- ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของโลกรวมถึงประเทศไทย มีความแปรปรวนค่อนข้างสูง ดังจะเห็นได้จากในช่วงปลายปี 2553 ที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และวาตภัยอย่างรุนแรง โดยในช่วงเดือนกันยายน — ตุลาคม 2553 ภาคอีสาน และภาคกลาง ประสบปัญหาน้ำท่วมขังอย่างหนักในรอบหลายสิบปีในขณะที่ในช่วงปลายเดือน ตุลาคม — พฤศจิกายน 2553 ภาคใต้ประสบปัญหาวาตภัย และอุทกภัย ได้รับผลกระทบทั้งหมด 11 จังหวัด
- ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตของประเทศ สศค. ได้ทำ การประเมินผลกระทบน้ำท่วมต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2553 (ทั้งภาคอีสาน กลาง และใต้ ) คาดว่า จะทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลงร้อยละ -0.19 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -0.13 ถึง - 0.29 ต่อปี
- สำหรับมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบนั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มาตรการระยะสั้นได้แก่ เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ครัวเรือนละ 5,000 บาท พักชำระหนี้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น ในขณะที่ มาตรการระยะยาว ได้แก่ การก่อสร้างโครงการแก้มลิงเพื่อใช้เก็บกักน้ำ การพัฒนาฐานข้อมูลเรื่องน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมบริเวณรอบเมือง และการดูแลระบบระบายน้ำต่างๆ เป็นต้น
ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของโลกมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยในช่วงปลายปี 2553 ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และวาตภัยกันอย่างรุนแรง โดยในช่วงเดือน กันยายน — ตุลาคม 2553 ภาคอีสาน และภาคกลาง ประสบปัญหาน้ำท่วมขังอย่างหนักในรอบหลายสิบปี ในขณะที่ในช่วงปลายเดือน ตุลาคม -พฤศจิกายน 2553 ภาคใต้ประสบปัญหาวาตภัย และอุทกภัย ได้รับผลกระทบทั้งหมด 11 จังหวัด ราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั้งหมด 90,000 ครัวเรือน ทั้งนี้ สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ทำการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวต่อผลทางเศรษฐกิจของไทย ดังนี้
2.1 ลำดับเหตุการณ์สำคัญ
- สาเหตุของวิกฤตน้ำท่วมเกิดจากการที่ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านประเทศไทย บริเวณภาคกลางตอนล่างภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลจีนใต้ตอนกลาง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ จนทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากปรากฏการณ์ลานิญาที่มาเร็วกว่าปกติ
- พื้นที่ที่ประสบภัยโดยรวมทั้งประเทศมีทั้งหมด 38 จังหวัด 161 อำเภอ 772 ตำบล และมีจำนวนหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบถึง 4,513 หมู่บ้าน ซึ่งได้แก่จังหวัด (1) น่าน (2) กำแพงเพชร (3) พิจิตร (4) เพชรบูรณ์ (5) นครสวรรค์ (6) อุทัยธานี (7) ลำปาง (8) เชียงราย (9) สุโขทัย (10) ลำพูน (11) กาญจนบุรี (12) ปทุมธานี (13) เพชรบุรี (14) ประจวบคีรีขันธ์ (15) สิงห์บุรี (16) ชัยนาท (17) พระนครศรีอยุธยา (18) สระบุรี (19) นครปฐม (20) นนทบุรี (21) ราชบุรี (22) ลพบุรี (23) สมุทรสาคร (24) อ่างทอง (25) สมุทรสงคราม (26) ร้อยเอ็ด (27) มหาสารคาม (28) ขอนแก่น (29) เลย (30) นครราชสีมา (31) บุรีรัมย์ (32) สุรินทร์ (33) ตราด (34) ชลบุรี (35) ฉะเชิงเทรา (36) ระยอง (37) จันทบุรี และ (38) ตรัง โดยราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั้งหมด 208,446 ครัวเรือน และจำนวนผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนจำนวน 675,347 คน
ทั้งนี้ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจังหวัดหนึ่ง คือ จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาค การประสบปัญหาอุทกภัยทำให้การเพาะปลูกสินค้าทางการเกษตร การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และการขนส่งต้องหยุดชะงักตามไปด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อ GPP ของจังหวัดนครราชสีมาได้ในระดับสูง ซึ่งปัญหาเกิดขึ้นได้กำลังส่งผลกระทบไปทั่วทั้งภาคอีสาน เนื่องจากประชาชนไม่สามารถออกมาจับจ่ายใช้สอยสินค้าได้
2.2 อุตสาหกรรมใดบ้างที่ได้รับผลกระทบ
- ภาคเกษตร ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม - 30 กันยายน 2553 พบว่า พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายแล้ว573,708 ไร่ แบ่งเป็น นาข้าว 515,945 ไร่ พืชไร่ 47,211 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 10,892 ไร่ มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 66,224 ราย ส่วนในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2553 - 22 ตุลาคม 2553 คาดว่าพื้นที่การเกษตรจะ
- ภาคการผลิตและอุตสาหกรรม จากข้อมูลของสภาอุตฯพื้นที่ความเสียหายของภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้เกิดความเสียหายในเบื้องต้นคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับผ้าไหม อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เบรก และครัช เป็นต้น
- ภาคบริการและการท่องเที่ยว จากการสำรวจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพบว่า มีผู้ประกอบการโรงแรมรีสอร์ท บ้านพัก ร้านอาหาร ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมหลายแห่ง ส่งผลให้ไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าไปได้ ซึ่งคาดว่าธุรกิจการท่องเที่ยวจะได้รับความเสียหายราว 300 ล้านบาท
- ภาคบริการด้านสถานบริการและสาธารณูปโภค ได้รับความเสียหายคิดเป็นมูลค่าประมาณ 252 ล้านบาทโดยสถานบริการที่ได้รับความเสียหาย ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา โรงพยาบาลปักธงชัยและโรงพยาบาลปากช่อง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจำนวน 1 แห่ง และสถานีอนามัยจำนวน 9 แห่ง เป็นต้น
3.1 ลำดับเหตุการณ์สำคัญ
- สถานการณ์น้ำท่วมในภาคใต้เกิดจากลมพายุดีเปรสชั่นที่ก่อตัวในอ่าวไทยได้เคลื่อนตัวเข้าหาฝั่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศ ทำให้ฝนตกหนักมากติดต่อกัน 3 วัน จนถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 และเกิดลมที่มีความเร็วและแรง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
- พื้นที่ที่ประสบภัยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม — 5 พฤศจิกายน 2553 มีทั้งหมด 11 จังหวัด 114 อำเภอ 666 ตำบล และมีจำนวนหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบถึง 3,831 หมู่บ้าน ซึ่งได้แก่จังหวัด (1)สงขลา (2) สุราษฎร์ธานี (3) นราธิวาส (4) ปัตตานี (5) พัทลุง (6) ตรัง (7) สตูล (8) ยะลา (9) นครศรีธรรมราช(10) กระบี่ และ (11) ชุมพร ทั้งนี้ ราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั้งหมดประมาณ 90,000 ครัวเรือน
3.2 อุตสาหกรรมใดบ้างที่ได้รับผลกระทบ
- ภาคเกษตร จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 พื้นที่การเกษตรในภาคใต้ตอนล่าง 4 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี สตูล และยะลา ได้รับความเสียหายแล้ว 207,510 ไร่ แบ่งเป็นนาข้าว 99,288 ไร่ พืชไร่ 23,312 ไร่ พืชสวน 71,665 ไร่
- ภาคประมงและปศุสัตว์ จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 พบว่ามีบ่อสัตว์น้ำ กระชังปลา เรือและแพปลา ได้รับความเสียหายบางส่วน โดยมีเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบ 4,692 ราย และมีเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปศุสัตว์ได้รับผลกระทบอีกจำนวนหนึ่ง
- ภาคการค้าส่งค้าปลีก ย่านการค้ากิมหยงและตลาดสันติสุขได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม ทำให้ภาคการค้าขายในพื้นที่ดังกล่าวต้องหงุดชะงัก และมีสินค้าบางส่วนได้รับความเสียหาย โดยนายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่มีการประเมินความเสียหายเบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 7,000 ล้านบาท
- นาข้าว คาดว่าจะมีพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 2.67 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.7 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด โดย สศค. ได้แบ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นออกเป็น 3 กรณี ได้แก่
- กรณีสูง พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมขัง ได้รับความเสียหายทั้งหมด กล่าวคือจะมีผลผลิตที่ได้รับความเสียหายจำนวน 1.07 ล้านตัน คิดเป็นเม็ดเงินสูญเสียกว่า 9,659 ล้านบาท
- กรณีฐาน พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมขัง ได้รับความเสียหายร้อยละ 50 กล่าวคือจะมีผลผลิตที่ได้รับความเสียหายจำนวน 0.54 ล้านตัน คิดเป็นเม็ดเงินสูญเสียกว่า 4,830 ล้านบาท
- กรณีต่ำ พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมขัง ได้รับความเสียหายร้อยละ 25 กล่าวคือจะมีผลผลิตที่ได้รับความเสียหายจำนวน 0.27 ล้านตัน คิดเป็นเม็ดเงินสูญเสียกว่า 2,415 ล้านบาท
- พืชไร่ คาดว่าจะมีพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 1.68 ล้านไร่ มีผลผลิตได้รับความเสียหาย 5,795 ล้านบาท โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 2,897-11,590 ล้านบาท
- ส่วนในสาขาอื่นๆ คาดว่าจะได้รับความเสียหายแยกเป็น 3 กรณีดังแสดงในตาราง
ความเสียหายรวม(ล้านบาท) รายการ กรณีสูง กรณีฐาน กรณีต่ำ ภาคเกษตร 22,152 11,447 5,942 นาข้าว 10,125 5,215 2,607 ยางพารา ชั่วคราว 33 33 33 ถาวร 265 265 265 พืชไร่ 11,590 5,795 2,897 ประมง 139 139 139 การผลิต อุตสาหกรรม 1,000 1,000 1,000 การก่อสร้าง 2,312 2,312 2,312 ค้าปลีกค้าส่ง 10,000 7,000 5,000 โรงแรมภัตตาคาร 300 300 300 ขนส่งและสื่อสาร 1,500 750 375 การเงิน 113 56 28 การศึกษา 0 0 0 โรงพยาบาล 252 252 252 รวมทั้งหมด 37,263 22,809 14,929 * ข้อมูลเบื้องต้น ณ 4 พ.ย.53 ความเสียหายที่เกิดขึ้นคาดว่าอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลงได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 53 ซึ่งจากการประเมินพบว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลงร้อยละ -0.19 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -0.13 ถึง -0.29 ต่อปี ซึ่งแม้ว่าภาวะน้ำท่วมจะครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด แต่ภาวะดังกล่าวคลี่คลายได้เร็ว จึงทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรวมไม่มากนัก 5. ผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ - วิกฤติน้ำท่วมได้ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคของประชาชนดังนี้ o พืชผัก คาดว่าผลผลิตจะหายไปจากตลาดสดและตลาดกลางประมาณร้อยละ 30 โดยเฉพาะผักชีและถั่วผักยาว ซึ่งจะทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีการขนส่งจากตลาดที่ไม่ขาดแคลน เช่น ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท และกระจายผลผลิตไปยังพื้นที่ตลาดอื่นๆ ที่ขาดแคลน o สินค้าอุปโภคบริโภค ที่จำเป็นต่อการครองชีพยังมีปริมาณเพียงพอ ไม่ขาดแคลน ไม่พบการกักตุนสินค้า หรือฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า o สินค้าหมวดวัสดุก่อสร้าง ราคายังทรงตัว ปริมาณสินค้าเพียงพอ ไม่พบกักตุน ยกเว้นทรายและอิฐมอญ บางพื้นที่มีสินค้าจำหน่ายไม่เพียงพอ เนื่องจากตลาดมีความต้องการสูง และแหล่งผลิตอิฐมอญที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถูกน้ำท่วม - จากการประเมินผลกระทบพบว่า ราคาพืชผักที่ปรับตัวสูงขึ้นราวร้อยละ 20 - 30 จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวสูงขึ้นจากกรณีฐานร้อยละ 0.2 อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขจริงของอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤศจิกายน 2553 พบว่าอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี ซึ่งเท่ากับเดือนตุลาคม 2553 โดยสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรออกมาเพียงพอกับความต้องการของตลาด ทำให้ คาดว่าผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยจะไม่ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2553 เปลี่ยนแปลงไปจากประมาณการ ณ เดือน กันยายน ที่ร้อยละ 3.4 ต่อ ปีมากนัก 6. มาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 1. มาตรการด้านงบประมาณ รัฐบาลได้มีการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ในส่วนของรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(อุทกภัย) อนุมัติในหลักการให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ครัวเรือนละ 5,000 บาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เฉพาะราษฎรผู้ประสบอุทกภัยจากกรณีเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้ไม่สามารถขนย้ายทรัพย์สินไปสู่ในที่ปลอดภัยได้ หรือผู้ที่มีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน 2. มาตรการการให้ความช่วยเหลือด้านแรงงาน เพื่อทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนด้านอาชีพจากภัยธรรมชาติ ซึ่งจากสถานการณ์การเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศไทยทำให้ประชาชนเป็นจำนวนมากได้รับความสูญเสียทั้งร่างกายและทรัพย์สิน สำรวจความต้องการความช่วยเหลือของประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยธรรมชาติหลังน้ำลดเพื่อให้การช่วยเหลือตามโครงการจ้างงานเร่งด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 กรมการจัดหางานจัดทำโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 ภายหลังน้ำลดใน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการช่วยเหลือถึงบ้านบริการอาชีพ และ 2) โครงการฟื้นฟูสร้างอาชีพใหม่ให้คนว่างงาน ตกงาน จากอุทกภัย 2553 3. มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในส่วนของกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังได้กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 ดังนี้ - มาตรการช่วยเหลือผู้เช่าที่ราชพัสดุ ที่ได้รับความเดือดร้อน มีแนวทาง ดังนี้ o ผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่ออยู่อาศัย ให้พิจารณาความเสียหายของอาคารที่พักอาศัย หากอาคารที่พักอาศัยเสียหายบางส่วนให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 1 ปี หากอาคารที่พักอาศัยเสียหายทั้งหลังให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 2 ปี o ผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประกอบการเกษตร หากพืชหรือผลผลิตได้รับความเสียหายให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 1 ปี โดยมีข้อมูลการรับรองความเสียหายจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง o ผู้เช่าอาคารราชพัสดุ หากผลกระทบจากอุทกภัยทำให้ผู้เช่าอาคารราชพัสดุไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ เป็นเวลาเกิน 3 วัน ให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 1 เดือน o ให้ยกเว้นการคิดเงินเพิ่ม กรณีที่ผู้เช่าไม่สามารถชำระค่าเช่า ค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใดที่ต้องชำระภายในกำหนดระยะเวลา โดยเหตุมาจากการเกิดอุทกภัยดังกล่าว ซึ่งถือเป็นเหตุสุดวิสัย - มาตรการช่วยเหลือด้านการเงิน รัฐบาลได้อนุมัติความช่วยเหลือแก่ลูกค้าสถาบันการเงินเฉพาะกิจโดยผ่านธนาคารต่างๆ ได้แก่ ตารางที่ 2 สรุปมาตรการด้านการเงิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) - กรณีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิตจากอุทกภัย จะจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญโดย ธ.ก.ส. รับภาระเอง - กรณีเกษตรกรลูกค้าประสบภัยอย่างร้ายแรงและไม่เสียชีวิต โดย (1) หนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัย (1.1) ขยายระยะเวลาการชำระหนี้เงินกู้เดิมเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2553 —2555 (1.2) งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2553 — 2555 โดย ธ.ก.ส.จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลตามอัตราดอกเบี้ย MRR-1 ซึ่งขณะนี้มีอัตราดอกร้อยละ 5.75 ต่อปี (2) การให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต (2.1) ให้เงินกู้รายละไม่เกิน 100,000 บาท (2.2) ลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ ธ.ก.ส. เรียกเก็บจากเกษตรกรลูกค้าร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี (2.3) กำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้าโดย ธ.ก.ส.จะลดหย่อนหลักประกันการกู้เงินจากหลักเกณฑ์ปกติ ดังนี้ (2.3.1) กรณีกู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน ให้ขยายวงเงินกู้จากที่กู้ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของวงเงินจดทะเบียนจำนอง เป็นให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินจดทะเบียนจำนอง (2.3.2) กรณีกู้เงินโดยใช้กลุ่มลูกค้ารับรองรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ให้ขยายวงเงินในการประกันจากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) - จัดทำ “โครงการเงินกู้เพื่อลดภาระหนี้ปลูกสร้าง ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยแก่ผู้ประสบอุทกภัย ปี 2553” เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ดังนี้ ปีที่ 1 เดือนที่ 1-4 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 เดือนที่ 5-12 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-2.00 = ร้อยละ 4.50 (ปัจจุบัน MRR ของธนาคารอยู่ที่ร้อยละ 6.50) ปีที่ 2 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-2.00 =ร้อยละ 4.50 ปีที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-1.00 = ร้อยละ 5.50 ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญา รายย่อย MRR-0.50 = ร้อยละ 6 สวัสดิการ MRR-1.00 - สำหรับลูกค้าธนาคารที่ขอลดภาระหนี้ที่ผ่อนชำระ จะได้รับการปลอดผ่อนชำระเงินงวด 4 เดือน - สำหรับประชาชนที่ไถ่ถอนปลูกสร้างซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ผ่อนชำระเงินงวดปกติ(เดือน 1-4 ไม่คิดดอกเบี้ย) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) - การพักชำระหนี้ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ และหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สำหรับลูกค้าเดิม โดยดำเนินการพักชำระเงินต้นและหรือเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้กับลูกค้าทุกราย ตั้งแต่งวดครบกำหนดชำระในเดือนที่ประสบปัญหาเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน ทั้งนี้ให้พิจารณาระยะเวลาเป็นราย ๆ ตามความเหมาะสม - วงเงินกู้ฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ สำหรับลูกค้าเดิม และลูกค้าทั่วไป ได้กำหนดวงเงินสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อเงินทุนในการปรับปรุง ฟื้นฟู และหมุนเวียนในการ ดำเนินกิจการ - กู้สูงสุดรายละไม่เกิน 500,000 บาท - ระยะเวลากู้ยืมไม่เกิน 5 ปี ระยะเวลาปลอดการชำระคืนเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 12 เดือน - อัตราดอกเบี้ย : ลูกค้าเดิมของธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ย เท่ากับ MLR ตลอดอายุสัญญา (ปัจจุบัน MLR ของธนาคารเท่ากับร้อยละ 7) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) - ให้สินเชื่อเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการ เงินทุนหมุนเวียน และสินเชื่ออเนกประสงค์ - ไม่จำกัดวงเงิน โดยพิจารณาตามความเสียหายจริง - ผ่อนปรนเงินต้นและอัตรากำไรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เดือนที่ 4 — 24 จะคิดอัตรากำไรต่ำกว่าสัญญาเดิมร้อยละ 1 หรือเลือกชำระหนี้เฉพาะส่วนอัตรากำไรเป็นระยะเวลา 12 เดือน ส่วนเดือนที่ 13 — 24 ชำระทั้งเงินต้นและกำไร โดยจะคิดอัตรากำไรต่ำกว่าสัญญาเดิมร้อยละ 1 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) - ผ่อนปรนเงื่อนไขในการชำระหนี้ - ให้กู้เพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงกิจการ - สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้าน กู้ซ่อมแซม อนุมัติภายใน 3 วัน - ลูกค้าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ธนาคารจะให้การสนับสนุนสินเชื่อเพิ่มเติมแก่ลูกค้าเพื่อใช้ในการซ่อมแซมและปรับปรุงกิจการ รวมทั้งเป็นเงินทุน หมุนเวียน - ส่วนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม ธนาคารผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้โดยให้พักชำระเงินต้นนาน 6 เดือน หรือชำระดอกเบี้ยบางส่วน - ลูกค้า Home for Cash ให้อนุมัติสินเชื่อภายใน 3 วัน โดยคิดอัตราดอกเบี้ย MLR — 1.75 เป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นคิด MLR — 0.5 ต่อปี บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) - ประสานงานกับสถาบันการเงินทุกแห่งเพื่อผ่อนปรนค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้กับผู้ที่ใช้บริการ บสย. ค้ำประกันและได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 4. มาตรการด้านอื่นๆ 4.1 การจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนในจังหวัดที่เกิดอุทกภัย (One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.2 การจัดตั้งกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 ทั้งนี้ ผู้บริจาคเงินสมทบเข้ากองทุนจะได้รับใบเสร็จรับเงินเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษีทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวข้างต้นเป็นการให้ความช่วยเหลือกับประชาชนทั่วไปและลูกค้าสถาบัน การเงินเฉพาะ กิจของรัฐซึ่งมีทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และรายย่อยทั่วไป 5. มาตรการระยะยาวในการป้องกันปัญหาอุทกภัย 1. การก่อสร้างโครงการแก้มลิงเพื่อใช้เก็บกักน้ำ และเพื่อรับมือสถานการณ์ที่เขื่อนไม่สามารถรองรับ ปริมาณน้ำที่มากเกินไปได้ 2. การพัฒนาฐานข้อมูลเรื่องน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์น้ำและคาดการณ์ปริมาณน้ำได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งมีการแจ้งเตือนประชาชนให้ได้ทราบปัญหาน้ำไหลหลากล่วงหน้า 3. การจัดการผังเมืองให้มีประสิทธิภาพ เช่น การไม่อนุญาตให้มีการสร้างสิ่งก่อสร้างที่ก่อให้เกิดการกีดขวางทางระบายน้ำ 4. การก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมบริเวณรอบเมือง เช่น การทำคูรอบบริเวณเมือง 5. การดูแลระบบระบายน้ำต่างๆ ได้แก่ การขุดลอกแม่น้ำ การผันน้ำเลี่ยงเมือง 6. มาตรการการรักษาดูแลพื้นที่ป่าอย่างจริงจัง ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th