Executive Summary
Indicators this week
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.6
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ค. 54 ขาดดุล -510.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน พ.ค. 54 หดตัวร้อยละ -3.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 22.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP เวียดนามไตรมาสที่ 2 ปี 54 ขยายร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- คำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ ในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa)
- รัฐบาลกรีซผ่านแผนการลดงบประมาณรายจ่ายวงเงิน 28.4 พันล้านยูโร
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ประเทศญี่ปุ่น ในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa)
Indicators next week
Indicators Forecast Previous May: Motorcycle (%yoy) 22.5 27.9
- โดยได้รับปัจจัยบวกจากกำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับสูง สะท้อนจากรายได้เกษตกรที่ยังขยายตัวดีและอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับอยู่ในช่วงการเลือกตั้งทำให้มีเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น
Economic Indicators: This Week
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือน พ.ค. 54 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2 โดยมีปัจจัยหลักมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหารสำเร็จรูปที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ และเครื่องประกอบอาหารมีราคาเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.5 เนื่องจากราคาสินค้าประเภทของใช้ส่วนบุคคลและค่าเช่าบ้านที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 54 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.1 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.4
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือน พ.ค. 54 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2 โดยมีปัจจัยหลักมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหารสำเร็จรูปที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ และเครื่องประกอบอาหารมีราคาเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.5 เนื่องจากราคาสินค้าประเภทของใช้ส่วนบุคคลและค่าเช่าบ้านที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 54 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.1 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.4
- ดัชนีราคาผู้ผลิตรวม (PPI) ในเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 ตามการลดลงของราคาสินค้าเกษตรที่หดตัวร้อยละ -8.4 ในขณะที่ราคาสินค้าหมวดอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8.3 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 เป็นผลมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันตามราคาในตลาดโลก ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนแรกปี 54 ดัชนีราคาผู้ผลิตรวมขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีราคาผู้ผลิตรวม (PPI) ในเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 ตามการลดลงของราคาสินค้าเกษตรที่หดตัวร้อยละ -8.4 ในขณะที่ราคาสินค้าหมวดอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8.3 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 เป็นผลมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันตามราคาในตลาดโลก ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนแรกปี 54 ดัชนีราคาผู้ผลิตรวมขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ค. 54 หดตัวร้อยละ -3.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องจากเดือน เม.ย. 54 ที่หดตัวร้อยละ -8.1 โดยมีปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมการส่งออกหลัก อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องแต่งกาย และการปั่นทอที่ปรับลดลง โดยเฉพาะรถยนต์ที่ยังคงลดการผลิตลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์ สอดคล้องกับปริมาณการส่งออกยานยนต์ในเดือนพ.ค. 54 ที่หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -25.8 ในส่วนของอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็มีความเสี่ยงในเรื่องของต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ผู้ผลิตชะลอการผลิตลง ประกอบกับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง
- สินเชื่อเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ที่ร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวของทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อภาคครัวเรือน ที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 12.6 และร้อยละ 14.1 จากปีก่อนหน้าตามลำดับ ซึ่งหากพิจารณาตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นชัดเจน ซึ่งส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นมาจากโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ สะท้อนความต้องการสินเชื่อที่ยังคงมีอยู่สูง ตามการขยายตัวของทั้งภาคการลงทุน และการบริโภค
- สินเชื่อเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ที่ร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวของทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อภาคครัวเรือน ที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 12.6 และร้อยละ 14.1 จากปีก่อนหน้าตามลำดับ ซึ่งหากพิจารณาตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นชัดเจน ซึ่งส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นมาจากโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ สะท้อนความต้องการสินเชื่อที่ยังคงมีอยู่สูง ตามการขยายตัวของทั้งภาคการลงทุน และการบริโภค
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 22.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.5 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกหดตัวร้อยละ -1.8 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวสอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิต (Cap U) ที่เพิ่มขึ้นในหมวดการผลิตโลหะขั้นมูลฐานในเดือน พ.ค.54 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 50.7 โดยปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในเดือน พ.ค. 54 ที่ขยายตัวมาจากปริมาณการจำหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้าง เหล็กเส้นข้ออ้อยขยายตัวร้อยละ 47.4 ลวดเหล็กแรงดึงสูงขยายตัวร้อยละ 10.4 และท่อเหล็กกล้าขยายตัวร้อยละ 16.2 ขณะเหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่มาจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีหดตัวร้อยละ -44.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่หดตัว จากข้อจำกัดในการนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์จากประเทศญี่ปุ่น
Economic Indicators: Next Week
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน มิ.ย. 54 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 22.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 27.9 โดยได้รับปัจจัยบวกจากกำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับสูง สะท้อนจากรายได้เกษตกรที่ยังขยายตัวดีและอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับอยู่ในช่วงการเลือกตั้งทำให้มีเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น
Global Economic Indicators: This Week
Eurozone: Mixed signal
- รัฐบาลกรีซผ่านแผนการลดงบประมาณรายจ่ายวงเงิน 28.4 พันล้านยูโร ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขการปล่อยวงเงินช่วยเหลือของสหภาพยุโรปและ IMF เงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวเท่ากับเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.7
Japan: Mixed signal
- ยอดค้าปลีกเดือน พ.ค. 54 หดตัวน้อยที่สุดในรอบ 3 เดือนที่ร้อยละ -1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน กระทรวงการคลังกำลังพิจาณาเงินช่วยเหลือแก่บริษัท TEPCo. 230 พันล้านเยน (2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากวิกฤตพลังงานนิวเคลียร์ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน พ.ค. 54 ขยายตัวสูงเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ที่ร้อยละ 5.7 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) จากผลผลิตยานยนต์และอุปกรณ์สื่อสารเป็นสำคัญ คำสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย. 54 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 50.7 สอดคล้องกับอัตราการว่างงานเดือน พ.ค. 54 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกำลังแรงงานรวม บงชี้สัญญาณที่ดีในภาคการผลิต เงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
USA: Mixed signal
- คำสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากเดือนก่อนหน้า และหากหักคำสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์จะขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า ยอดอนุม้ติสร้างบ้าน (Building Permits) เดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 8.2 จากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 609,000 หลังต่อปี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย. 54 อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 7 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 58.5 สะท้อนความกังวลของผู้บริโภคต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและการจ้างงาน ราคาบ้าน (Case Shiller 20yy) เดือน เม.ย. 54 หดตัวร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือหดตัวร้อยละ -3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Vietnam: improving economic trene
- GDP เวียดนามไตรมาสที่ 2 ปี 54 ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวในระดับสูงของภาคการผลิตและการบริการเป็นสำคัญ สอดคล้องกับการส่งออกเดือน มิ.ย. 54 ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อย 23.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 16.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้มีการเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Philippines: Mixed signal
- มูลค่านำเข้าเดือน เม.ย. 54 ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 20.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า โดยการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ยังคงขยายตัวได้ดี
Singapore: Mixed signal
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. 54 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ -17.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการหดตัวของการผลิตสินค้าเวชภัณฑ์และอิเล็กทรอนิกส์ สะท้อนอุปสงค์ที่ชะลอลงชัดเจน อย่างไรก็ตามคาดว่าการหดตัวของการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเพียงช่วงระยะสั้น จากอุปสงค์จากประเทศญี่ปุ่นที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุนจากภัยพิบัติสึนามิ
South Korea: Mixed signal
- การส่งออกในเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวในอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 20 เดือนที่ร้อยละ 14.5 จากปีก่อนหน้า จากปัจจัยฐานสูง ผนวกกับการชะลอลงของการส่งออกไปยังคู่ค้าหลัก ขณะที่ การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 27.4 จากปีก่อนหน้า ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 30.1 จากปีก่อนหน้า ในด้านเสถียรภาพราคา อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 จากปีก่อนหน้า จากราคาน้ำมันที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมถึงราคาอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่ธนาคารกลางตั้งไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 เพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารกลางปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป
Weekly Financial Indicators
- ดัชนี SET เคลื่อนไหวผันผวน ด้วยมูลค่าการซื้อขายเบาบาง โดยดัชนีฯ ปรับตัวลดลงมากในช่วงต้นสัปดาห์ โดยปิดที่ 1010.32 จุด ณ วันที่ 27 มิ.ย. ต่ำสุดในรอบ 2 เดือนสอดคล้องกับที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเป็นจำนวนมากจากความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจกรีซ ตลอดจนความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทยช่วงก่อนการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รัฐสภากรีซได้ผ่านร่างฯลดการขาดดุลการคลัง นักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้ดัชนีฯ ปรับตัวสูงขึ้น โดยระหว่างวันที่ 27-30 มิ.ย. 54 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 727.8 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายอย่างคึกคัก โดยมีทั้งแรงซื้อและแรงขายเข้ามามากในพันธบัตรหลายช่วงเวลา ส่งผลให้ผลตอบแทนมีการเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ โดยทั้งสัปดาห์ (27-29 มิ.ย. 54) นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อสุทธิ 994.2 ล้านบาท
- ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อย จากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.68 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 30 มิ.ย. 54 สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค ผลจากทั้งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ตลอดจนความกังวลในสถานการณ์การเมืองไทยช่วงก่อนเลือกตั้ง ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า จากการที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th