รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ - เมษายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 6, 2011 10:04 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ขยายตัวจากไตรมาสก่อนที่อัตราร้อยละ 3.1 ปรับแก้ไขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ครั้งก่อนร้อยละ 0.3 โดยได้รับปัจจัยทางบวกจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค การส่งออก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั้งที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัยและเพื่อการอยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการนำเข้าที่ลดลง
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • ดัชนีทางการผลิตและการใช้กาลังการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือนมีนาคม 2554
  • ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคล (PCE) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 แม้ว่าจะได้รับปัจจัยทางลบจากหลายด้าน ในขณะที่ยอดรายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (DPI) ปรับลดลงร้อยละ 0.1
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อน ในขณะที่ดัชนีที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.2 ต่อปี
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม 2554 ปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.8 โดยมีประชากรได้รับการจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) เพิ่มขึ้น 216,000 คน
  • สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศลดลงเล็กน้อยในเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ระดับ 45.8 ล้านเหรียญ สรอ.
  • ในเดือนเมษายน 2554 ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลยูโร เงินปอนด์ เช่นเดียวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทที่ปรับลงมาอยู่ที่ระดับต่ากว่า 30 THB/USD
ภาคการเงินและภาคการคลัง
  • รัฐสภาสหรัฐฯ ลงมติผ่านงบประมาณสาหรับปี 2554 หลังจากที่มีการขยายการพิจารณาไปหลายครั้งเนื่องจากไม่สามารถหาข้อยุติในการปรับลดงบประมาณบางส่วน โดยสุดท้ายงบประมาณดังกล่าวถูกปรับลดเป็นจานวน 38.5 พันล้านเหรียญ สรอ. จากงบประมาณที่ถูกกาหนดไว้เบื้องต้น
  • พรรครีพับริกันได้เสนอร่างงบประมาณประจาปี 2555 จากพรรคตนเอง หลังจากประธานาธิบดีโอบามาได้เสนอร่างงบประมาณดังกล่าวจากพรรคเดโมเครตไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยงบประมาณของพรรครีพับริกันได้มุ่งเน้นการแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลอย่างจริงจัง
  • นายเบน เบอนันกี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ มีกาหนดการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนพร้อมทั้งตอบคาถามเกี่ยวกับผลการดาเนินงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนเมษายน
ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 2553

ค่า GDP ของไตรมาสที่ 4 ปรับแก้ไขเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.1 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (GDP) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ขยายตัวที่ ร้อยละ 3.1 เปรียบเทียบกับอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ที่ร้อยละ 2.6 ซึ่งปัจจัยบวกที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ประกอบไปด้วย (1) ปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 โดยเฉพาะด้านสินค้าคงทนที่ขยายตัวร้อยละ 21.1 (2) ปริมาณการส่งออกที่ขยายตัว ร้อยละ 8.6 (3) ปริมาณการนาเข้าที่ชะลอตัวร้อยละ 12.6 (4) ปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัยที่ขยายตัวร้อยละ 7.7 และ (5) ปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยที่ขยายตัวร้อยละ 3.3

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในเดือนมีนาคม 2554

ในเดือนมีนาคม 2554 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อน หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยส่งผลให้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา (มี.ค. 53 — มี.ค. 54) ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ขยายตัวด้วยอัตรารวมร้อยละ 6.0 ต่อปี ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวได้รับปัจจัยทางบวกสาคัญจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการผลิตทางอุตสาหกรรม

อัตราการใช้กาลังการผลิต (Capacity Utilization) ของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 77.4 ของกาลังการผลิตทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งต่ากว่าอัตราเฉลี่ยของการใช้กาลังการผลิตในระหว่างปี 2515-2553 อยู่ร้อยละ 3.0 (ค่าเฉลี่ยของปี 2515-2553 คิดเป็นร้อยละ 80.4)

การใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าจะได้รับปัจจัยทางลบจากหลายด้าน

ในเดือนกุมภาพันธ์ ภาพรวมด้านรายได้ของประชากรสหรัฐฯ มีการชะลอตัวลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยรายได้ส่วนบุคคลที่สามารถนาไปใช้ได้จริง (Real-DPI) ที่ปรับลดลงร้อยละ 0.1 ในช่วงดังกล่าว ส่วนภาพรวมด้านการใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าในเดือนกุมภาพันธ์ สหรัฐฯ จะได้รับปัจจัยทางลบที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการใช้จ่ายเพื่อบริโภคอุปโภคจาก (1) ราคาอาหารและน้ามันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (2) อัตราการว่างงานที่สูง (3) ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ชะลอตัวลงเพิ่มเติม ตลอดจน (4) ผลกระทบจากเหตุการณ์ในต่างประเทศ เช่น ความไม่สงบในเขตตะวันออกกลาง และการเกิดภัยทางธรรมชาติในประเทศญี่ปุ่น โดยยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคที่แท้จริง (Real-PCE) ในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวที่ดีที่สุดในรอบ 4 เดือน

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนมีนาคม 2554 มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี

อัตราการว่างงานปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.8

อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม 2554 ปรับลดลงร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.8 โดยสหรัฐฯ มีประชากรที่อยู่ในวัยทางาน (Labor force) ทั้งหมด 153.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64.2 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ในขณะที่สหรัฐฯ มีจานวนประชากรได้รับจ้างงานเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 58.5 ของประชากรในวัยทางานทั้งหมด ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีประชากรว่างงานทั้งหมด 13.5 ล้านคน

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา การจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 216,000 งาน โดยมาจากการขยายตัวของการจ้างงานด้านบริการเกี่ยวกับวิชาชีพ (Professional service) ด้านสาธารณสุข ธุรกิจเกี่ยวกับความบันเทิง การทาเหมืองแร่ เช่นเดียวกับการจ้างงานด้านอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

มลรัฐที่มีอัตราการว่างงานสูงสุดในสหรัฐฯ ได้แก่ รัฐเนวาดา (ร้อยละ 13.2) รัฐแคลิฟอร์เนีย (ร้อยละ 12.0) และรัฐฟลอริด้า (ร้อยละ 11.1) ตามลำดับ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 45.8 พันล้านเหรียญ สรอ.

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 สหรัฐฯ ยังคงขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ปริมาณการขาดดุลได้ปรับลดลง 1.2 พันล้านเหรียญ สรอ. หรือร้อยละ 2.6 จากเดือนมกราคมที่ระดับ 47.0 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ระดับ 45.8 พันล้านเหรียญสรอ. สืบเนื่องจากมูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการ (Import) ที่ชะลอตัวในอัตราที่สูงกว่าการชะลอตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (Export) ในช่วงเดือนที่ผ่านมา

มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการปรับลดลง 2.4 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 165.1 พันล้านเหรียญ สรอ. ในขณะที่มูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการปรับลดลง 3.6 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 210.9 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนกุมภาพันธ์

ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้า 3 ประเทศหลักที่สหรัฐฯ ประสบภาวะขาดดุลการค้าในด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมมูลค่าการบริการ) ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป และเม็กซิโก โดยในเดือนกุมภาพันธ์ มูลค่าการขาดดุลกับจีนปรับลดลง ในขณะที่มูลค่าการขาดดุลสหภาพยุโรปและเม็กซิโกปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

นโยบายทางการคลังและฐานะการคลัง

พรรครีพับริกันได้เสนอร่างงบประมาณปี 2555 ซึ่งมุ่งเน้นการปรับลดปริมาณขาดดุลงบประมาณ

หลังจากที่ประธานาธิบดีโอบามาได้เสนอร่างงบประมาณเบื้องต้นจากฝ่ายรัฐบาลไปในเดือนกุมภาพันธ์ พรรครีพับริกันนาโดย ส.ส. Paul Ryan. จากรัฐวิสคอนซิน ได้เสนอร่างงบประมาณจากพรรคตนเอง ซึ่งได้ผ่านการลงมติเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา

ร่างงบประมาณปี 2555 ของพรรครีพับริกันมีความแตกต่างจากของพรรคเดโมเครต ดังนี้

1. พรรครีพับริกันได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดปริมาณขาดดุลงบประมาณเป็นจานวน 4.4 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ภายในระยะเวลา 10 ปี โดยจะมาจากการลดปริมาณการใช้จ่ายต่างๆ จานวน 5.8 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งบางส่วนจะถูกหักล้างจากการปรับลดภาษีรายได้ส่วนบุคคลและจากภาคธุรกิจ ในขณะที่ร่างงบประมาณของพรรคเดโมเครตได้ตั้งเป้าหมายการปรับลดปริมาณขาดดุลงบประมาณเป็นจานวน 4 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ภายในระยะเวลา 12 ปี โดยต้องการจะปรับลดงบประมาณรายจ่ายในปริมาณที่ต่ากว่าแผนของพรรครีพับริกันแต่จะเพิ่มอัตราการเก็บภาษีรายได้ส่วนบุคคลสาหรับประชาชนที่มีรายได้เกินกว่า 250,000 เหรียญต่อปี

2. พรรคเดโมเครตมีแผนจะคงระดับงบประมาณการใช้จ่ายภายในประเทศ (Domestic Discretionary Spending) เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งถูกคาดการณ์ว่าจะช่วยปรับลดปริมาณการขาดดุลงบประมาณได้กว่า 400 พันล้านเหรียญ สรอ. แต่ยังคงต้องการเพิ่มงบประมาณในส่วนการพัฒนาการศึกษา การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยพลังงานทดแทน (Alternative Energy) ตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโอบามา ส่วนพรรครีพับริกันต้องการปรับลดงบประมาณในส่วนดังกล่าวให้อยู่ในระดับที่ต่ากว่าระดับของพรรคเดโมเครตได้เสนอเบื้องต้น โดยต้องการปรับลดงบประมาณการใช้จ่ายภายในประเทศให้อยู่ในระดับเดียวกับเมื่อปี 2551

3. พรรครีพับริกันและพรรคเดโมเครตได้เสนอแผนสาหรับงบประมาณทางทหารที่คล้ายคลึงกันโดยมีเป้าหมายการปรับลดงบประมาณดังกล่าวที่ 400 พันล้านเหรียญ สรอ. ภายในระยะเวลา 12 ปี

4. พรรครีพับริกันได้เสนอแผนการปรับปรุงโครงการประกันสุขภาพของรัฐบาลทั้งสาหรับผู้สูงอายุ (Medicare) และสาหรับผู้มีรายได้ต่า (Medicaid) โดยโครงการ Medicare ผู้สูงอายุจะได้รับเงินช่วยเหลือตามฐานรายได้และสุขภาพเพื่อนาไปซื้อประกันสุขภาพจากภาคเอกชนแทนที่จะได้การประกันสุขภาพโดยตรงจากรัฐบาล ส่วนโครงการ Medicaid รัฐบาลส่วนกลางจะจ่ายเงินก้อนกับรัฐบาลท้องถิ่นไปบริหารเพื่อช่วยเหลือการประกันสุขภาพสาหรับผู้มีรายได้ต่าในท้องที่ ซึ่งการปรับปรุงดังกล่าวคาดว่าจะสามารถลดปริมาณการขาดดุลงบประมาณได้เป็นจานวน 771 พันล้านเหรียญ สรอ. ภายในระยะเวลา 10 ปี ในขณะที่พรรคเดโมเครตเสนอการปรับปรุง Medicare และ Medicaid ให้มีการดาเนินการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามแนวทางกฎหมาย Health Care Reform ที่ผ่านเป็นกฎหมายตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 โดยคาดว่าจะสามารถลดปริมาณการขาดดุลงบประมาณได้จานวน 340 พันล้านเหรียญ สรอ. ภายในระยะเวลา 10 ปี

5. พรรครีพับริกันไม่ได้เสนอการเปลี่ยนแปลงใดๆ สาหรับโครงการประกันสังคมของรัฐบาล (Social Security) ในขณะที่พรรคเดโมเครตมีความต้องการที่จะปรับปรุงโครงการดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามพรรคเดโมเครตยังไม่มีการชี้แจงรายละเอียดในประเด็นดังกล่าว

การพิจารณางบประมาณประจาปี 2555 เป็นที่น่าติดตามว่าจะออกมาในทิศทางใด เนื่องจากทั้งสองพรรคต่างได้รับการสนับสนุนจากสภาที่พรรคตนเองมีเสียงข้างมากอยู่ (พรรครีพับริกันมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ในขณะที่พรรคเดโมเครตมีเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐฯ ) ทั้งนี้ รัฐสภาสหรัฐฯ มีกาหนดพิจารณางบประมาณดังกล่าวในเดือนพฤษภาคม 2554 พร้อมทั้งการพิจารณาปรับเพิ่มเพดานการก่อหนี้สาธารณะ (US Public Debt Limit) เพื่อป้องกันการผิดนัดชาระหนี้ของพันธบัตรรัฐบาล (Default) ซึ่งจะส่งผลเสียอย่างหนักต่อสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโร และเงินเยน

ภาพรวมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในเดือนเมษายน 2554 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีความเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันไปเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างๆ โดยค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินปอนด์ ในขณะที่มีค่าคงตัวเมื่อเทียบกับเงินหยวน ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยนแข็งค่าขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายนก่อนที่อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับเดิมในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ทั้งนี้ อัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 25 เมษายน 2554 อยู่ที่ 1.4580 USD/EUR, 1.6498 USD/GBP, 0.0122 USD/JPY, และ 0.1531 USD/CNY

เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเงินบาทอ่อนค่าลงในเดือนเมษายน โดยค่าเงินดอลลาร์ ณ วันที่ 25 เมษายน 2554 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 29.9500 THB/USD ลดลงจาก 30.2792 THB/USD เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554

ประเด็นทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่สาคัญ

เมื่อวันที่ 15 เมษายน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามผ่านงบประมาณประจาปี 2554 หลังจากมีการขยายเวลาการพิจารณาระยะสั้นมาหลายครั้ง ซึ่งงบประมาณฉบับดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาสหรัฐฯ และจะมีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2554 ทั้งนี้งบประมาณประจาปี 2554 ถูกปรับลดเป็นจานวน 38.5 พันล้านเหรียญ สรอ. จากการกาหนดงบประมาณเบื้องต้น

นายเบน เบอนันกี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ มีกาหนดการที่จะจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในวันที่ 27 เมษายน 2554 พร้อมทั้งตอบคาถามเกี่ยวกับผลการดาเนินงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงปีที่ผ่านมา และการประเมินผลของการประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณครั้งที่ 2 หรือ QE 2 ซึ่งนับเป็นการจัดแถลงข่าวในลักษณะนี้เป็นครั้งแรกของธนาคารกลางสหรัฐฯ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ