Executive Summary
ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ในเดือน มี.ค. 54 เบิกจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 170.9 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนมี.ค. 54 ขาดดุลจำนวน -37.9 พันล้านบาท
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 24.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 18.2
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน มี.ค.54 หดตัวร้อยละ -6.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเดือน มี.ค. 54 หดตัวร้อยละ -15.3 จากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ S&P ปรับลดแนวโน้มเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเป็น “Negative”
ตัวเลข GDP สหรัฐฯ (เบื้องต้น) ไตรมาส 1 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน เม.ย. 54 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ระดับ 65.4
GDP เกาหลีใต้ ไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
Indicators Forecast Previous Apr: Headline inflation (%yoy) 3.2 3.1
- จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าในหมวดเนื้อสัตว์โดยเฉพาะราคาเนื้อสุกร ที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามต้นทุนหน้าฟาร์มที่สูงขึ้น ประกอบกับราคาใน
หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากไข่ไก่มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการอีกทั้งมติ ครม. มีการปรับราคาจำหน่ายนมสดพร้อมดื่มให้สูงขึ้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย. 54 ที่ผ่านมา
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน มี.ค. 54 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 170.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 54 เบิกจ่ายได้ทั้งสินจำนวน 560.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.1 ทั้งนี้ในเดือน มี.ค. 54 การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีเบิกจ่ายได้จำนวน 157.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 7.6 จากกรอบวงเงิน 2.07 ล้านล้านบาท ในขณะที่รายจ่ายประจำเบิกจ่ายได้ 141.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 17.8 และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จำนวน 15.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 61.7 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สำคัญในเดือน มี.ค. 54 ได้แก่ เงินอุดหนุนกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 23.3 พันล้านบาท รายจ่ายงบชำ ระหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจำนวน 22.1 พันล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 9.9 พันล้านบาท และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 6.5 พันล้านบาท นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ วันที่ 22 เม.ย. 54 สามารถเบิกจ่ายสะสมได้ทั้งสิ้นจำนวน 274.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 78.5 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มี.ค. 54 พบว่าดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -37.9 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -42.0 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ขาดดุลจำนวน -79.9 พันล้านบาท และรัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 24.5 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินขาดดุลจำนวน -55.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 54 งบประมาณขาดดุลจำนวน -171.2 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -88.5 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้)จำนวน -259.6 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมี.ค. 54 มีจำนวน 114.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ การขาดดุลดังกล่าวสะท้อนถึงบทบาทของนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 24.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลเป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าว ยางพารา และอ้อยโรงงาน เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำเมื่อปีที่แล้ว ที่ผลผลิตภาคการเกษตรส่วนใหญ่ ประสบปัญหาโรคระบาดและภัยแล้ง ประกอบกับราคาสินค้าที่ยังคงทรงตัวในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ค่อนข้างทรงตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวปีก่อน ตามการขยายตัวของผลผลิตข้าวและยางพาราเป็นสำคัญ
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.1 ซึ่งแม้ว่าจะเป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลง แต่ถือได้ว่ายังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะยางพาราและพืชน้ำ มัน (มันสำ ปะหลังและปาล์มน้ำ มัน) เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น จากอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นในขณะที่อุปทานค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยประสบปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน ทั้งนี้ ดัชนีราคาสินค้าเกษตร ในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวปีก่อน และส่งผลให้รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (Real Farm Income) ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 36.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะในภาคชนบท
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มี.ค.54 หดตัวร้อยละ -6.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องจากเดือน ก.พ.54 ที่หดตัวร้อยละ -3.0 โดยได้รับปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เครื่องแต่งกายและปิโตรเลียมที่มีการผลิตลดลง โดยอุตสาหหกรรมเครื่องแต่งกายที่มีสาเหตุมาจากราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น และในส่วนของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์มาจากยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง และส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 54 หดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ -2.1 อย่างไรก็ตามบางอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ แอร์ ตู้เย็นพัดลม สอดคล้องกับการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน มี.ค.54 หดตัวเล็กน้อยร้อยละ -0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.4 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน มี.ค. 54อยู่ที่ร้อยละ 66.0 ของกำลังการผลิตรวม ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อย 59.5 เนื่องจากจำนวนวันทำงานในเดือน มี.ค.54 ที่มากกว่าเดือน ก.พ. 54
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน เม.ย. 54 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.1 ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะขยายตัวร้อยละ 0.5 (%mom) สาเหตุสำคัญจากดัชนีราคาสินค้าในหมวดเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะราคาเนื้อสุกร ที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามต้นทุนหน้าฟาร์มที่สูงขึ้น ประกอบกับราคาในหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมมีราคาปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากไข่ไก่มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการอีกทั้งมติครม. มีการปรับราคาจำหน่ายนมสดพร้อมดื่มให้สูงขึ้นในขนาดกล่อง/ขวด/แกลลอนละ 0.25 - 8.50 บาทตามภาระต้นทุนน้ำนมดิบที่สูงขึ้น ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย. 54 ที่ผ่านมา
Global Economic Indicators: This Week
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน เม.ย. 54 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 65.4 จากสัญญาณที่ดีขึ้นในภาคการจ้างงานและสถานการณ์ตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น ยอดจำหน่ายบ้านใหม่ (New Home Sales) เดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 11.1 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ยอดอนุมัติสร้างบ้านใหม่ (Building Permits) เดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 9.6 จากเดือนก่อนหน้า สำหรับราคาบ้าน (CaseShiller 20 City) เดือน ก.พ.54 หดตัวร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อนหน้าบ่งชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ยอดซื้อสินค้าคงทนเดือน มี.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากเดือนก่อนหน้าในขณะที่ตัวเลข GDP เบื้องต้นไตรมาส 1 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหรือร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า
- โปรตุเกสเป็นประเทศที่ 3 ต่อจากกรีซและไอร์แลนด์ที่เข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF โดยคาดว่าจะมีวงเงินประมาณ 8 หมื่นล้านยูโร ทั้งนี้ หนี้สาธารณะของโปรตุเกสในปี 2010 อยู่ที่ร้อยละ 9.1 ของ GDP คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรม (Industrial New Orders) เดือน ก.พ.54 ขยายตัวชะลอลงเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า
- ยอดค้าปลีกเดือน มี.ค. 54 ลดลงต่ำสุดในรอบ 13 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 8.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน S&P ปรับลดแนวโน้มเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเป็น “Negative” จากความกังวลต่อหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. 54 หดตัวร้อยละ -15.3 จากเดือนก่อนหน้า ประกอบกับรายจ่ายภาคครัวเรือนในเดือนมี.ค. 54 หดตัวร้อยละ -8.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนผลกระทบจากสึนามิ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. 54 ไม่ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานหดตัวที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไตรมาสแรกปี 2554 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (%qoq_sa) เนื่องจากภาคการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนอุปสงค์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากราคาหมวดการขนส่ง บ้านและอาหารที่เพิ่มขึ้น สะท้อนแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- การส่งออกเดือน ก.พ. 54 ขยายตัวร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 11.7 โดยเป็นผลมาจากการหดตัวของสินค้าส่งออกหลักอย่างอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ในขณะที่การนำเข้าเดือน ก.พ.54 ขยายตัวร้อยละ 20.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าส่งผลให้เดือน ก.พ. 54 ขาดดุลการค้า 823 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสแรกปี 54 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ร้อยละ 3.3 จากสินค้าในหมวดอาหารและเชื้อเพลิงเป็นสำคัญสะท้อนถึงแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
- ดัชนี SET อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง หลังจากS&P’s ประกาศปรับลด Outlook ของญี่ปุ่นจาก “มีเสถียรภาพ” มาเป็น “เชิงลบ”ตลอดจนตัวเลขทางเศรษฐกิจในภูมิภาคมีแนวโน้มดี ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นมูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ยังคงอยู่ในระดับสูงและเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆในช่วงระดับ 1,100 จุด ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายอย่างเบาบาง โดยการซื้อขายส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายตราสารระยะสั้น เนื่องจากการประกาศคาดการณ์เงินเฟ้อของกนง. ทำให้อัตราตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ทิศทางการสิ้นสุดมาตรการ QE2 ของสหรัฐฯ ยังไม่ส่งผลต่ออัตราตอบแทนธนบัตรอย่างมีนัยสำคัญ
- ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนที่อยู่ในกรอบแคบๆ โดยอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ และกลับมาปิดที่ระดับ 29.92 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 28 เม.ย. 54 สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค จากเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เข้ามาในตลาดหลักทรัพย์และตลาดราสารหนี้ไทยเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ -0.57จากการที่ค่าเงินคู่ค้าหลักแข็งค่าในอัตราที่สูงกว่า
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th