Executive Summary
Indicators this week
- การจ้างงานเดือน ก.พ. 54 อยู่ที่ 37.6 ล้านคน ขณะที่อัตราการว่างงานเดือน ก.พ. 54 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ.54 มีจำ นวนทั้งสิ้น 4,257.4พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.63 ของ GDP
- รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนมี.ค.54 มีจำนวนทั้งสิ้น 132.3 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.4
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน มี.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมหดตัวร้อยละ -21.2
- นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน มี.ค. 54 มีจำนวน 1.76 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 22.2
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนมี.ค. 54 ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 80.3 ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 28.5
- มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าในเดือน มี.ค. 54 อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.75
- GDP จีนไตรมาส 1 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 9.7
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่นเดือน มี.ค. 54 อยู่ที่ระดับ -38.6
Indicators next week
Indicators Forecast Previous Mar: MPI (%yoy) -7.8 -2.9
- โดยได้รับปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เป็นสำคัญ
Economic Indicators: This Week
- การจ้างงานเดือน ก.พ. 54 อยู่ที่ 37.6 ล้านคน ลดลงประมาณ 4.8 หมื่นคนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวลงร้อยละ -0.1 โดยการจ้างงานภาคเกษตรมีจำนวน 12.9 ล้านคน เพิ่มขึ้น 5.2 แสนคน เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรบางชนิด ขณะที่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 8.4
ล้านคน ลดลง 3.3 หมื่นคน สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนก.พ.54 ที่ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 59.5 ของกำลังการผลิตรวม และการจ้างงานภาคบริการมีจำนวน 16 .2 ล้านคน ลดลด 2.1 แสนคน จากสาขาที่พักแรม/บริการด้านอาหาร สาขาการขายส่ง ขายปลีก และสาขาการซ่อมยานยนต์ ขณะที่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า การจ้างงานลดลงจากเดือนก่อนหน้าจำนวน 1.1 แสนคนจากการจ้างงานภาคการเกษตรที่ลดลงตามปัญหาอุทกภัยในบางพื้นที่ ขณะที่อัตราการว่างงานเดือนก.พ. 54 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวมลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.0 โดยมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 2.7 แสนคน เป็นผู้ว่างงานในภาคบริการ 9.5 หมื่นคน ภาคอุตสาหกรรม 6.0 หมื่นคน ภาคการเกษตร3.6 หมื่นคน และผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 7.7 หมื่นคน
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ.54 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,257.4พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 5.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.63 ของ
GDP ทั้งนี้ การลดลงสุทธิของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)โดยลดลงสุทธิ 7.9 และ 1.4 พันล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นสุทธิ 3.7 พันล้านบาท สะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยมีความมั่นคง เนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
- รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน มี.ค.54 มี จำนวนทั้งสิ้น 132.3 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.4 และสูงกว่าประมาณการ 15.9 พันล้านบาทหรือร้อยละ 13.7 โดยภาษีที่สำคัญมาจากภาษีฐานการบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่ภาษีฐานรายได้ (ผลรวมของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ขยายตัวร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สะท้อนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการใช้จ่ายภายในประเทศและรายได้ประชากรทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 54 รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) มีจำนวนทั้งสิ้น 768.7 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.8 และสูงกว่าประมาณการ 98.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 14.3
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน มี.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ
10.1 โดยได้รับปัจจัยจากกำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 31.8 ในเดือนก.พ. 54 และอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม ในเดือน ก.พ. 54 ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ภาษีมูลค่า ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 10.5บ่งชี้ว่าการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวในเกณฑ์ดี และจะเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน มี.ค. 54 หดตัวร้อยละ -21.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 53.6 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกลดลงร้อยละ -8.3 จากเดือนก่อนหน้า โดยการหดตัวดังกล่าว เป็นผลมาจากปัจจัยฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการเร่งการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่สิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือน มี.ค. 53 ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปี 54 ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมขยายตัวร้อยละ 14.7
- ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 ทำให้ไตรมาส 1 ของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.4 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก จะขยายตัวร้อยละ 3.4 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนถึงการลงทุนในหมวดการก่อสร้างที่ขยายตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 102.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 108.2 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยดัชนีที่ปรับลดลง มีสาเหตุมาจากปัญหาอุทกภัยในภาคใต้ที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่องประกอบกับต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นทั้งจากอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันอย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ยังคงอยู่ในระดับที่มากกว่า 100 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการยังมีความเชื่อมั่นในระดับที่ดีอยู่ สำ หรับดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน ปรับลดลงมาอยู่ในระดับ 108.0 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 118.1 เนื่องจากผู้ประกอบการคาดการณ์ว่า ยอดคำ สั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการจะปรับตัวลดลง
- นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน มี.ค. 54 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีจำนวน 1.76 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 22.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศ ยกเว้นกลุ่มตะวันออกกลางเนื่องจากปัญหาการเมืองภายใน ส่งผลให้ไตรมาส 1 ปี 54 มีจำ นวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 5.36 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 15.0 ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดในวันที่ 1 - 18 เม.ย. 54 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 จากด่านทั้งหมด จำนวน 6.09 แสนคน ขยายตัวในดับสูงที่ร้อยละ 33.5 ต่อปี
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มี.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 71.0 เป็นการปรับลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยมีปัจจัยกดดันได้แก่ 1) ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้น ตามราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น และ 2) สถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งสึนามิในญี่ปุ่นและปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ส่งผลให้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 71.9
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนมี.ค. 54 ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 80.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อย
ละ 49.6 โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ 2) ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น และ 3) ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ขยายตัวร้อยละ 60.3 สะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนยังขยายตัวในระดับแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม คาดว่าปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้จะมีผลกระทบในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 54 เป็นต้นไป
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 28.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 37.6 ซึ่งถือได้ว่ายังขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อนโดยได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 31.7 สะท้อนถึงการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 1ปี 54 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
- มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน มี.ค. 54 อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 21,259 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 30.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 31.0 และหากหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว จะขยายตัวร้อยละ 2.9 จากเดือนก่อนหน้า ผลจากการขยายตัวในหมวดสินค้าสำคัญและตลาดหลัก ทำให้ในไตรมาส 1 ปี 54 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 28.3 ในขณะที่การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน มี.ค. 54 อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 19,473 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 28.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 22.5 หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะขยายตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงขยายตัวในระดับสูงแต่ชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 46.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่การนำเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 34.6 17.5 และ 28.9 ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาส 1 ปี 54 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 28.0 ทั้งนี้มูลค่าส่งออกสินค้าที่สูงกว่ามูลค่านำเข้า ทำให้ดุลการค้าเดือน มี.ค. 54 และไตรมาส 1 ปี 54 เกินดุล 1.8 และ 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ
- ในวันที่ 20 เม.ย. 54 คณะกรรมการนโยบายการเงิน ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 6 นับตั้งแต่เดือน ก.ค.53 โดยได้ประกาศปรับ
ขึ้นจากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.75 จากแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากอุปสงค์ที่ขยายตัวได้ดี ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง
Economic Indicators: Next Week
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มี.ค.54 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ -7.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องจากเดือน ก.พ. 54 ที่หดตัวร้อยละ -2.9 โดยได้รับปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เป็นสำคัญ
Global Economic Indicators: This Week
Eurozone: mixed signal
- ดุลการค้าในเดือน ก.พ. 54 ขาดดุล -1.5 พันล้านยูโร จากการนำเข้าที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 26 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกขยายตัวในอัตราที่ชะลอกว่าการนำเข้าที่ร้อยละ 23 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์ และการขนส่ง ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม(เบื้องต้น) เดือน เม.ย. 54 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 57.8 จากภาคการบริการ และภาคการผลิตที่ปรับตัวดีขึ้น
USA: improving economic trend
- อัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร และราคาน้ำมันในตลาดโลก ผลผลิตภาคอุสาหกรรมในเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ ยอดสร้างบ้านใหม่เดือน มี.ค. 54 และใบอนุญาตก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 7.2 และ 11.2 จากเดือนก่อนหน้า ตามลำดับ สะท้อนภาคการผลิต และก่อสร้างที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง
Singapore: worsening economic trend
- ยอดค้าปลีกเดือน มี.ค. 54 หดตัวร้อยละ -3.6 จากเดือนก่อน หรือหดตัวร้อยละ -12.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากยอดขายรถยนต์ และสินค้าอุปโภคบริโภคที่ลดลงอย่างรวดเร็ว สะท้อนภาคการบริโภคที่ค่อนข้างเปราะบาง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากระดับราคาที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในช่วงดังกล่าว
China: improving economic trend
- GDP ไตรมาส 1 ปี 54 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 5.4 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 32 เดือน ในขณะที่การลงทุนในประเทศและจากต่างประเทศยังคงขยายตัวได้ดี สะท้อนจากการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในไตรมาส 1 ปี 54 ที่ขยายตัวร้อยละ 29.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรืออยู่ที่ 30.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกในเดือนมี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 17.4 สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง
Japan: worsening economic trend
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มี.ค. 54 อยู่ที่ระดับ -38.6 จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและ สึนามีที่เกิดขึ้น อีกทั้งปัญหาการรั่วไหลของนิวเคลียร์ ขณะที่การส่งออกเดือน มี.ค. 54 หดตัวร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ที่ร้อยละ -1.5 แ ละการนำ เข้าเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 11.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน บ่งชี้ว่าในระยะสั้นเศรษฐกิจยังคงเปราะบาง ภายหลังปัญหาภัยพิบัติดังกล่าว
Hong Kong: improving economic trend
- อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 54 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของกำลังแรงงานรวม สะท้อนภาคการจ้างงานที่ฟื้นตัวได้ดีตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ
Weekly Financial Indicators
- ตลาดหลักทรัพย์ของไทยยังมีการซื้อขายกันอย่างคึกคัก โดยในสัปดาห์นี้มีมูลค่าการซื้อขายเกือบ 2 แสนล้านบาท และดัชนีตลาดหลักทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นและทำสถิติเกิน 1,100 จุดในวันที่ 20 เม.ย. 54 โดยได้รับแรงซื้อมาจากนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่องเป็นหลัก ตลาดพันธบัตรของไทยมีการชะลอการซื้อขายเพื่อรอผลการประชุมของ กนง.ที่มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึงแม้ว่าจะมีการคาดการณ์ไว้แล้วก็ตาม ทั้งนี้ ความผันผวนในตลาดการเงินโลกทั้งจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ประเด็นการออกพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ใกล้จะเต็มวงเงินจนทำให้บริษัทจัดอันดับความเสี่ยง S&P ประกาศลดระดับแนวโน้มของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็น“เชิงลบ” ตลอดจนผลกระทบจากแผ่นดินไหวและการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีในญี่ปุ่นรวมทั้งสถานการณ์ความไม่สงบในแอฟริกาและตะวันออกกลาง ทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะตลาดทุนในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งตลาดทุนไทย
- ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.70 เมื่อเปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลของประเทศคู่ค้าหลักอื่นๆ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปีพบว่า ค่าเงินบาทแข็งค่า ขึ้น ที่ร้อยละ 0.53 ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.05 อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปีพบว่าอ่อนค่าลงร้อยละ 2.01
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th