รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 9 - 12 พฤษภาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 18, 2011 12:26 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน เม.ย.54 มีจำนวน 1.50 ล้านคน หรือขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 35.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 54 อยู่ที่ 2.2 ล้านล้านบาท
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวในอัตราชะลอลงร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศ รษฐกิจโดยรวมในเดือน เม.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 70.5
  • การส่งออกและนำเข้าของประเทศจีนในเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 29.9 และร้อยละ 21.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
  • อัตราการว่างงานสหรัฐฯในเดือน เม.ย. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 9.0 ของกำลังแรงงานรวม
  • อัตราการว่างงานเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ3.6 ของกำลังแรงงานรวม
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมมาเลเซียในเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Apr: TISI (Level)                     98.2                102.3
  • โดยมีสาเหตุมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีราคาผู้ผลิตใน

หมวดอุตสาหกรรมที่ปรับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันในเดือนเม.ย.ที่ร้อยละ 7.7

Economic Indicators: This Week
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยมีจำ นวน 1.50 ล้านคน ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 35.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตกทม. อย่างไรก็ตามหากพิจารณา เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (mo-m SA) ขยาย ตัวได้ดีต่อเนืองเช่นกันร้อยละ 3.5 โดยเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะจากกลุ่มเอเชีย ได้แก่ จีน(สัดส่วนร้อยละ 7.0 ในปี 54) มาเลเซีย (12.9) และ อินเดีย (4.8) ที่ขยายตัวร้อยละ 141.6 29.4 และ 41.8 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มยุโรปมีการขยายตัวโดยเฉพาะจากรัสเซีย (4.0) ที่ขยายตัวที่ร้อยละ70.5 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยนับจากต้นปีมีจำนวนทั้งสิ้น 6.85 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 47.1 สะท้อนภาคบริการด้านการท่องเที่ยวต่างชาติมีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย
  • สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์เดือน มี.ค. 54 อยู่ที่ 2.2 ล้านล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 8.2 หมื่นล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า จากเงินฝากที่เพิ่มขึ้นในปริมาณที่มากกว่าสินเชื่อ ซึ่งหากวิเคราะห์ด้านของเงินฝากจะพบว่า เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (หักปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว)ผลจากการที่ธนาคารพาณิชย์นำผลิตภัณฑ์เงินออมพิเศษออกมาสร้างแรงจูงใจในการออมอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สินเชื่อหดตัวร้อยละ -0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากการที่สินเชื่อขยายตัวเร่งขึ้นมากในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ยอดคงค้างสินเชื่อยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวในอัตราชะลอลงร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.3เนื่องจากปัจจัยฐานสูง ประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายเดือนมี.ค. 54 โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังถือได้ว่ายังขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยได้รับปัจจัยบวกจากกำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับสูง สะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูงอีกทั้งอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน เม.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 70.5 เป็นการปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยมีปัจจัยกดดัน ได้แก่ 1) ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้น ตามราคาขายปลีกน้ำ มันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น และ 2) สถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งสึนามิในญี่ปุ่นและปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. 54 คาดว่าอยู่ที่ระดับ 98.2 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 102.3 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีที่ปรับลดลงคาดว่าจะมีสาเหตุมาจากต้นทุนการผลิต คือ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีราคาผู้ผลิตในหมวดอุตสาหกรรมที่ปรับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันในเดือนเม.ย.ที่ร้อยละ 7.7

Global Economic Indicators: This Week

China: Mixed signal
  • การส่งออกและนำเข้าเดือน เม.ย. 54 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 29.9 และร้อยละ 21.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการชะลอตัวของการส่งออกและนำเข้ากับยุโรปและญี่ปุ่นเป็นสำคัญขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน เม.ย. 54 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน สอดคล้องกับยอดค้าปลีกในเดือนเม.ย. 54 ที่ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 17.1 จากการชะลอตัวของยอดขายรถยนต์ น้ำมันและอุปกรณ์ก่อสร้างเป็นสำคัญ การลงทุนในเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 25.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการลงทุนในไต้หวันและฮ่องกงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 24.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. 54

ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 13.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน บ่งชี้สัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน

USA: Mixed signal
  • ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรเดือน เม.ย. 54 มาอยู่ที่ระดับ 244,000 ตำแหน่งงาน โดยตำแหน่งงานในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ 268,000 ตำแนห่งงาน จากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานใน ภาคบริการภาคการผลิตสินค้า และภาคค้าปลีกเป็นสำคัญ ขณะที่ตำแหน่งงานในภาคราชการกลับลดลง โดยรายได้ต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้ามาอยุ่ที่ 19.37 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมง อัตราการว่างงานในเดือน เม.ย. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 9.0 ของกำลังแรงงานรวม
Australia: improving economic trend
  • การส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการเดือน มี.ค. 54 มีมูลค่า 24.9 และ 23.5 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือขยายตัวร้อยละ 9.0 และร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1.74 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
Korea: improving economic trend
  • อัตราการว่างงานเดือน เม.ย. 54 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนอุปสงค์ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
Malaysia: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือขยายตัวร้อยละ 12.1 จากเดือนก่อนหน้า จากการผลิตในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าอุตสาหกรรมที่เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนภาคการผลิตที่ยังคงขยายตัวได้ดี
Philippines: Mixed signal
  • การส่งออกเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 52 จากสินค้าส่งออกหลักอย่างอิเล็กทรอนิคส์ที่หดตัวร้อยละ -7.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามอุปสงค์ญี่ปุ่นที่ลดลงจากภัยพิบัติสึนามิ
Taiwan: improving economic trend
  • การส่งออกเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 24.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวเร่งขึ้นของการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะ สหรัฐฯและจีน ขณะที่ การนำเข้าในเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื๋องหลังจากที่มีแรงขายสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติเพื่อทำกำไรในระยะสั้นในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนโดนในสัปดาห์นี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิกว่า 5.3 พันล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 11 พ.ค.54) ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์กลับมาแตะระดับ 1,100 จุด ในวันที่ 11 พ.ค. 54 ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายเพื่อทำกำไรช่วงสั้นๆ โดยในช่วงต้นสัปดาห์เป็นการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากจะมีการประมูลพันธบัตรชุดใหม่ที่คาดว่าจะให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่า ตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อ ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนต่างชาติเทขายเพื่อทำกำไรและเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง (liquidate) เพื่อเตรียมซื้อพันธบัตรชุดใหม่ อย่างไรก็ตามการซื้อขายที่คึกคักในตลาดหลักทรัพย์ทำให้ช่วงปลายสัปดาห์มูลค่าการซื้อขายในตลาดพันธบัตรเบาบาง
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์อ่อนค่าลงเล็กน้อยโดยปิดที่ระดับ 30.06 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 11 พ.ค. 54 สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นจากการทำกำไรในตลาดโภคภัณฑ์ และข่าวลือที่ไม่ได้รับการยืนยันเรื่องสถานะของกรีซในกลุ่มยูโรโซน ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.44 เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินของประเทศคู่ค้า

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ