ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้
1. Bank of Japan เตรียมปล่อยเงินกู้ช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
2. เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มชะลอตัวลงอีกครั้งหนึ่งหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ
3. รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่ามีความจาเป็นต้องจัดทางบประมาณประจาปี 2554 เพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นเงินทุนให้แก่บริษัทประกัน
4. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3
-----------------------------------
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2554 Bank of Japan (BOJ) เปิดเผยว่าได้เตรียมเงินปล่อยกู้ให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับผลจากเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งนี้มีวงเงินเป็นจำนวน 1 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าเท่าตัวของวงเงินช่วยเหลือสำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองโกเบเมื่อปี 2538 ที่มีจานวนเท่ากับ 5 แสนล้านเยน เนื่องจากเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งนี้ได้ส่งผลให้เกิดความเสียหายในวงกว้างเป็นอย่างมาก และ BOJ ยังได้ลดหย่อนกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินให้แก่บริษัทที่ได้รับความเสียหายและสูญเสียความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์ดังกล่าว
โดยอนุญาตให้ใช้พันธบัตรหรือ Commercial Paper ของบริษัทเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินได้ นอกจากนั้น BOJ ยังประกาศว่าพร้อมที่จะเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนได้ทันทีหากมีความจำเป็นต้องดำเนินการ
รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานผลสารวจสภาวะเศรษฐกิจประจำเดือนเมษายน 2554 ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เริ่มฟื้นตัวนั้นได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ทำให้เริ่มกลับมาชะลอตัวลงอีกครั้งหนึ่งและคาดว่าจะยังคงชะลอตัวต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากการใช้จ่ายส่วนบุคคลที่มีสัดส่วนคิดเป็นอัตราร้อยละ 6 ของ GDP นั้นได้ปรับตัวลดลงอย่างมาก เช่น ยอดขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2553 นั้นลดลงร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและยอดขายของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ร้านอาหารและการท่องเที่ยวนั้นก็ลดลงเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นโรงงานหลายแห่งได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวประกอบกับพลังงานไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอทำให้ปริมาณการผลิตและการส่งออกนั้นลดลงตามมา
รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่ามีความจำเป็นที่จะต้องจัดทางบประมาณประจำปี 2554 เพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นเงินทุนให้แก่บริษัทประกันในการจ่ายค่าประกันแก่ผู้ประกอบการธุรกิจการประมงที่ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากจากเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่ประสบภัยนั้นเป็นจังหวัดที่ทำธุรกิจการประมงเป็นหลัก ซึ่งคาดว่าน่าจะมีเรือประมงได้รับความเสียหายมากกว่า 1 หมื่นล้าน นอกจากนั้นยังมีความเสียหายของสถานที่ประกอบการและเครื่องมือต่างๆ อีกด้วย ทำให้ถึงแม้รัฐบาลจะนำเงินสำรองที่มีอยู่มาสนับสนุนในส่วนนี้ก็ยังคงต้องการงบประมาณเพิ่มอีกเป็นจำนวนประมาณ 5 หมื่นล้านเยน โดยรัฐบาลมีแผนจะของบประมาณเพื่อสนับสนุนในส่วนดังกล่าวเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวน 9.4 หมื่นล้านเยนในการประชุมพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมงบประมาณประจาปี 2554 ครั้งที่ 1 และหากยังไม่เพียงพอก็อาจจะต้องพิจารณาของบประมาณเพิ่มเติมอีกครั้งในการประชุมครั้งที่ 2 ต่อไป
กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีมูลค่า 1.6410 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือนเนื่องจากการเกินดุลรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่การเกินดุลการค้าลดลง
ยอดการเกินดุลการค้าและบริการมีมูลค่า 686.4 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการเกินดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน
ส่วนยอดการเกินดุลการค้ามีมูลค่า 723.3 พันล้านเยน โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 มีมูลค่า 5,350.6 พันล้านเยน เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 15 เดือนแล้ว ขณะเดียวกันการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 มีมูลค่า 4,627.3 พันล้านเยน เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 14 เดือนแล้ว โดยราคาน้ำมันดิบและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ส่วนการเกินดุลรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากลงทุนต่างประเทศอยู่ที่ 1.1379 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 จากระยะเดียวกันปีก่อนหน้า รายละเอียดตามตารางที่แนบ
ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2554
(Balance of Payments)
หน่วย: พันล้านเยน
รายการ กุมภาพันธ์ 2554 กุมภาพันธ์ 2553 1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance) 1,641.0 1,593.3 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (3.0) (40.4) 1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance) 686.4 712.3 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-3.6) (927.6) 1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance) 723.3 785.3 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-7.9) (298.8) การส่งออก (Exports) 5,350.6 4,848.3 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (9.7) (47.7) การนำเข้า (Imports) (47.7) 4,093.0 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (13.1) (31.8) 1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance) -36.9 -73.0 1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income) 1,137.9 961.9 1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers) -183.2 -80.9 2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance) -1,011.3 -1,542.0 2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance) -965.5 -1,518.5 การลงทุนโดยตรง (Direct Investment) -597.8 -1,124.8 การลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) 694.6 -1,297.0 การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives) -208.7 113.1 การลงทุนอื่นๆ (Other investments) -853.7 790.3 2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance) -45.8 -23.5 3. ยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets) 63.1 -29.7 ที่มา: กระทรวงการคลังญี่ปุ่น สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th