก.พ. 54 คงที่จากปีก่อนหน้า (ร้อยละ 0.0) ขณะที่เงินเฟ้อฟื้นฐานหด
China: mixed signal
  • ธนาคารกลางจีนเพิ่มสัดส่วนการกันสำ รองของธนาคารพาณิชย์(Reserve Requirement Ratio) เป็นครั้งที่ 3 นับจากต้นปี โดยปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.5 โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 มี.ค. 54 นี้

Eurozone: mixed signal

- การส่งออกและนำเข้าในเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 27.0 และร้อยละ 29.3 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ -14.8 พันล้านยูโร จากการนำเข้าเชื้อเพลิงเป็นสำคัญดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม(PMI) เดือน มี.ค. 54 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 57.7 ขณะที่ PMI ภาคบริการเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 56.9

Hong Kong: mixed signal
  • การส่งออกในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 24.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปเอเชียที่ขยายตัวต่อเนื่องขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Vietnam: worsening economic trend
  • การส่งออกและนำเข้าในเดือน มี.ค. 54 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 26.1 และร้อยละ 21.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
Singapore: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 54 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Taiwan: mixed signal
  • คำสั่งซื้อสินค้าส่งออก (Export Order) เดือน ก.พ. 54 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการสั่งซื้อจากจีน อเมริกา และ ยุโรป อัตราการว่างงานเดือน ก.พ. 54 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของกำลังแรงงานรวม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ13.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Phillipines: mixed signal
  • ยอดนำเข้าเดือน ม.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวร้อยละ 37.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ธนาคารกลางปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Overnight borrowing rate) อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.25
Weekly Financial Indicators
  • ตลาดหลักทรัพย์ของไทยยังมีการซื้อขายกันอย่างต่อเนื่องโดยในสัปดาห์นี้มีมูลค่าการซื้อขายประมาณ 1.5 แสนล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันพฤหัสบดี มีมูลค่าการซื้อขายเกือบ 4 แสนล้านบาทโดยได้รับแรงซื้อมาจากนักลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ส่วนนักลงทุนทั่วไปในประเทศมีแรงขายออกกว่า 7.3 พันล้านบาท สำหรับตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง โดยส่วนใหญ่เป็นการเข้าซื้อในตราสารระยะปานกลางและระยะยาวของกองทุนในประเทศและนักลงทุนต่างชาติ
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆที่ระดับ 30.2-30.3 โดยแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.26 เมื่อเปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลของประเทศคู่ค้า หลักอื่นๆ ยกเว้นญี่ปุ่นที่ประสบภัยแผ่นดินไหว และค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลงจากการลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรของประเทศสมาชิก ทั้งนี้เมื่อพิจารณาค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปีพบว่า ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าลงที่ร้อยละ 0.77 ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.05 ทำ ให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงร้อยละ 2.17 ตั้งแต่ต้นปีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ