รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 23 - 27 พฤษภาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 30, 2011 12:03 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • เศรษฐกิจไทย ในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือนเม.ย. 54 มีจำนวนทั้งสิ้น 127.53 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -25.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน เม.ย. 54 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 139.7 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -4.0
  • การส่งออกสินค้ารวมในเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 24.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่การนำเข้าสินค้ารวมอยู่ที่ร้อยละ 27.9
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) เดือน เม.ย. 54 หดตัวต่อเนื่องร้อยละ -7.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ผลผลิตภาคเกษตรขยายตัวในอัตราเร่งร้อยละ 33.2
  • Standard & Poor’s ปรับลดแนวโน้มเศรษฐกิจ (Outlook) ของอิตาลีจาก Stable เป็น Negative
  • GDP ประเทศฮ่องกง ไตรมาสที่ 1 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • ยอดส่งออกประเทศญี่ปุ่น ในเดือน เม.ย. 54 หดตัวร้อยละ -12.5 ขณะที่ยอดนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
May: Headline inflation (%yoy)        4.3                  4.0
  • เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ได้ส่งผลให้ระดับราคาในปีนี้ปรับสูงขึ้นมากกว่าปีก่อนหน้า โดยเฉพาะราคาสินค้าในหมวดเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้
Economic Indicators: This Week
  • เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 โดยมีสาเหตุหลักจากภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในอัตราชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากไตรมาส 4 ปี 53 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 เนื่องจากมีการลดลงของการผลิต Hard Disk Drive และโรงกลั่นน้ำมัน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ถือได้ว่ายังคงขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราการขยายตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.0 (QoQ_SA)
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน เม.ย. 54 มีจำนวนทั้งสิ้น 127.53 พันล้านบาทต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.0 เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้พิเศษจากการยึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรีจำนวน49,016 ล้านบาท ซึ่งหากหักรายการดังกล่าวออกรายได้ในเดือนเม.ย 54 จะสูงกว่าปีก่อนร้อยละ 5.3 และสูงกว่าประมาณการ 16.06 พันล้านบาทหรือร้อยละ 14.4 เป็นผลจากการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจ สำหรับภาษีฐานบริโภคขยายตัวร้อยละ 14.3 และภาษีฐานรายได้ซึ่งรวมภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 17.7 สะท้อนถึงรายได้ประชาชนที่สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.7 โดยได้รับปัจจัยบวกจากกำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 57.1 ในเดือนเม.ย. 54 และอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม ในเดือนมี.ค. 54
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 55.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -17.8 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 2.4 จากเดือนก่อนหน้า โดยการขยายตัวดังกล่าว เป็นผลมาจากปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการเร่งทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายเดือน มี.ค. 53 ที่คาดว่ามาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะสิ้นสุดลง อย่างไรก็ดี แนวโน้มาคอสังหาริมทรัพย์โดยรวมยังคงขยายตัวได้ดีเนื่องจากอุปสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน เม.ย. 54 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 139.7 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยในเดือน เม.ย. 54 การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 54 เบิกจ่ายได้จำนวน 135.1 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 6.5 จากกรอบวงเงิน 2.07 ล้านล้านบาท ขณะที่รายจ่ายประจำเบิกจ่ายได้จำนวน 120.9 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -3.9 และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จำนวน 14.2 พันล้านบาทขยายตัวร้อยละ 32.1 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สำคัญในเดือน เม.ย. 54 ได้แก่ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำ นวน 13.3 พันล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 11.1 พันล้านบาท รายจ่ายงบชำระหนี้ของสำ นักงานบริหารหนี้สาธารณะจำ นวน 9.3 พันล้านบาท และเงินอุดหนุนกระทรวงศึกษาธิการจำ นวน 5.6 พันล้านบาท นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ วันที่ 20 พ.ค. 54 สามารถเบิกจ่ายสะสมได้ทั้งสิ้นจำนวน 278.1 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 79.5 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน เม.ย. 54 พบว่าดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -37.9 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -42.0 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ขาดดุลจำนวน -79.9 พันล้านบาท และรัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 24.5 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินขาดดุลจำนวน -55.4 พันล้านบาท
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มี.ค.54 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,246.1พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 11.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.3 ของ
GDP ทั้งนี้ การลดลงสุทธิของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)โดยลดลงสุทธิ 12.1 และ 0.3 พันล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นสุทธิ 0.7 พันล้านบาท สะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยมีความมั่นคงเนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนเม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 80.3 ส่วนหนึ่งมาจากเร่งซื้อขายมากในช่วงมี.ค. 54 ซึ่งตรงกับงาน Motor Expo ประกอบกับอุปทานเริ่มตึงตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่นส่งผลให้ยอดขายรถยนต์นั่งขยายตัวในอัตราชะลอลง
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 28.5 ส่วนหนึ่งมีการเร่งซื้อขายมาแล้วในช่วงต้นปี ประกอบกับอุปทานเริ่มตึงตัวเนื่องจากเริ่มได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ปรับลดลง
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศเดือน เม.ย. 54 หดตัวร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกหดตัวร้อยละ -1.6 จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีการเร่งการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยตามอุปสงค์ที่เพิ่มมากขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวได้ดี รวมถึงมาตรการสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหมวดการก่อสร้างในเดือนเม.ย.54 ถือว่าเริ่มเข้าสู่ระดับปกติ
  • มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน เม.ย. 54 อยู่ที่ 17, 564 ล้านดอลลาร์สหรัฐขยายตัวร้อยละ 24.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 30.9 และหากหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว จะหดตัวที่ร้อยละ -4.9 จากเดือนก่อนหน้า ผลจากการหดตัวในหมวดสินค้ายานยนต์และเครื่องประดับ ในขณะที่การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน เม.ย. 54 อยู่ที่ 18,361 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 27.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 28.4 หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะหดตัวที่ร้อยละ -5.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ และสินค้าเชื้อเพลิงขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 22.6 และ 49.7 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่การนำเข้าสินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 22.4 และ 26.9 ตามลำดับ ทั้งนี้มูลค่าส่งออกสินค้าที่ต่ำกว่ามูลค่านำเข้า
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน เม.ย. 54 หดตัวต่อเนื่องร้อยละ -7.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือน มี.ค. 54 ที่หดตัวร้อยละ -6.7 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องประดับ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องแต่งกายที่ปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้นประกอบกับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ยอดการผลิตยานยนต์ลดลง
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) ในเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 33.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัว
ร้อยละ 27.5 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลเป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าว ยางพารา และอ้อยโรงงาน เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำเมื่อปีที่แล้ว ที่ผลผลิตภาคการเกษตรส่วนใหญ่ ประสบปัญหาโรคระบาด และภัยแล้ง ประกอบกับราคาสินค้าที่ยังคงทรงตัวในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 106.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 102.3 โดยดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งภาคการส่งออกและภาคการบริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับปัญหาอุทกภัยในภาคใต้ที่เริ่มคลี่คลาย อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการยังคงมีความกังวนต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นทั้งจากราคาวัตถุดิบ อัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมัน
Economic Indicators: Next Week

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค. 54 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง และปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแ ปลง ได้ส่งผลให้ระดับรา คาในปีนี้ป รับสูงขึ้นมา กกว่าปีก่อนหน้าโดยเฉพาะราคาสินค้าในหมวดเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าคาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 0.5 (%mom) เทียบกับที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: Mixed signal
  • IMF อนุมัติเงินกู้ 26 พันล้านยูโร (36.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) แก่โปรตุเกส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือร่วมกันระหว่าง EU กับ IMF หลังจากที่ EU อนุมัติเงินกู้จำนวน 78 พันล้านยูโร (110 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ให้แก่โปรตุเกสเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 54 Standard & Poor’s ปรับลดแนวโน้มเศรษฐกิจ (Outlook) ของอิตาลีจาก Stable เป็น Negative ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. 54 ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ -9.7 ยอดส่งออกและนำเข้าเดือน มี.ค. 54 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 14.7 และร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการและภาคการผลิตในเดือน พ.ค. 54 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 55.4 และ 54.9 ตามลำดับ แต่ยังคงขยายตัวดี สังเกตจากระดับดัชนีที่ยังคงเกิน 50
USA: Mixed signal
  • ยอดขายบ้านใหม่เดือน เม.ย. 54 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 7.3 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) ขณะที่ ยอดสร้างบ้านเดือน เม.ย. 54 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 5.23 แสนหลังต่อปี อันเป็นผลจากเหตุการณ์ทอร์นาโดทางใต้ของประเทศ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. 54 หดตัวร้อยละ -0.4 จากเดือนก่อนหน้า จากการผลิตรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนชิ้นส่วนจากญี่ปุ่นเป็นสำคัญ
Japan: Mixed signal
  • ยอดส่งออกเดือน เม.ย. 54 หดตัวร้อยละ -12.5 ขณะที่ยอดนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 31 ปีที่ -463.7 พันล้านเยน ธนาคารกลางประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.0 -0.1 และไม่ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติมจากระดับปัจจุบันที่มีโครงการสินเชื่อวงเงิน 30 ล้านล้านเยนและโครงการกองทุนซื้อสินทรัพย์วงเงิน 10 ล้านล้านเยน
Hong Kong: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือขยายตัวร้อยละ 2.8 จากไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ SA) โดยเป็นผลมาจากภาคการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐบาลเป็นสำคัญ
Philippines: Mixed signal
  • ยอดนำเข้าเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 21.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการนำ เข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตสารกึ่งตัวนำเป็นสำคัญส่งผลให้ดุลการค้าเดือน มี.ค. 54 ขาดดุลที่ -3.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Singapore: Mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหรรมเดือน เม.ย. 54 หดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่พ.ย. 52 ที่ร้อยละ -9.5 จากปีก่อนหน้า จากการผลิตในสาขาเวชภัณฑ์ที่หดตัว อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน เม.ย. 54 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนที่ร้อยละ 4.5 จากปัจจัยฐานสูงในปีก่อนหน้าขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 2.2 สะท้อนว่าแรงกดดันจากเงินเฟ้อยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญ แม้ว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มมีทิศทางชะลอลง
Taiwan: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหรรมเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.7 สอดคล้องกับคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกในเดือนเม.ย. 54 ที่ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 10.1จากปีก่อนหน้าจากคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าหลักที่ชะลอลงโดยเฉพาะจากจีน สหรัฐฯ และ สหภาพยุโรป สะท้อนแรงส่งจากอุปสงค์จากในและนอกประเทศที่ยังคงขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่อัตราการว่างงานเดือน เม.ย. 54 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 52 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ของกำลังแรงงานรวม จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเป็นจำนวนกว่า -4.3 พันล้านบาท (ณ 26 พ.ค. 54) หลังจากที่เงินทุนจำนวนมากไหลกลับไปยังสหรัฐฯ ตามการคาดการณ์ว่าจะไม่มีการต่ออายุมาตรการ QE2 ของสหรัฐฯ ตลอดจนความกังวลในปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงระดับ 1,060 จุด ต่ำกว่าระดับเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายอย่างเบาบาง เนื่องจากนักลงทุนต่างคาดว่า กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้าในวันที่ 1 มิ.ย. 54 จึงชะลอการซื้อขายเพื่อรอผลการประชุมที่ชัดเจน ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นเริ่มปรับขึ้นจากการคาดการณ์ดังกล่าวแล้ว โดยสัปดาห์นี้ (ณ 26 พ.ค. 54) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -363 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยแต่ยังคงเคลื่อนที่อยู่ในกรอบแคบๆ โดยปิดที่ระดับ 30.39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 26 พ.ค.54 สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค จากเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ไหลออกจากทั้งตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้ไทย ตลอดจนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย จากการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉพาะค่าเงินยูโร

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ