ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้
1. รัฐบาลญี่ปุ่นสรุปร่างมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิ
2. World Bank ปรับลดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแท้จริงของญี่ปุ่นในปี 2554 ลงเหลือประมาณร้อยละ 0.1
3. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเมษายน 2554 ลดลงร้อยละ 69.5
-----------------------------------
รัฐบาลญี่ปุ่นได้สรุปร่างมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิที่มีปัญหาทางด้านสินเชื่อ โดยสาหรับครัวเรือนที่มีภาระหนี้ในการผ่อนชาระหนี้ที่อยู่อาศัยก่อนเหตุการณ์แผ่นดินไหวและมีความจาเป็นจะต้องขอสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมหรือสร้างที่อยู่อาศัยใหม่เนื่องจากได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นรัฐบาลจะให้สินเชื่อระยะยาวสาหรับการซ่อมแซมหรือสร้างที่อยู่อาศัยใหม่โดยคิดดอกเบี้ยต่าเพื่อเป็นการช่วยเหลือ แต่สาหรับภาระหนี้ที่มีอยู่ก่อนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นจะต้องมีการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ในการชาระคืนเอง
นอกจากนี้รัฐบาลยังได้จัดเตรียมสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมและผู้ประกอบกิจการส่วนตัวที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อใช้ในการฟื้นฟูกิจการ โดยรัฐบาลจะแบ่งประเภทการช่วยเหลือตามสถานะเป็น 3 กรณี คือ 1) ผู้ประกอบการที่คาดว่าสามารถฟื้นฟูกิจการได้ 2) ผู้ประกอบการ ที่คาดว่าจะไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้ และ 3) ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างแน่นอนโดยสาหรับผู้ประกอบการในข้อ 1 นั้น Organization for Small & Medium Enterprises and Regional Innovation, JAPAN (SMRJ) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงินจะตั้งกองทุนเพื่อรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินหรือสนับสนุนการเพิ่มทุนเพื่อลดภาระหนี้ของผู้ประกอบการ นอกจากนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณาแผนจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อการฟื้นฟูชุดที่ 2 ด้วย
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2554 World Bank ได้เปิดเผยประมาณการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับแก้ไข โดยได้ปรับลดการประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแท้จริงของญี่ปุ่นในปี 2554 ลงเหลือประมาณร้อยละ 0.1 จากเดิมที่ได้คาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเดือนมกราคม 2554 เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิได้ส่งผลให้กาลังของภาคการผลิตและอัตราการบริโภคชะลอตัวลงอย่างมาก ซึ่งอัตราการเจริญเติบโตฯ ระหว่างเดือนเมษายน — มิถุนายน 2554 ลดลงร้อยละ 3 เนื่องจากโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานเช่นถนนและท่าเรือได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก และการปิดโรงงานขนาดใหญ่ชั่วคราวเนื่องจากความเสียหายและพลังงานไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ รวมทั้งประชาชนได้ลดจานวนการบริโภคลงเนื่องจากความกังวลต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติดังกล่าวได้ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงตามมา อย่างไรก็ตามได้มีการคาดว่าในปี 2555 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแท้จริงของญี่ปุ่นจะปรับตัวดีขึ้นเป็นมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 2.6 เนื่องจากความต้องการสินค้าและบริการเพื่อนาไปใช้ในการฟื้นฟูความเสียหายจะส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอีกประมาณร้อยละ 2 ในปี 2556
กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเมษายน 2554 มีมูลค่า 405.6 พันล้านเยน ลดลงร้อยละ 69.5 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า เนื่องจากผลผลิตที่ลดลงอย่างมากจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิส่งผลให้ยอดการส่งออกลดลงและราคาทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้นทาให้มูลค่าการนาเข้าเพิ่มขึ้นด้วย
เดือนเมษายน 2554 ญี่ปุ่นมียอดการขาดดุลการค้า 417.5 พันล้านเยน เนื่องจากจานวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาญี่ปุ่นลดลง แต่รายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.9 อยู่ที่ 1,330.8 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนหน้า ที่มีมูลค่า 986.2 พันล้านเยน ทาให้เป็นการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนนี้ได้ รายละเอียดตามตารางที่แนบ
ดุลการชาระเงินระหว่างประเทศประจาเดือนเมษายน 2554
(Balance of Payments)
หน่วย: พันล้านเยน
รายการ เมษายน 2554 เมษายน 2553 1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance) 405.6 1,331.2 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-69.5) (101.5) 1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance) -838.8 474.6 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-) (-) 1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance) -417.5 871.1 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-) (421.4) การส่งออก (Exports) 4,877.0 5,587.1 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-12.7) (42.9) การนำเข้า (Imports) 5,294.5 4,716.0 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (12.3) (26.0) 1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance) -421.3 -396.4 1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income) 1,330.8 986.2 1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers) -86.4 -129.6 2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance) 1,146.6 345.0 2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance) 1,163.1 368.7 การลงทุนโดยตรง (Direct Investment) -622.3 -113.2 การลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) 9,433.7 9,604.5 การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives) 103.0 62.9 การลงทุนอื่นๆ (Other investments) -7,751.3 -6,185.5 2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance) -16.5 -23.7 3. ยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets) -27.4 -214.5 ที่มา: กระทรวงการคลังญี่ปุ่น สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th