รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 13 — 17 มิถุนายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 21, 2011 11:24 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน พ.ค. 2554 มีจานวนทั้งสิ้น 351.22 พันล้านบาท
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 36.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 3.8
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน พ.ค. ขยายตัวร้อยละ 65.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณการจาหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 27.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน พ.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 71.1 ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 108.3
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจีน ในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 5.5
  • วันที่ 13 มิ.ย. 54 S&P ลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลกรีซลงมาอยู่ที่ระดับ CCC จากระดับ B
  • การส่งออกและนาเข้าสหรัฐฯ เดือน เม.ย. 54 หดตัวร้อยละ -1.4 และร้อยละ-2.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa)
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
May: Passenger car Sale(%yoy)         -5.0               17.8
  • ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากบริษัทรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้เต็มกาลังการผลิต และไม่สามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้ตามระยเวลาที่กาหนด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทาให้ขาดชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์
Economic Indicators: This Week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน พ.ค.2554 มีจานวนทั้งสิ้น 351.22 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.6 จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกาไรสุทธิและภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงกว่าประมาณการ ผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สาหรับภาษีฐานบริโภคขยายตัวร้อยละ 40.4 และภาษีฐานรายได้ซึ่งรวมภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 39.1 สะท้อนถึงรายได้ประชาชนที่สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 36.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.5 (หรือขยายตัวร้อยละ 20.1 เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.54) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานต่าเมื่อปีที่แล้วที่ประสบปัญหาเหตุการณ์ทางการเมืองในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ประกอบกับกาลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 57.1 ในเดือนเม.ย. 54 และอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่าที่ร้อยละ 0.8 ของกาลังแรงงานรวม ในเดือน เม.ย. 54 ทั้งนี้ในช่วง 5 เดือนแรกปี 54 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 57.8 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกหดตัวร้อยละ -7.3 เนื่องจากปัจจัยฐานสูงของช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ผู้บริโภคคาดว่ามาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะสิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือน มิ.ย. 53 ประกอบกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นจะส่งผลต่ออานาจซื้อของผู้บริโภคชะลอลง ทั้งนี้ในช่วง 5 เดือนแรกปี 54 ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมยังขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 19.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยมีจานวน 1.37 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 65.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานต่าปีก่อนที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตพื้นที่กทม. อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) ขยายตัวเช่นกันอยู่ที่ร้อยละ 0.4 โดยเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะจากกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ (สัดส่วนร้อยละ 22.8) ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 149.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ส่งผลให้ 5 เดือนแรกปี 54 มีจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศทั้งสิ้น 8.20 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 24.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนภาคการท่องเที่ยวต่างชาติมีบทบาทสาคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในช่วงแรกปี 54
  • ปริมาณการจาหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 27.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.2 เนื่องจากปัจจัยฐานต่าเมื่อปีที่แล้วที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองในประเทศ ประกอบกับได้รับปัจจัยบวกจากกาลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่แท้จริง (หักอัตราเงินเฟ้อชนบท) ที่ขยายตัวในอัตราเร่งร้อยละ 57.1 ในเดือนเม.ย. 54 ตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง ทั้งนี้ในช่วง 5 เดือนแรกปี 54 ปริมาณการจาหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน พ.ค.54 อยู่ที่ระดับ 71.1 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) รายได้ภาคครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งรายได้จากการส่งออก และรายได้ของเกษตรกรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง 2) ราคาน้ามันขายปลีกในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลดลง และ 3) การใช้จ่ายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเม็ดเงินที่สะพัดในช่วงเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามผู้บริโภคยังคงกังวลเรื่องค่าครองชีพและราคาสินค้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 108.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 106.6 โดยดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากอุปสงค์ภายในประเทศและภาคการส่งออกที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ดีส่งผลให้การบริโภคและการใช้จ่ายดีขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นทั้งจากราคาวัตถุดิบ อัตราดอกเบี้ย ราคาน้ามัน และเสถียรภาพทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง สาหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 111.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 116.2 ในเดือนเมษายน เนื่องจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่า ยอดคาสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการจะปรับตัวลดลง
Economic Indicators: Next Week

ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือน พ.ค. 54 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 17.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากบริษัทรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้เต็มกาลังการผลิต และไม่สามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้ตามระยเวลาที่กาหนด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทาให้ขาดชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์

Global Economic Indicators: This Week

China: Mixed signal
  • เงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 โดยเงินเฟ้อในหมวดอาหารขยายตัวร้อยละ11.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน การลงทุนในเขตเมืองในช่วง 5 เดือนแรกของปี 54 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 25.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 13.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับยอดค้าปลีกเดือน พ.ค. 54 ที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 16.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
Eurozone: Mixed signal
  • S&P ลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลกรีซลงมาอยู่ที่ระดับ CCC จากระดับ B จากปัญหาหนี้สาธารณะที่ยังคงมีความเสี่ยงสูง เงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. 54 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาน้ามันและอาหารที่ปรับตัวลดลง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า จากการหดตัวของผลผลิตในหมวดพลังงานและสินค้าคงทน
USA: Mixed signal
  • การส่งออกและนาเข้าเดือน เม.ย. 54 หดตัวร้อยละ -1.4 และร้อยละ-2.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 43.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลจากการนาเข้าจากญี่ปุ่นที่ชะงักตัวเป็นสาคัญ ยอดสร้างบ้านใหม่เดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 3.5 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ ยอดค้าปลีกเดือน พ.ค. 54 หดตัวร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อนหน้า จากยอดจาหนายรถยนต์ที่ลดลงด้านราคาเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. 54 เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Australia: Mixed signal
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Sentiment) เดือน มิ.ย. 54 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 101.2 จุด ซึ่งเป็นระดับที่ต่าที่สุดในรอบกว่า 2 ปี จากจากความกังวลต่อการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในภาคการจ้างงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการจ้างงานเดือน พ.ค. 54 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 7,800 ต่าแหน่ง ในขณะที่อัตราการว่างงานเดือน พ.ค. 54 ยังอยู่ในระดับต่าที่ร้อยละ 4.9 ของกาลังแรงงานรวม
India: Mixed signal
  • India เงินเฟ้อทั้วไปเดือน พ.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 8.7 สะท้อนอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากราคาน้ามันที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ในวันที่ 16 มิ.ย. 54 ธนาคารกลางอินเดียปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 10 นับตั้งแต่ต้นปี 53 จากเดิมที่อยู่ที่ร้อยละ 7.25 เป็นร้อยละ 7.50 เพื่อควบคุมแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นดังกล่าว
Philippines: Mixed signal
  • การส่งออกเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 19.1 จากช่วงเดียวกันก่อนหน้า ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 โดยสินค้าส่งออกหลักอย่างอิเล็กทรอนิกส์ยังหดตัวจากภัยพิบัตสึนามิที่ญี่ปุ่นเป็นสาคัญ
Singapore : improving economic trene
  • ยอดค้าปลีกเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี ที่ร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แม้ว่ายอดขายรถยนต์ที่มีสัดส่วนสาคัญถึงร้อยละ 25 ของยอดค้าปลีกรวม จะชะลอลงจากการลดจานวนโควต้าการซื้อขายจากภาครัฐก็ตาม สอดคล้องกับอัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ของกาลังแรงงานรวม สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET เคลื่อนไหวผันผวนในกรอบแคบ ๆ ต่อจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยดัชนี SET ได้ปรับตัวขึ้นมาในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับนักลงทุนต่างชาติที่มีการเข้าซื้อสุทธิจากตัวเลขทางเศรษฐกิจจีนที่ออกมาแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปเนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปในการเข้าช่วยเหลือกรีซและสถาการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศดังกล่าว ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในช่วงปลายสัปดาห์โดยระหว่างวันที่ 13-16 มิ.ย. 54 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,041 ล้านบาท
  • ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อ ขายค่อนข้างเบาบาง โดยในช่วงต้นสัปดาห์ผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย จากความไม่ชัดเจนของปัจจัยทางการเมืองและอุปสงค์ของไตรมาส 2 ที่จะมีการประกาศในช่วงสินเดือน ส่งผลให้นักลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศชะลอการลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสัปดาห์ นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อสุทธิ 1,103 ล้าน (ณ วันที่ 16 มิ.ย. 54) บาท ส่วนหนึ่งมาจากตลาดคาดการณ์ถึงทิศทางของอัตราดอกเบี้ยว่าจะเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อย ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 16 มิ.ย. 54 สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์หนี้สาธารณะยุโรป ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย จากการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ