Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.6
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 6.6 ทำให้ไตรมาสแรกของปี 54 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 6.2
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 14.3
- ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯในเดือน มี.ค. 54 ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ 216,000 ตำแหน่ง
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สิงคโปร์ ในเดือน มี.ค.54 อยู่ที่ระดับ 50.1
- มูลค่าการส่งออกมาเลเซียเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 10.7 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 11.5
- ธนาคารกลางยุโรปได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.25
Indicators Forecast Previous Mar: CCI 72.0 72.2
- โดยมีปัจจัยกดดันจากแนวโน้มราคาสินค้าในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของกนง.และความกังวลจากผลกระทบของปัญหาอุทกภัยใน
พื้นที่ภาคใต้ในช่วงปลายเดือนมี.ค. 54 อย่างไรก็ตามรายได้ภาคครัวเรือนที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีจะเป็นปัจจัยบวกให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยในปี 54 ต่อไป
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ร้อยละ 2.9 สาเหตุหลักมาจากดัชนีราคาหมวดผักและผลไม้ขยายตัว สูงเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตพืชผลทางการเกษตรลดลง ประกอบกับดัชนีราคาในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงขยายตัวสูงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และดัชนีราคาในหมวดอาหารสำเร็จรูปขยายตัวเร่งขึ้นจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าวัตถุดิบ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.5 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไตรมาส 1 ปี 54 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.0 และ 1.5 ตามลำดับ
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 โดยหมวดสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 15.3 เป็นผลจากเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง เหล็กแผ่นเรียบดำ และท่อเหล็ก ในขณะที่ดัชนีในหมวดซีเมนต์ขยายตัวร้อยละ 10.9 ซึ่งสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ และปูนฉาบสำเร็จรูป ขณะที่ดัชนีหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ขยายตัวร้อยละ 4.5 สินค้าสำคัญ เช่น บานประตู-หน้าต่าง วงกบประตู-หน้าต่าง เป็นต้น เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ทำ ให้ไตรมาสแรกของปี 54 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 6.2
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนมี.ค. 54 ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 14.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 15.9 (หรือขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกแล้ว) โดยได้รับปัจจัยบวกจากกำ ลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับสูง สะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง อีกทั้งอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนยังขยายตัวต่อเนื่อง และจะเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนให้การบริโภคภาคเอกชนในปี 54 ขยายตัวในเกณฑ์ดี
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มี.ค. 54 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 72.0 ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 72.2 โดยมีปัจจัยกดดันจากแนวโน้มราคาสินค้าในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของกนง.และความกังวลจากผลกระทบของปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงปลายเดือนมี.ค. 54 อย่างไรก็ตาม รายได้ภาคครัวเรือนที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีจะเป็นปัจจัยบวกให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยในปี 54 ต่อไป
Global Economic Indicators: This Week
- ยอดค้าปลีกเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันและราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้อำนาจการซื้อของประชาชนลดลง ในวันที่ 7 เม.ย. 54 ธนาคารกลางยุโรปได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.25 เพื่อลดแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 51
- อัตราการว่างงานในเดือน มี.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 8.8 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 8.9 ของกำลังแรงงานรวม จากตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรในเดือน มี.ค. 54 ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ 216,000 ตำแหน่งในช่วงดังกล่าวสะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นอย่างไรก็ตาม ระดับอัตราการว่างงานดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญของทางการสหรัฐฯที่ต้องแก้ไขอย่างต่อเนื่องในระยะต่อไป
- มูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 18.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าขณะที่มูลค่าการนำ เข้าขยายตัวที่ร้อยละ 14.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
- อัตราการว่างงานออสเตรเลียในเดือน มี.ค. 54 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่ตัวเลขการจ้างงานโดยรวมเดือน มี.ค.54ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 37,000 ตำแหน่ง จากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานแบบเต็มเวลาเป็นสำคัญสะท้อนถึงสภาวะที่แข็งแกร่งของตลาดแรงงานออสเตรเลีย การส่งออกเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าจากสินค้าอุตสาหกรรมเหมืองแร่เป็นสำคัญ
- มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการขยายตัวดีเกินคาดของการส่งออกในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่ การนำเข้าในเดือนก.พ. 54 ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 11.5
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในเดือน มี.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 50.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.3 อย่างไรก็ตามระดับของดัชนีดังกล่าวที่ยังสูงกว่า 50 สะท้อนถึงการขยายตัวต่อเนื่องแม้ว่าจะชะลอลงเล็กน้อยก็ตาม
- อัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค. 54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น
ดัชนี SET ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า จากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุน โดยการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของดัชนี SET เป็นผลมาจากการเข้าซื้อของนักลงทุนต่างชาติในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนให้ความสนใจในหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเช่นเดียวกับตลาดพันธบัตรของไทยมีอุปสงค์เข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นการเข้าซื้อจากนักลงทุนต่างชาติในตราสารระยะปานกลางและยาวเป็นหลัก เนื่องจากตลาดมองว่าธนาคารกลางของประเทศในภูมิภาคอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อ
ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยวันที่ 7 เม.ย. 54 ค่าเงินปิดที่ระดับ 30.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 54 จากเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เข้ามาในตลาดหลักทรัพย์และตลาดราสารหนี้ไทยเป็นสำคัญโดยตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติได้เข้าซื้อสุทธิ 10,007ล้านบาท และ 7,149 ล้านบาท ตามลำดับดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.78 อย่างไรก็ตาม ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) ยังคงอ่อนค่าลงร้อยละ 1.13 เมื่อเทียบกับต้นปี 54
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th