รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 18-22 เมษายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 25, 2011 11:37 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. รัฐบาลประกาศเลื่อนการแปรรูป Development Bank of Japan และ SHOKO CHUKIN BANK ออกไป 3 ปี

2. รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนขึ้นอัตราภาษีการบริโภคเพื่อนาไปฟื้นฟูความเสียหายจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ

3. ญี่ปุ่น เกินดุลการค้าประจาเดือนมีนาคม 2554 ลดลงร้อยละ 78.9

-----------------------------------

1. รัฐบาลประกาศเลื่อนการแปรรูป Development Bank of Japan และ SHOKO CHUKIN BANK ออกไป 3 ปี

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2554 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่าจะเลื่อนการแปรรูป Development Bank of Japan (DBJ) และ SHOKO CHUKIN BANK ออกไป 3 ปี จากเดิมที่มีแผนจะแปรรูปโดยการขายหุ้นที่รัฐบาลถือออกไปในระหว่างปี 2560 — 2562 แต่เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 และปัญหาโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่คาดว่าจะยืดเยื้อต่อไป ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องใช้สถาบันการเงินดังกล่าวทำหน้าที่กระจายเงินช่วยเหลือเพื่อรับมือต่อสถานการณ์ดังกล่าวจึงตัดสินในที่จะเลื่อนการแปรรูปออกไปเป็นระหว่างปี 2563 — 2565 ซึ่งรัฐบาลจะนำร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องเสนอต่อสภาภายในเดือนเมษายน 2554

2. รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนขึ้นอัตราภาษีการบริโภคเพื่อนำไปฟื้นฟูความเสียหายจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ

รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่ามีแผนที่จะขึ้นอัตราภาษีการบริโภค (Consumption Tax) ประมาณร้อยละ 2- 3 ภายในเวลา 3 ปี เพื่อนารายได้มาฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งนี้ จากการคานวนของ Cabinet Office พบว่าตัวเลขความเสียหายที่ไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากปัญหาโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มีจานวนประมาณเท่ากับ 16 - 22 ล้านล้านเยน ซึ่งหากรัฐบาลปรับขึ้นอัตราภาษีการบริโภคจำนวนร้อยละ 1 จะทาให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นประมาณ 2.5 ล้านล้านเยน และหากขึ้นอัตราภาษีการบริโภคจำนวนร้อยละ 3 ติดต่อกันเป็นเวลา3 ปีรัฐบาลจะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 22.5 ล้านล้านเยน ทาให้มีงบประมาณเพียงพอต่อการฟื้นฟูดังกล่าว แต่การขึ้นอัตราภาษีการบริโภคนั้นคาดว่าจะส่งผลต่อการใช้จ่ายของประชาชนทาให้เกิดภาวะเงินฝืดมากขึ้นกว่าปัจจุบัน นอกจากนั้นยังจะทาให้ผู้ประสบภัยหรือบริษัทที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ครั้งนี้จะต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นจึงมีการพิจารณาว่าอาจจะเปลี่ยนเป็นการปรับขึ้นภาษีชนิดอื่นเช่นภาษีรายได้และภาษีนิติบุคคลเป็นต้น เนื่องจากจะสามารถยกเว้นให้กับผู้ประสบภัยหรือบริษัทที่ได้รับความเสียหายได้ แต่อย่างไรก็ตามการขึ้นภาษีทั้ง 2 ชนิดเพื่อให้เพียงพอต่องบประมาณที่ต้องการนั้นจะต้องขึ้นเป็นจานวนมากซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจประเทศโดยตรง

นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศจะนำเงินในส่วนของรายจ่ายด้านประกันสังคมพื้นฐานเป็นจานวน 2.5 ล้านล้านเยน มาทดแทนงบประมาณที่ต้องการ ทาให้ยังไม่มีความจะเป็นจะต้องเพิ่มยอดการออกพันธบัตรรัฐบาลในการประชุมพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมงบประมาณประจำปี 2554 ครั้งที่ 1 นี้ แต่อย่างไรก็ตามในระยะยาวรัฐบาลจะต้องมีการพิจารณาหาแหล่งงบประมาณเพิ่มเติมเช่นจากการขึ้นอัตราภาษี การออกพันธบัตรรัฐบาล อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3. ญี่ปุ่น เกินดุลการค้าประจำเดือนมีนาคม 2554 ลดลงร้อยละ 78.9

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่าญี่ปุ่นมียอดเกินดุลการค้าในเดือนมีนาคม 2554 มีมูลค่า 196.5 พันล้านเยน ลดลงร้อยละ 78.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า โดยยอดการส่งออกลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้าอยู่ที่ 5.8660 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 16 เดือน จากเหตุแผ่นดินไหวสึนามิและการตัดไฟที่เวียนกันไปตามพื้นที่ต่างๆ ส่งผลกระทบต่อการผลิตรถยนต์และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคประเภทสารกึ่งตัวนา ขณะที่ยอดการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้าอยู่ที่ 5.6695 ล้านล้านเยน เนื่องจากราคาน้ามันสูงขึ้น กระทรวงการคลังยังกล่าวว่าราคาน้ามันที่สูงขึ้นรวมทั้งความต้องการก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ยอดการนาเข้าจะเพิ่มขึ้นอีกต่อไป

ยอดการส่งออกรถยนต์ได้ลดลงร้อยละ 27.8 โดยบริษัทโตโยตาได้เริ่มผลิตรถยนต์แล้ว แต่สามารถผลิตรถยนต์ได้จานวนครึ่งหนึ่งของยอดการผลิตก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ ยอดการส่งออกอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคประเภทสารกึ่งนาตัวและชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคก็ลดลงร้อยละ 6.9 โดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯลดลงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน

ดุลการค้าประจำเดือนมีนาคม 2554

หน่วย: พันล้านเยน

                          ยอดการส่งออก (ร้อยละ)        ยอดการนำเข้า (ร้อยละ)         ดุลการค้า (ร้อยละ)
สหรัฐฯ                         828.7 (-3.4)                 493.3 (-6.6)             335.4 (1.6)
สหภาพยุโรป                      681.3 (4.3)                 515.9 (-3.1)            165.4 (36.6)
เอเชีย (รวมจีน)                3,379.2 (0.0)               2,592.2 (17.3)           787.0 (-32.7)
สาธารณรัฐประชาชนจีน            1,208.9 (3.8)               1,275.8 (25.0)               -66.9 (-)
รวม                         5,866.0 (-2.2)               5,669.5 (11.9)           196.5 (-78.9)
ที่มา:  กระทรวงการคลังญี่ปุ่น


          สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

          ที่มา:  Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
          Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ