Executive Summary
- สินเชื่อเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่10 ที่ร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 10.2
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.พ.54 เกินดุลที่ 3,823 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ที่ร้อยละ 32.4
- ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 21.6
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.พ.54 หดตัวลงที่ร้อยละ -3.4
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน มี.ค. 54 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 63.4
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (TANKAN) ในไตรมาส 1 ปี 54 ลดลงต่ำสุดในรอบ 2 ปี มาอยู่ที่ระดับ 46.4 GDP เวียดนามไตรมาสที่ 1 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 5.4
Indicators Forecast Previous Mar: Motorcycle sales (%yoy) 12.0 15.9
- เนื่องจากคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายเดือนมี.ค. 54 โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้แต่อย่างไรก็ตามก็ยังถือได้ว่ายังขยายตัวได้ดี โดยได้รับปัจจัยบวกจากกำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับสูง สะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง อีกทั้งอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ
สินเชื่อเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ที่ ร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวของทั้งสินเชื่อธุรกิจที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 13.0 และสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 15.4 บ่งชี้ความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว สินเชื่อรวมจะขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.5 จากเดือนก่อนหน้า
เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ซึ่งหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว จะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จาก (1) การระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ และ(2) การแข่งขันระหว่างธนาคารเพื่อจูงใจลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ผ่านการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และออกผลิตภัณฑ์เงินออมพิเศษเพื่อทดแทนสภาพคล่องที่มีแนวโน้มลดลงตามการขยายตัวของสินเชื่อ
ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.พ.54 เกินดุลที่ 3,823 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อน โดยเป็นผลจากการเกินดุลการค้า 2,031 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการเกินดุลบริการรายได้ และเงินโอน ที่เกินดุล 1,793 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมูลค่าการส่งออกที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงต่อเนื่อง ประกอบกับรายได้จาก การท่องเที่ยวอยู่ในระดับที่สูง ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวได้ดี
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสำคัญโดยเฉพาะข้าวและยางพารา เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก รวมถึงราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง จูง ใจให้เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลผลิตสำคัญอื่นๆ เช่น มันสำปะหลัง ยังคงหดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากโรคระบาดเมื่อปีที่แล้ว
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ที่ร้อยละ 32.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 27.1 จากการขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปทานของสินค้าเกษตรในตลาดโลกรวมถึงไทย ได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกแปรปรวนทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรลดลง
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 21.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 24.9 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก พบว่า หดตัวร้อยละ -5.5 จากเดือนก่อนหน้า การขยายตัวดังกล่าวสอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิต (Cap U) ในหมวดการผลิตโลหะขั้นมูลฐานในเดือน ก.พ.54 ที่อยู่ที่ร้อยละ 51.4 ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้างโดยเฉพาะเหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กเส้นกลม และลวดเหล็กแรงดึงสูงขยายตัวร้อยละ 29.9 11.5 และ 19.5ตามลำดับ ในขณะที่เหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่พิจารณาจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีขยายตัวร้อยละ 10.8 ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนถึงการลงทุนในภาคการก่อสร้างและภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบภายในประเทศฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตาม ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.พ.54 หดตัวลงที่ร้อยละ -3.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือน ม.ค.54 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 โดยได้รับปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเป็นสำ คัญ เพราะเป็นเดือนที่โรงกลั่นทำ การปิดเพื่อซ่อมแซมเครื่องจักรประจำปี ทั้งโรงกลั่นเอสโซ่ ปตท. และบางจาก ประกอบกับความไม่สงบทางการเมืองในตะวันออกกลางส่งผลให้ราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม บางอุตสาหกรรม อาทิเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องปรับอากาศเครื่องใช้ไฟฟ้า และตู้เย็น ยังคงขยายตัวได้ดี ซึ่งสอดคล้องกับการบริโภคสินค้าคงทนที่ขยายตัวต่อเนื่อง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้อุปสงค์ภายนอกขยายตัวได้ดี สะท้อนจากการส่งออกสินค้าหมวดดังกล่าวที่ยังขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าร้อยละ -1.6 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนก.พ. 54 อยู่ที่ร้อยละ 59.1 ของกำลังการผลิตรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อย 62.3 ซึ่งสอดคล้องกับกับดัชนี MPI ที่หดตัวลงในทิศทางเดียวกัน
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน มี.ค. 54 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 15.9 เนื่องจากคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายเดือนมี.ค. 54 โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังถือได้ว่ายังขยายตัวได้ดี โดยได้รับปัจจัยบวกจากกำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับสูงสะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง อีกทั้งอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ
Global Economic Indicators: This Week
- ดัชนีการทำสัญญาซื้อบ้าน(pending home sales)เดือนก.พ.54 ขยายตัวร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกหลังจากที่หดตัว 2 เดือนติดต่อกัน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มี.ค. 54 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 63.4 จากระดับ 72.0 ในเดือนก่อนหน้า (ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี) จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
- การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเดือน ก.พ. 54 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงเปราะบาง และไม่มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ชัดเจน อัตราการว่างงานเดือน ก.พ. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของกำลังแรงงานรวมลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม สะท้อนภาคการจ้างงานที่เริ่มมีการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TANKAN) ในไตรมาส 1 ปี 54 ลดลงต่ำ สุดในรอบ 2 ปี ม อยู่ที่ระดับ 46.4 บ่งชี้การหดตัวในภาคอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ส่งผลให้คาดว่าในระยะสั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจมีแนวโน้มชะลอลง
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Manager Index: PMI) เดือน มี.ค. 54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53.4 จากระดับในเดือนก่อนหน้าที่ต่ำทีสุดในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 52.2 สะท้อนถึงภาคการผลิตที่ยังขยายตัวได้ดี ถึงแม้จะมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ตามราคาอาหารและราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ตัวเลขปรับปรุง) (revised GDP) ไตรมาสที่ 4 ปี 53 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศทั้งจากภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่ภาคการส่งออกขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค 53 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.5 สะท้อนแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
- GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากการขยายตัวชะลอลงของเศรษฐกิจภาคการผลิต เป็นสำคัญ
- การส่งออกเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 28.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่การนำเข้าเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 26.3 ส่งผลให้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนอุปสงค์จากนอกประเทศที่ยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง
- ธนาคารกลางไต้หวันปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 31 มี.ค. 54 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.75 จากเดิมที่อยู่ที่ร้อยละ 1.625 จากคาดการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น โดยในเดือน ก.พ. 54 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากปีก่อนหน้า
- ตลาดหลักทรัพย์ของไทยมีปริมาณการซื้อขายอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ และมูลค่าการซื้อขายรวมประมาณ 230 พันล้านบาท ซึ่งแรงซื้อหลักยังมาจากนักลงทุนต่างชาติซึ่งมีการซื้อสุทธิต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ส่วนตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายในระดับที่ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน โดยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลร ยะสั้นปรับตัวสูงขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยขณะที่ผลตอบแทนระยะยาวยังอยู่ในระดับเท่าเดิม
-
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th