รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 28 มีนาคม - 1 เมษายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 4, 2011 10:19 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ดัชนีเศรษฐกิจที่สาคัญในเดือนกุมภาพันธ์ 2554

2. รัฐบาลญี่ปุ่นเสนอร่างกฎหมายเพื่อฟื้นฟูประเทศจากความเสียหายแผ่นดินไหว

3. สมาพันธ์อุตสาหกรรมญี่ปุ่นแสดงความเห็นว่ารัฐบาลควรเลื่อนกาหนดเวลาการลดอัตราภาษีนิติบุคคล

4. บริษัทหลักทรัพย์ Nomura Securities จะเริ่มจาหน่ายกองทุนเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย

5. เหตุการณ์แผ่นดินไหวและปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ยืดเยื้อของประเทศญี่ปุ่นเริ่มส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก

-----------------------------------

1. ดัชนีเศรษฐกิจที่สาคัญในเดือนกุมภาพันธ์ 2554

1.1 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือนกุมภาพันธ์ 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4

กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Economic Trade and Industry)ได้เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ของเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว มาอยู่ที่ระดับ 96.4 (ปี 2548=100) ซึ่งการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 4 เดือน เนื่องจากการส่งออกรถยนต์ไปยังสหรัฐฯ และยุโรปและการจาหน่ายรถยนต์ขนาดเล็กในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น

1.2 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index)

กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคยกเว้นอาหารสด (CPI, ปี 2548=100) ประจาเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ลดลงร้อยละ 0.3 อยู่ที่ 98.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเวลา 24 เดือนแล้ว เนื่องจากราคาโทรทัศน์จอ LCD ลดลงร้อยละ 29.9 แต่ราคาน้ามันดิบที่สูงขึ้นทาให้ราคาน้ามันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 7.2 ด้วย

1.3 อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)

อัตราการว่างงานเดือนกุมภาพันธ์ 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4..6 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนที่แล้วที่มีอัตราว่างงานอยู่ที่ 4.61 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่าที่สุดในรอบ 2 ปี

1.4 การใช้จ่ายบริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ลดลงร้อยละ 0.2

กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่าการใช้จ่ายบริโภคประจาเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งลดลงติดต่อกัน 5 เดือนแล้ว เป็นผลมาจากมียอดการซื้อรถยนต์ลดลง หลังจากรัฐบาลยกเลิกเงินอุดหนุนสาหรับการซื้อรถยนต์ประหยัดน้ามัน (Eco car) และการซื้อเครื่องนุ่งห่มก็ลดลงด้วย

2. รัฐบาลญี่ปุ่นเสนอร่างกฎหมายเพื่อฟื้นฟูประเทศจากความเสียหายแผ่นดินไหว

รัฐบาลญี่ปุ่นจะเสนอร่างกฏหมายเกี่ยวกับนโยบายการฟื้นฟูประเทศจากความเสียหายจากแผ่นดินไหวใหญ่ภาคตะวันออกต่อรัฐสภา เพื่อขอความเห็นชอบภายในเดือนเมษายนนี้

ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประเมินมูลค่าความเสียหายจากแผ่นดินไหวภาคตะวันออกและสึนามิอาจมีมูลค่าถึง 25 ล้านล้านเยน โดยในชั้นต้นประเมินอยู่ในระหว่าง 15 — 25 ล้านล้านเยน สาระสาคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ประกอบด้วย 1. มีกาหนดระยะเวลาฟื้นฟูประเทศ 5 ปี 2. เพิ่มภาษีเฉพาะกิจเพื่อฟื้นฟูประเทศ 3. เพิ่มจานวนเงินช่วยเหลือให้กับผู้ลี้ภัย 4. รัฐบาลจะซื้อที่ดินที่ทรุดจมลงไปในทะเล 5. จะวางแผนผลิตไฟฟ้าโดยมีประสิทธิภาพ และ 6. จัดตั้งหน่วยงานยุทธศาสตร์เพื่อฟื้นฟูประเทศในสานักนายกรัฐมนตรีโดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล

3. สมาพันธ์อุตสาหกรรมญี่ปุ่นแสดงความเห็นว่ารัฐบาลควรเลื่อนกาหนดเวลาการลดอัตราภาษีนิติบุคคล

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554 นาย Hiromasa Yonekura ประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Keidanren) ได้แสดงความเห็นว่ารัฐบาลควรจะเลื่อนแผนการลดอัตราภาษีนิติบุคคลออกไปอย่างไม่มีกาหนดเพื่อนารายได้จากภาษีดังกล่าวไปใช้ในการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554

เดิม Keidanren ได้เรียกร้องให้รัฐบาลลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงจานวนร้อยละ 5 จากอัตราปัจจุบันที่เท่ากับร้อยละ 40.69 ซึ่งรัฐบาลมีกาหนดจะดาเนินการในปีงบประมาณ 2554 แต่เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ทาให้รัฐบาลมีความจาเป็นจะต้องใช้เงินทุนจานวนมหาศาลในการช่วยเหลือฟื้นฟูเขตประสบภัย ดังนั้นนาย Hiromasa Yonekura จึงเห็นควรให้เลื่อนการลดอัตราภาษีดังกล่าวออกไปอย่างไม่มีกาหนด และจะนาเรื่องนี้หารือกับคณะกรรมการ Keidanren ในวันที่ 11 เมษายน 2554 เพื่อขอความเห็นและนาเสนอต่อรัฐบาลต่อไป นอกจากนี้ยังได้แสดงความเห็นว่ารัฐบาลควรจะต้องหยุดแผนการดาเนินการนโยบายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เช่นการยกเว้นค่าใช้บริการทางด่วน เงินสนับสนุนครัวเรือนที่มีบุตรและการยกเว้นค่าเล่าเรียนระดับมัธยมปลายไว้ชั่วคราว ซึ่งหากยังไม่เพียงพอต่อการฟื้นฟูก็อาจจะต้องมีการพิจารณาปรับปรุงระบบภาษีโดยรวมด้วย

4. บริษัทหลักทรัพย์ Nomura Securities จะเริ่มจาหน่ายกองทุนเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย

บริษัทหลักทรัพย์ Nomura Securities เปิดเผยว่าจะเริ่มจาหน่ายกองทุนเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้แก่ลูกค้ารายบุคคลภายในเดือนมีนาคม 2554 เพื่อเป็นการระดมเงินทุนให้แก่ท้องถิ่นที่ได้รับผลจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ซึ่งเป็นการจาหน่ายกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกภายหลังจากเกิดเหตุการแผ่นดินไหวดังกล่าว

กองทุนเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยนั้นมีกาหนดระยะเวลาการบริหาร 5 ปี และจะจาหน่ายในวงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านเยน ซึ่งนักลงทุนสามารถซื้อได้ตั้งแต่ราคาหน่วยละ 1 หมื่นเยนเป็นต้นไป โดยบริษัทจะยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจาหน่ายกองทุนและจ่ายผลตอบแทนให้กับนักลงทุนตามระบบกองทุนปกติ แต่จะนารายได้ ของบริษัทที่ได้จากการจาหน่ายกองทุนดังกล่าวจานวนร้อยละ 50 ใช้เป็นเงินบริจาค โดยบริษัทมีแผนจะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น รวมทั้งพันธบัตรของบริษัทเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อเป็นการระดมเงินทุนในการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยครั้งนี้

5. เหตุการณ์แผ่นดินไหวและปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ยืดเยื้อของประเทศญี่ปุ่นเริ่มส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก

ภายหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 254 Bank of Japan (BOJ) ได้ประกาศเพิ่มวงเงินในการเข้าซื้อพันธบัตรและทรัพย์สินในตลาดเพิ่มจาก 5 ล้านล้านเยน เป็น 10 ล้านล้านเยน นอกจากนั้นยังได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเป็นจานวนมากกว่า 100 ล้านล้านเยนแล้ว โดยนาย Masaaki Shirakawa ผู้ว่าการ BOJ ได้กล่าวว่า BOJ มีความพร้อมที่จะดาเนินอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบต่อหากมีความจาเป็น ซึ่งหลายฝ่ายมองว่ารัฐบาลมีความจาเป็นจะต้องออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นเพื่อนาเงินไปฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างแน่นอน ทาให้ BOJ อาจจะต้องมีการพิจารณาเพิ่มวงเงินการซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองและเพิ่มนโยบายสนับสนุนต่างๆด้วย

นอกจากนี้ Federal Reserve Board ของสหรัฐฯ ได้แถลงว่าเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางและภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่นได้ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเกิดความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น ทาให้สหรัฐฯ ยังคงจะต้องดาเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินรอบที่ 2 (Quantitative Easing 2 : QE2) ต่อไปจากเดิมที่คาดว่าน่าจะสามารถลดจานวนวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลภายในเดือนมิถุนายน 2554 และคาดว่าจะต้องเลื่อนกาหนดการยกเลิกนโยบายดอกเบี้ยร้อยละ 0 ที่ได้ดาเนินการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 ด้วย

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ