บทสรุปผู้บริหาร: บทวิเคราะห์เรื่อง ประเด็นด่วน....วิกฤติโปรตุเกส

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 12, 2011 11:57 —กระทรวงการคลัง

สรุปประเด็นด่วน
  • ในคืนวันที่ 6 เมษายน 2554 รัฐบาลโปรตุเกสประกาศขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก European Union (EU) ซึ่งประเทศโปรตุเกสกลายเป็นประเทศที่ 3 ในสหภาพยุโรป หลังจากที่กรีซและไอร์แลนด์ได้ขอความช่วยเหลือจาก EU ไปแล้วก่อนหน้านี้
  • สาเหตุหลักที่โปรตุเกสต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินดังกล่าว มาจากปัญหาทางการเมืองในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่นายกรัฐมนตรีโปรตุเกส (Mr.Socrates) ประกาศลาออกจากตาแหน่งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2554 หลังจากที่รัฐสภาลงมติไม่ผ่านร่างกฎหมายเข้มงวดทางการคลัง ทาให้นักลงทุนขาดความมั่นใจในการถือครองและแห่ขายพันธบัตรโปรตุเกส ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมพันธบัตรของโปรตุเกสสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว (ดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 8.58 ต่อปี เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 7.5 ต่อปีเพียงช่วงเวลา 2 สัปดาห์)
  • การแห่เทขายพันธบัตรโปรตุเกสของนักลงทุนดังกล่าว ทาให้ภาระหนี้ของรัฐบาลโปรตุเกสสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถชาระหนี้ที่กาลังจะถึงกาหนดเวลาชาระในเดือนมิถุนายนจานวน 7 พันล้านยูโรได้ ดังนั้น รัฐบาลโปรตุเกสจึงเผชิญกับปัญหาวิกฤติการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง (Liquidity Crisis) จนต้องขอความช่วยเหลือจาก EU
  • นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของโปรตุเกสล่าสุดที่อ่อนแอมาก โดยเฉพาะภาระหนี้สาธารณะที่สูงถึง 92.4% ของ GDP การขาดดุลการคลังที่สูงถึง -8.6% ของ GDP การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่สูงถึง -8.7% ของGDP ซึ่งส่วนใหญ่ชดเชยด้วยการกู้เงินจากต่างประเทศ จนหนึ้ต่างประเทศสูงถึง 235% ของ GDP ดังนั้น ประเทศโปรตุเกสจึงไม่ได้เผชิญแค่ปัญหาวิกฤติสภาพคล่อง (Liquidity Crisis) เท่านั้น แต่ยังเผชิญกับวิกฤติหนี้สินล้นพ้นตัว (Solvency Crisis) ด้วย
ตาราง 1 ปัจจัยพื้นฐานที่อ่อนแอของเศรษฐกิจโปรตุเกส
                              ปี 2009            ปี 2010
หนี้สาธารณะ ต่อ GDP               82.9%             92.4%
ดุลการคลัง ต่อ GDP                 -10%             -8.6%
ดุลบัญชีเดินสะพัด ต่อ GDP             -10%             -8.7%
หนี้ต่างประเทศรวม ต่อ GDP           235%               N.A
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ         -2.6%              1.4%
ประเด็นที่ต้องเฝ้าติดตาม

1. แม้ว่ารัฐบาลโปรตุเกสจะแจ้งความจานงเพื่อขอรับความช่วยเหลือจาก EU แต่ยังไม่ได้ระบุจานวนเงินที่จะขอรับความช่วยเหลือ โดยตลาดการเงินได้คาดการณ์วงเงินที่รัฐบาลโปรตุเกสจะขอรับความช่วยเหลือที่ประมาณ 75-85 พันล้านยูโร ซึ่งเท่ากับการคาดการณ์ภาระหนี้ของโปรตุเกสในระยะ 3 ปี แต่ประเด็นที่สาคัญที่ต้องเฝ้าติดตาม คือ ขณะนี้รัฐบาลโปรตุเกสยังเป็นรัฐบาลรักษาการ (Caretaker Government) ซึ่งอาจจะไม่สามารถเจรจาเงื่อนไข (Conditionality) ในการกู้เงินกับ EU ได้มากนัก ทั้งนี้ ตลาดการเงิน ยังเชื่อมั่นว่าทาง EU น่าจะตอบสนองให้โปรตุเกสกู้ได้ ดั่งจะเห็นได้จากการที่ดัชนีในตลาดทุนในยุโรปได้ปรับตัวดีขึ้นหลังจากโปรตุเกสประกาศขอรับความช่วยเหลือ

2. ผลกระทบของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางยุโรปอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 1.25 ในวันที่ 7 เมษายน 2554 เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อในยุโรป อาจส่งผลกระทบทางลบต่อการแพร่ขยายของวิกฤติการเงินจากโปรตุเกสไปยังประเทศอื่นในยุโรป เนื่องจาก (1) การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้เงินของรัฐบาลที่ใช้เงินสกุลยูโรปรับสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้บางประเทศขาดความสามารถในการชาระหนี้และต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก EU เพิ่มเติม และ (2) การขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อความสามารถชาระหนี้ของภาคเอกชน โดยเฉพาะ ผู้บริโภคและนักลงทุนที่ต้องผ่อนชาระดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเนื่องจากการใช้จ่ายภาคเอกชนจะลดลงจากต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

3. สาหรับประเทศที่น่าเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ ประเทศสเปน และอิตาลี ซึ่งตลาดการเงินประเมินว่ามีความเสี่ยงในการผิดนัดชาระหนี้สูงเป็นอันดับ 4 และอันดับ 5 ในกลุ่มยูโรโซน ถัดจากประเทศกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส ซึ่งเข้าโครงการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก EU ไปแล้ว ทั้งนี้ หากวิกฤติเศรษฐกิจลุกลามไปสู่ประเทศสเปน ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ในยุโรป และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าขนาดของเศรษฐกิจกรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส รวมกัน เชื่อว่าน่าจะทาให้ตลาดเงินตลาดทุนผันผวนรุนแรงมาก อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดการเงินยังมองว่าความเสี่ยงจากการผิดนัดชาระหนี้ของรัฐบาลสเปนและรัฐบาลอิตาลี มีความแตกต่างจากรัฐบาลกรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ดังจะเห็นได้จาก Credit Default Swap (CDS) ของรัฐบาลสเปนและอิตาลี ที่ไม่ได้ปรับสูงขึ้นตามความเสี่ยงของรัฐบาลกรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโปรตุเกส น่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ผ่าน 2 ช่องทางหลัก ได้แก่ ด้านการค้าการบริการ และด้านการเงินการลงทุน ดังนี้

  • ผลกระทบด้านการค้าและการบริการน่าจะอยู่ในวงจากัด เนื่องจากสัดส่วนการค้าของไทยกับโปรตุเกสมีอยู่ในสัดส่วนที่น้อยเพียงแค่ร้อยละ 0.1 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด ขณะที่สัดส่วนการบริการ ซึ่งส่วนใหญ่จากัดอยู่ในด้านการท่องเที่ยว มีสัดส่วนนักท่องเที่ยวโปรตุเกสเพียงร้อยละ 0.2 ของจานวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด อย่างไรก็ดี หากวิกฤติของเศรษฐกิจโปรตุเกสขยายไปสู่ยุโรปในวงกว้าง จะส่งผลกระทบกับประเทศไทยอย่างมีนัยสาคัญ เนื่องจากสัดส่วนการค้าของไทยกับยุโรปมีสัดส่วนถึงประมาณร้อยละ 10 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด ขณะเดียวกันสัดส่วนของจานวนนักท่องเที่ยวยุโรปมายังประเทศไทยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 27 ของจานวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด
  • ผลกระทบด้านการเงินและการลงทุนโดยตรงน่าจะอยู่ในวงจากัดเช่นกัน เนื่องจากสัดส่วนการลงทุนของโปรตุเกสในประเทศไทยมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.002 ของมูลการลงทุนโดยตรงในไทย ทั้งนี้ ผลกระทบด้านการเงินและการลงทุนของวิกฤติโปรตุเกสต่อประเทศไทยส่วนใหญ่น่าจะเป็นผลกระทบทางอ้อม ผ่านความผันผวนของค่าเงินและเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะหากวิกฤติโปรตุเกสมีความรุนแรงและแพร่ขยายไปสู่ประเทศอื่น คาดว่าจะส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศแห่ถอนเงินจากยุโรปและจากหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง (Risky Assets เช่น ตลาดหุ้นในประเทศเกิดใหม่ รวมทั้งไทย) เข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย (Safe Haven) เช่น ทองคา หรือ พันธบัตรสหรัฐ ส่งผลให้ค่าเงินยูโรและค่าเงินบาทอ่อนลง แต่เมื่อนักลงทุนคลายความกังวลจากวิกฤติ นักลงทุนก็จะย้ายเงินลงทุนกลับไปยังประเทศในตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะในเอเชียรวมทั้งไทย ส่งผลให้ค่าเงินยูโรและค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ดี ในช่วงหลังจากที่รัฐบาลโปรตุเกสประกาศขอรับความช่วยเหลือจาก EU ตลาดการเงินไม่ได้ผันผวนมากนัก โดยค่าเงินยูโรอ่อนลงเพียง 0.1% เนื่องจากตลาดการเงินได้คาดการณ์วิกฤติโปรตุเกสไว้แล้วล่วงหน้าและคาดว่าวิกฤติในโปรตุเกสยังไม่น่าจะลุกลามไปสู่ประเทศอื่นๆ ในยุโรป
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

1. เฝ้าระมัดระวังติดตามสถานการณ์และพัฒนาการของวิกฤติโปรตุเกสอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในประเด็นของรายละเอียดการกู้เงินของรัฐบาลโปรตุเกส และการแพร่ขยายของวิกฤติโปรตุเกส ไปสู่สเปนและประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรป

2. เร่งกระจายตลาดการส่งออกไปสู่ตลาดอื่นๆ ที่มีการเติบโตดี เช่น ประเทศในเอเชีย ที่มีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง

3. เร่งสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ โดยเฉพาะการใช้จ่ายลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ เพื่อลดผลกระทบในกรณีที่การส่งออกไปยังยุโรปลดลง

4. รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศที่อาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การเร่งสร้างกลไกการติดตามเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศในภูมิภาคและสร้างความร่วมมือ

ทางการเงินในภูมิภาคให้แน่นแฟ้นขึ้น จะช่วยให้ตลาดเงินตลาดทุนในภูมิภาคมีความเข้มแข็งสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนทางการเงินได้ดียิ่งขึ้น กล่าวโดยสรุป สานักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ประจาสหราชอาณาจักรและยุโรป วิเคราะห์ว่า หากวิกฤติโปรตุเกสที่เกิดขึ้นจากัดอยู่แค่โปรตุเกส ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยน่าจะไม่มากนัก แต่หากวิกฤติโปรตุเกสแพร่ขยายไปยังสเปน เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกน่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ดังนั้น ประเทศไทยต้องเร่งสร้างความเข้มแข้งภายในประเทศและกระจายตลาดไปยังตลาดที่เติบโตดี เพื่อลดผลกระทบจากการส่งออกไปยังยุโรปที่อาจชะลอลง ขณะเดียวกันก็เน้นการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจเพื่อรองรับผลกระทบจากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ