รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 6, 2011 09:44 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตรวม (PPI) ในเดือนพ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 6.2
  • ในวันที่ 1 มิ.ย. 2554 คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.00
  • สินเชื่อเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ที่ร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • GDP ประเทศอินเดีย ในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ GDP ประเทศฟิลิปปินส์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 4.9
  • GDP ประเทศออสเตรเลีย ในไตรมาสที่ 1 ปี 54 หดตัวร้อยละ -1.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq)
  • ดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิต (NBS Mfg PMI) ของจีน ในเดือน พ.ค. 54 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 52.0
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
May: Motorcycle Sale(%yoy)             10.0                11.2
  • เนื่องจากปัจจัยฐานสูงเมื่อปีที่แล้ว ประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือ อย่างไรก็ตามยังถือได้ว่ายังขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยได้รับปัจจัย

บวกจากกำ ลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับสูงสะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวในอัตราเร่งร้อยละ 62.9 ในเดือนเม.ย. 54 ตามราคาสินค้าเกษตรที่

ยังคงทรงตัวในระดับสูง อีกทั้งอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ

Economic Indicators: This Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน เม.ย. 54 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.0 โดยมีปัจจัยหลักมาจากราคาสินค้าในหมวดเนื้อสัตว์และอาหารสำเร็จรูปเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นรวมทั้งค่ากระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้น เนื่องจากการไฟฟ้านครหลวงมีการปรับค่า Ftสูงขึ้น 8.93 สตางค์ต่อหน่วย ตั้งแต่พ.ค.-ส.ค. 54 ในขณะที่ดัชนีราคาผักและผลไม้ ไข่ไก่ ข้าวสารเหนียวและ น้ำ มันเชื้อเพลิงมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้การปรับตัวลดลงของดัชนีราคาผักและผลไม้เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เหมาะสมมากขึ้น ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.1 เนื่องจากราคาสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ค่าของใช้ส่วนบุคคลและสิ่งที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 โดยหมวดสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 ซึ่งมาจากเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กแผ่นเรียบดำ ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี สำหรับดัชนีในหมวดซีเมนต์ขยายตัวร้อยละ 15.6 ซึ่งสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และดัชนีวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 6.0 สินค้าสำคัญ ได้แก่ ยางมะตอย อิฐมอญ และ อลูมิเนียมเส้น เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบในการผลิตปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และการก่อสร้างที่อยู่
อาศัยขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น
  • ดัชนีราคาผู้ผลิตรวม (PPI) ในเดือนพ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.6 โดยเป็นการปรับลดลงจากดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเป็นสำคัญที่หดตัวร้อยละ -2.2 โดยมีสาเหตุมาจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับลดลงโดยเฉพาะข้าวเปลือกที่มีสต๊อกเพิ่มขึ้นประกอบการซื้อขายมีไม่มาก ส่วนดัชนีราคาในหมวดของอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่อยู่ร้อยละ 7.7 เป็นผลมาจากวัตถุดิบในการผลิตปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งนี้เมื่อพิจารณาตัวดัชนีเฉลี่ยตั้งแต่เดือน ม.ค.54 — พ.ค. 54 พบว่าดัชนีราคาปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย. 54 ขาดดุลเล็กน้อยที่ -165.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 1,881 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลเป็นผลหลักจากการขาดดุลการค้า -477.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการส่งออกที่ชะลอลงจากเทศกาลสงกรานต์ที่มีวันหยุดยาว ในขณะที่ดุลบริการ รายได้และเงินโอน เกินดุล 311.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายได้จากการท่องเที่ยวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังขยายตัวได้ดี
  • ในวันที่ 1 มิ.ย. 2554 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.00 จากแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เร่งขึ้นมาก จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงมีอยู่ในระดับสูง ซึ่งได้ส่งผ่านไปยังราคาสินค้าทั่วไป และอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ร้อยละ 0.50-3.00)
  • สินเชื่อเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ที่ร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวของทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อภาคครัวเรือน ที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 12.7 และร้อยละ 14.3 จากปีก่อนหน้าตามลำดับ บ่งชี้ความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ หากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว สินเชื่อรวมจะขยายตัวร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า
  • เงินฝากสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.0 จากการแข่งขันระดมเงินฝากระหว่างธนาคารพาณิชย์ที่ยังคงเข้มข้นต่อเนื่อง เพื่อล็อกเงินฝากระยะยาวในช่วงที่ต้นทุนหรืออัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังคงอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 อย่างไรก็ตาม เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 6.0 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวสอดคล้องกับ

อัตราการใช้กำลังการผลิต (Cap U) ในหมวดการผลิตโลหะขั้นมูลฐานในเดือน เม.ย.54 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 48.2 โดยปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในเดือน เม.ย. 54 ที่ขยายตัวมาจากปริมาณการจำหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้าง ซึ่งมาเหล็กเส้นกลมขยายตัวร้อยละ 13.2 เหล็กเส้นข้ออ้อยขยายตัวร้อยละ 7.4 และท่อเหล็กกล้าขยายตัวร้อยละ 30.2 ขณะเหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่มาจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีหดตัวร้อยละ -27.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากข้อจำกัดในการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ที่ต้องเลื่อนการผลิตออกไป จากเหตุการณ์ภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น

Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน เม.ย. 54 คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากเดือนก่อนที่ขยาย ตัว ร้อ ยล 11.2 เนื่องจากปัจจัยฐานสูงเมื่อปีที่แล้ว ประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม ยังถือได้ว่ายังขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยได้รับปัจจัยบวกจากกำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับสูง สะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวในอัตราเร่งร้อยละ62.9 ในเดือนเม.ย. 54 ตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง อีกทั้งอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ

Global Economic Indicators: This Week

China: Mixed signal
  • คำสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิต (NBS Mfg PMI) เดือน พ.ค. 54 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 52.0 จากระดับ 52.9 ในเดือนก่อนหน้า

โดยดัชนียอดคำสั่งซื้อใหม่และสินค้าคงคลังซึ่งมีสัดส่วนใน PMI ร้อยละ 30 และร้อยละ 10 ลดลง 0.017 และ 0.025 ตามลำดับ

Eurozone: Mixed signal
  • คำสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิต (Markit Mfg PMI) เดือน พ.ค. 54 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 54.6 โดยดัชนีดังกล่าวในประเทศเยอรมันลดลงมาอยู่ที่ 57.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 62.0
USA: Mixed signal
  • คำสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิต (Mfg PMI) เดือน พ.ค. 54 อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 19 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 53.5 เนื่องจากดัชนีคำสั่งซื้อและดัชนีการ

ผลิตที่ลดลงเป็นสำคัญ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. 54 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 60.8 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อการที่เศรษฐกิจสหรัฐมีการเติบโตที่ชะลอลง ดัชนีราคาบ้าน Case-Shiller 20 หดตัวร้อยละ -3.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดทำสัญญาบ้าน (Pending Home Sales) เดือน เม.ย. 54 หดตัวจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ -11.6 (%mom)

Japan: Mixed signal
  • คำสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิต (Mfg PMI) เดือน พ.ค. 54 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนมาอยู่ที่ 51.3 เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมเริ่มเร่งการผลิตเพื่อแก้ไขปัญหาชะงักงันในห่วงโซ่อุปทาน ธนาคารเพื่อการพัฒนาของญี่ปุ่นจะจัดตั้งกองทุนเพื่อเพิ่มทุนให้แก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เพื่อแก้ไขปัญหาห่วงโซ่อุปทานจากผลกระทบจากแผ่นดินไหวและสึนามิ
Australia: Mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 54 หดตัวที่ร้อยละ -1.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) โดยภาคการส่งออกหดตัวที่ร้อยละ -8.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) จากสินค้าในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อาทิเช่น ถ่านหินและแร่เหล็ก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอูทกภัยภายในประเทศเป็นสำคัญการส่งออกและการนำเข้าเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 8.5 และ 7.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
India: improving economic trend
  • เศรษฐกิจอินเดียไตรมาสที่ 1 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 7.8 จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ไตรมาส จากปัจจัยฐานสูง โดยภาคอุตสหกรรมและภาคบริการขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.5 และร้อยละ 9.0 จากปีก่อนหน้า ตามลำ ดับ อย่างไรก็ตาม การที่เศรษฐกิจขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 จากไตรมาสก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (%qoq_sa) ผนวกกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อยังคงอยู่ในระดับสูงที่ระดับ 58.0 สะท้อนว่าเศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง
Philippines: Mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากปีก่อนหน้า ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.1 จากปีก่อนหน้าจากการหดตัวในการบริโภคภาครัฐและการชะลอตัวลงในภาคการส่งออกเป็นสำคัญ
South Korea: Mixed signal
  • การส่งออกเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 23.5 จากปีก่อนหน้าชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 25.1 จากปีก่อนหน้า จากการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลัก โดยฉพาะสหรัฐฯ และยูโรโซนที่ขยายตัวชะลอลง การนำเข้าในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 29.9 จากปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 23.5จากปีก่อนหน้า ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.1 จากปีก่อนหน้า จากราคาน้ำมันที่เริ่มมีทิศทางลดลง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า หลังจากที่ปรับตัวดีขึนในช่วงต้นสัปดาห์ โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นจำนวนกว่า -3.1 พันล้านบาท (ณ 2 มิ.ย. 54) หลังจากที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะดัชนี ISM Mfg PMI ปรับตัวลดลงมากจนอยู่ใกล้ระดับช่วงวิกฤติ ทำให้นักลงทุนหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยมากขึ้นส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลงมาปิดที่ระดับต่ำกว่า 1,060 จุด ในวันที่ 2 มิ.ย. 54 ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายอย่างคึกคัก โดยในช่วงต้นสัปดาห์ผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากการคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และหลังจากวันที่ 1 มิ.ย. 54 ที่กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ประกอบกับความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยเป็นจำนวนมาก จนทำ ให้ผลตอบแทนปรับลดลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ และทำให้มีการขายเป็นจำนวนมากเพื่อทำกำไรในช่วงปลายสัปดาห์ โดยสัปดาห์นี้ (ณ 2 มิ.ย. 54) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -755 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยแต่ยังคงเคลื่อนที่อยู่ในกรอบแคบๆ โดยปิดที่ระดับ 30.28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 2 มิ.ย. 54 สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าที่คาด ทั้งนี้ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉพาะค่าเงินยูโร ที่แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 2.45 จากสัปดาห์ก่อนหน้า

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ