รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 20 — 24 มิถุนายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 30, 2011 12:24 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน พ.ค. 54 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจานวน 211.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 70.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เม.ย.54 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,248.4พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.03 ของ GDP
  • ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนพ.ค. 54 หดตัวที่ร้อยละ -15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปริมาณจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวร้อยละ -6.1
  • การส่งออกสินค้าในเดือน พ.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่การนำเข้าสินค้ารวม ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 33.8
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) ในเดือน พ.ค.54 หดตัวร้อยละ -5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การส่งออกและนำเข้าของสหภาพยุโรป ในเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 15.0 และร้อยละ 16.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
  • ยอดขายบ้านใหม่ (New Home Sales) ในเดือน พ.ค. 54 อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 6 เดือน ที่ 4.8 ล้านหลังต่อปี หรือลดลงร้อยละ -3.8 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa)
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
May: MPI (%yoy)                       -7.5                -7.8
  • โดยมีปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกหลัก โดยเฉพาะรถยนต์ที่ยังคงลดการผลิต เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการส่งออกยานยนต์ในเดือน พ.ค.ที่หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -25.8 ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และค่าแรงขั้นต่ำ
Economic Indicators: This Week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน พ.ค.54 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 211.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 70.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยในเดือน พ.ค.54 มีการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณจานวน 205.2 พันล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็ น 1) รายจ่ายประจำเบิกจ่ายไดจำนวน 188.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 71.1 2) รายจ่ายลงทุนจำนวน 16.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 112.2 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สำคัญในเดือน พ.ค.54 ได้แก่เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 8.3 พันล้านบาท รายจ่ายงบชำระหนี้ของสานักงานบริหารหนี้สาธารณะจำนวน 8.2 พันล้านบาท งบของกระทรวงกลาโหมจานวน 3.5 พันล้านบาทและเงินอุดหนุนกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 3.3 พันล้านบาททั้งนี้ การเบิกจ่ายในช่วง 8 เดือนแรกของปี งบประมาณ 54 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจานวน 1,510.3 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 25.5 ซึ่งประกอบด้วยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี จานวน 1,410.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยยละ 30.2 หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 65.0 ของกรอบวงเงิน 2.16 ล้านล้านบาท ขณะที่รายจ่ายประจำเบิกจ่ายได้จำนวน 1,240.1 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จำนวน 170.7 พันล้านบาท นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ วันที่ 17 มิ.ย.54 สามารถเบิกจ่ายสะสมได้ทั้งสิ้นจานวน 281.9 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 80.6 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจานวน 350.0 พันล้านบาท
  • จากการวิเคราะห์ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ค. 54 พบว่า ดุลงบประมาณขาดดุลจานวน -80.0 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจานวน 114.6 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) เกินดุลจานวน 34.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจานวน 5.3 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินเกินดุลจานวน 39.9 พันล้านบาท สาหรับฐานะการคลังในช่วง 8 เดือน ของปีงบประมาณ 54 ดุลงบประมาณขาดดุลจานวน -458.3 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจานวน 49.2 พันล้านบาท ทาให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จานวน -409.1 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 54 มีจานวน 155.2 พันล้านบาท
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เม.ย.54 มีจานวนทั้งสิ้น 4,248.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 2.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.03 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะที่สาคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นสุทธิ 6.2 พันล้านบาท ในขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้าประกัน) ลดลงสุทธิ 1.8 และ 2.1 พันล้านบาท ตามลาดับ สะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยมีความมั่นคงเนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ากว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
  • การจ้างงานเดือน เม.ย. 54 อยู่ที่ 37.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นประมาณ 1.1 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 โดยการจ้างงานภาคเกษตรมีจานวน 12.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.8 แสนคนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรบางชนิด ขณะที่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 8.9 ล้านคน ลดลง 1.2 แสนคน และการจ้างงานภาคบริการมีจานวน 15 .6 ล้านคน ลดลง 1.8 แสนคน จากสาขาการขายส่งขายปลีก และสาขากิจกรรมทางการเงิน ขณะที่อัตราการว่างงานเดือนเม.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกาลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจานวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 2.85 แสนคน โดยมีผู้ว่างงานลดลง 1.7 แสนคนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า มีจานวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 9 พันคน โดยเป็นผู้ว่างงานในภาคบริการ 8.9 หมื่นคน ภาคอุตสาหกรรม 6.9 หมื่นคน ภาคการเกษตร 4.2 หมื่นคน และผู้ที่ไม่เคยทางานมาก่อนจานวน 8.6 หมื่นคน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือนพ.ค. 54 หดตัวร้อยละ -15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 17.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้เต็มกาลังการผลิต และไม่สามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้ตามระยเวลาที่กำหนด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทาให้ขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนพ.ค. 54 หดตัวร้อยละ -6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 17.7 จากการหดตัวของยอดขายรถปิคอัพเป็นสาคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมีการเร่งซื้อขายมากในช่วงต้นปี ประกอบกับอุปทานตึงตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ปรับลดลง
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศเดือน พ.ค. 54 หดตัว ร้อยละ -5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.0 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานสูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศกลับมาขยายตัวได้ดี รวมทั้งมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์จะต้องเผชิญกับแรงกดดันของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นและมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารพาณิชย์
  • มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน พ.ค. 54 อยู่ที่ 19,464.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 24.6 และหากหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว หดตัวที่ร้อยละ-1.8 จากเดือนก่อนหน้า ผลจากการหดตัวในหมวดสินค้ายานยนต์และการชะลอลงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่การนาเข้าสินค้ารวมในเดือน พ.ค. 54 อยู่ที่ 19,187.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 33.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 27.9 หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว เร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยการนาเข้าสินค้าวัตถุดิบ ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 47.6 ในขณะที่การนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 45.2 , 12.9 และ 23.5 ตามลาดับ ทั้งนี้มูลค่าส่งออกสินค้าสูงกว่ามูลค่านาเข้า ทำให้ดุลการค้าเดือน พ.ค. 54 กลับมาเกินดุลอีกครั้งที่ 0.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) ในเดือน พ.ค.54 หดตัวร้อยละ -5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 36.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอยู่ในช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ประกอบกับปัจจัยฐานผิดปกติจากปีที่แล้วที่เกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้งและโรคระบาดส่งผลให้การผลิตสินค้าสาคัญ เช่น ข้าว มันสาปะหลัง และอ้อยโรงงาน มีการผลิตเหลื่อมปี ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตร ในเดือน พ.ค.54 ขยายตัวในได้ดีที่ร้อยละ 18.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวปีก่อน ตามการขยายตัวในระดับสูงของผลผลิต ยางพารา และพืชน้ามัน (มันสาปะหลังและปาล์มน้ามัน) เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น จากอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปทานค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยประสบปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ค. 54 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -7.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือน เม.ย. 54 ที่หดตัวร้อยละ -7.8 โดยมีปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมการส่งออกหลัก โดยเฉพาะรถยนต์ที่ยังคงลดการผลิตลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทาให้ขาดชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการส่งออกยานยนต์ในเดือนพ.ค.ที่หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -25.8 ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งราคาน้ามัน อัตราดอกเบี้ย และค่าแรงขั้นต่ำ

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: Mixed signal
  • กรีซจะต้องชาระหนี้พันธบัตรรัฐบาล 3 พันล้านยูโรในเดือนนี้และอีก 4 พันล้านยูโร สาหรับหนี้ที่จะครบกาหนด 15 ก.ค. - 22 ก.ค. 54 และเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณรัฐบาลกรีซได้ตัดงบประมาณลง 28 พันล้านยูโร (40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในสิ้นเดือนนี้) ยอดส่งออกและนาเข้าเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 15.0 และร้อยละ 16.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 4.1 พันล้านยูโร อย่างไรก็ตาม เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว การส่งออกและนาเข้าขยายตัวร้อยละ 0.6 และร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนหน้า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน มิ.ย. 54 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 52.0 และระดับ 54.2 ตามลาดับ ส่งผลให้ดัชนีรวมอยู่ในระดับต่าที่สุดในรอบ 4 เดือนที่ 53.6 บ่งชี้สัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาสที่ 2 ของปี 54
Japan: Mixed signal
  • ยอดส่งออกและนาเข้าเดือน พ.ค. 54 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ -10.3 และร้อยละ -12.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล -853.7 พันล้านเยน (-10.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) สะท้อนปัญหาอุปทานในญี่ปุ่นและอุปสงค์ที่ชะลอลงในเอเชียและยุโรป โดยการส่งออกไปจีนหดตตัวร้อยละ 8.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
USA: Mixed signal
  • ยอดขายบ้านใหม่ (New Home Sales) เดือน พ.ค. 54 อยู่ในระดับต่าที่สุดในรอบ 6 เดือนที่ 4.8 ล้านหลังต่อปี ลดลงร้อยละ -3.8 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) ขณะที่อุปสงค์ของบ้านในเดือนเดียวกันอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 7 เดือนที่ 9.0 ล้านหลังต่อปี สหรัฐฯ ร่วมกับอีก 27 ประเทศประกาศจะปล่อยน้ามันจากคลังสารอง 60 ล้านบาร์เรลออกสู่ตลาดในเดือนหน้า เพื่อชดเชยอุปทานน้ามันที่หายไปวันที 1.5 ล้านบาร์เรลจากลิเบีย
Singapore: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค. 54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ามันที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปี 54 น่าจะปรับตัวลดลงมา จากผลของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง
Taiwan: Mixed signal
  • คำสั่งซื้อสินค้าส่งออกเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 11.5 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.1 จากปีก่อนหน้า จากคาสั่งซื้อจากคู่ค้าหลักอาทิ สหรัฐฯ และยุโรปที่ขยายตัวเร่งขึ้น ซึ่งหากวิเคราะห์รายสินค้าพบว่า คาสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเร่งขึ้นชัดเจน สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค.54 ที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 7.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สะท้อนอุปสงค์จากนอกประเทศที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ความต้องการในประเทศอาจมีสัญญาณการชะลอลงบ้าง ในขณะที่อัตราการว่างงานเดือน พ.ค.54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ของกาลังแรงงานรวม
Hong Kong: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 51 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นในระดับสูงของราคาอสังหาริมทรัพย์และราคาอาหารเป็นสาคัญ
South Korea: improving economic trene
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 102.0 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 104.0 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ตามราคาน้ามันในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 100 ซึ่งสะท้อนว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET เคลื่อนไหวผันผวนในกรอบแคบๆ ต่อจากสัปดาห์ก่อนหน้า ด้วยมูลค่าการซื้อขายเบาบาง โดยดัชนีฯ ปรับตัวขึ้นมาในช่วงกลางสัปดาห์ สอดคล้องกับที่นักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิเพื่อเก็งกาไร หลังจากที่ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงมากในสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปเนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปในการเข้าช่วยเหลือกรีซ ตลอดจนความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทยช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในช่วงปลายสัปดาห์โดยระหว่างวันที่ 20-23 มิ.ย. 54 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิถึง 3,302 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง โดยในช่วงต้นสัปดาห์นักลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศชะลอการลงทุนเพื่อประมูลพันธบัตรชุดใหม่ที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยว่าจะเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสัปดาห์ นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อสุทธิ โดยทั้งสัปดาห์ (20-23 มิ.ย. 54) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2,572 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 23 มิ.ย. 54 สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค ผลจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศว่าจะนาเงินจากการทามาตรการ QE2 มาลงทุนเพิ่มเติม ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาห์นี้ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า จากการที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ