รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ - มิถุนายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 12, 2011 10:56 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วยอัตราร้อยละ 1.8 โดยได้รับปัจจัยทางบวกจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2) การลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.19) การส่งออก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2) การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4)
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • ดัชนีทางการผลิตปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ส่วนอัตราการใช้กาลังการผลิตอยู่ในระดับคงที่ ในเดือนพฤษภาคม 2554
  • ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคล (PCE) ปรับเพิ่มขึ้นในอัตราคงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ที่ระดับร้อยละ 0.1 ในขณะที่ยอดรายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (DPI) ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่อัตราต่ากว่าร้อยละ 0.1
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน ในขณะที่ดัชนีที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 มาอยู่ที่ระดับ 1.5 ต่อปี
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนเมษายน 2554 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 9.1 โดยมีประชากรได้รับการจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) เพิ่มขึ้น 54,000 คน โดยการจ้างงานของหน่วยงานรัฐบาลยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศลดลงเล็กน้อยในเดือนเมษายน มาอยู่ที่ระดับ 43.7 ล้านเหรียญ สรอ.
  • ในเดือนมิถุนายน 2554 ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลยูโร และเงินเยน ในขณะที่มีค่าคงตัวเมื่อเทียบกับเงินปอนด์และเงินหยวน ส่วนเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทแข็งตัวขึ้นเล็กน้อย
ภาคการเงินและการคลัง
  • รัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงไม่มีความคืบหน้าในการพิจารณาปรับเพิ่มวงเงินเพดานหนี้สาธารณะ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ และประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ออกมาแสดงความกังวลต่อความล่าช้าของประเด็นดังกล่าว
  • ในขณะที่มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณครั้งที่ 2 (QE2) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะครบกาหนดภายในเดือนมิถุนายน 2554 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงไม่มีท่าทีใดๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการประกาศใช้มาตรการดังกล่าวเพิ่มเติม (QE3)
ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 1/2554
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 2554 อยู่ในระดับคงที่ที่ร้อยละ 1.8

มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ครั้งก่อนในเดือนพฤษภาคม 2554 โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวด้วยอัตราร้อยละ 1.8 ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2553 ที่ร้อยละ 2.6 และ 3.1 ตามลาดับ โดยปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคที่ถูกปรับแก้ไขลดลงจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่อัตราการขยายตัวร้อยละ 2.7 มาอยู่ที่อัตราร้อยละ 2.2 ในการคาดการณ์ครั้งล่าสุดได้รับการทดแทนจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของปริมาณการลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชน ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ และปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัยที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่อัตราการขยายตัวร้อยละ 1.19, 9.2 และ 3.4 ตามลาดับ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ
  • ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ในเดือนพฤษภาคม 2554 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1จากเดือนก่อน หลังจากที่อยู่ในระดับคงที่ในเดือนเมษายน เช่นเดียวกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 หลังจากที่ปรับลดลงในเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.5

อัตราการใช้กาลังการผลิต (Capacity Utilization) ของสหรัฐฯ อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ที่ร้อยละ 76.7 ของกาลังการผลิตทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งต่ากว่าอัตราเฉลี่ยของการใช้กาลังการผลิตในระหว่างปี 2515-2553 อยู่ร้อยละ 3.7 (ค่าเฉลี่ยของปี 2515-2553 คิดเป็นร้อยละ 80.4)

  • การใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ขยายตัวเล็กน้อย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ในเดือนเมษายน 2554 ภาพรวมด้านรายได้ของประชากรสหรัฐฯ มีแนวโน้มอยู่ในระดับคงที่ โดยรายได้ส่วนบุคคลที่สามารถนาไปใช้ได้จริง (Real-DPI) ที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียงในอัตราต่ากว่าร้อยละ 0.1 เท่ากับเดือนก่อน ส่วนภาพรวมด้านการใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคที่แท้จริง (Real-PCE) ในเดือนเมษายนขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราคงที่เท่ากับเดือนมีนาคม

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนพฤษภาคม 2554 มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวเป็นการขยายตัวรายเดือนที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551

  • อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.1

อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2554 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หรือร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.1 ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวนับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน โดยในเดือนพฤษภาคม 2554 สหรัฐฯ มีประชากรที่อยู่ในวัยทางาน (Labor force) ทั้งหมด 153.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64.2 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่มีจานวนประชากรได้รับจ้างงานจานวน 139.8 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 58.4 ของประชากรทั้งหมด และมีประชากรว่างงานทั้งหมด 13.9 ล้านคน

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา การจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) ขยายตัวเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 54,000 งาน โดยการจ้างงานของหน่วยงานรัฐบาลยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง

มลรัฐที่มีอัตราการว่างงานสูงสุดในสหรัฐฯ ได้แก่ รัฐเนวาดา (ร้อยละ 12.5) รัฐแคลิฟอร์เนีย (ร้อยละ 11.9) และรัฐโรดไอแลนด์ (ร้อยละ 10.9) ตามลาดับ

ครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 43.7 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนเมษายน

ในเดือนเมษายน 2554 สหรัฐฯ ยังคงขาดดุลการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณการขาดดุลได้ปรับลดลง 3.1 พันล้านเหรียญ สรอ. หรือร้อยละ 6.6 จากเดือนมีนาคมที่ระดับ 46.8 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ระดับ 43.7 พันล้านเหรียญสรอ. สืบเนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (Export) ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่มูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการ (Import) ปรับลดลงในช่วงเดือนที่ผ่านมา

มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้น 2.2 พันล้านเหรียญ สรอ.. มาอยู่ที่ 175.6 พันล้านเหรียญ สรอ. มูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการปรับลดลง 1.0 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 219.2 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนเมษายน

ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้า 3 ประเทศหลักที่สหรัฐฯ ประสบภาวะขาดดุลการค้าในด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมมูลค่าการบริการ) ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป และเม็กซิโก โดยในเดือนเมษายน 2554 มูลค่าการขาดดุลกับจีนปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่มูลค่าการขาดดุลสหภาพยุโรปและเม็กซิโกปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า

นโยบายทางการคลังและฐานะการคลัง
  • รัฐสภาสหรัฐฯ ยังไม่มีความคืบหน้าในการพิจารณาปรับเพิ่มวงเงินเพดานหนี้สาธารณะ

ในเดือนมิถุนายน 2554 รัฐสภาสหรัฐฯ ยังคงไม่มีความคืบหน้าในการพิจารณาปรับเพิ่มเพดานวงเงินหนี้สาธารณะ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเกินกว่าวงเงินที่กาหนดไว้ที่จานวน 14.3 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ภายในวันที่ 2 สิงหาคม 2554 โดยพรรครีพับริกันต้องการให้มีการปรับลดงบประมาณการใช้จ่ายของรัฐบาลให้เท่ากับปริมาณวงเงินหนี้สาธารณะที่จะปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่พรรคเดโมเครตไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว

ในขณะเดียวกัน นาย Timothy Geithner รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ และ นาย Ben Bernanke ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ออกมาแสดงความกังวลและกล่าวเตือนรัฐสภาสหรัฐฯ เกี่ยวกับประเด็นความล่าช้าของการพิจารณาปรับเพดานวงเงินหนี้สาธารณะ (US Public Debt) ว่า การที่พรรคริพับริกันใช้ประเด็นดังกล่าวมาเป็นประเด็นทางการเมืองในการต่อรองกับพรรคเดโมเครตนั้นเป็นนโยบายทางเศรษฐกิจที่ไม่เหมาะสมต่อสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ประกอบกับได้เน้นย้าว่าถ้าหากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถหาข้อตกลงกันได้ภายในระยะเวลาที่กาหนด ซึ่งนาไปสู่การเกิดการผิดชาระหนี้ของพันธบัตรรัฐบาล จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ที่รัฐสภาสหรัฐฯ จะใช้มาตรการขยายระยะเวลาการพิจารณาระยะสั้น เพื่อป้องกันผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจเกิดขึ้น หากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ภายในระยะเวลาที่กาหนด ตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลอีกด้วย

นโยบายทางการเงินและอัตราดอกเบี้ย
  • ในขณะที่ QE2 จะหมดอายุลง ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังไม่มีท่าทีของการประกาศใช้ QE3

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2554 นาย Ben Bernanke ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ออกมากล่าวแถลงถึงภาพรวมศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่งานประชุม International Monetary Conference ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 2554 ขยายตัวในอัตราที่ต่ากว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ โดยเศรษฐกิจโดยรวมได้รับปัจจัยทางบวกจากการผ่านกฎหมายลดหย่อนภาษีรายได้เมื่อปลายปี 2553 ซึ่งช่วยส่งผลให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นในบางส่วน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้รับปัจจัยทางลบจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตลาดสินเชื่อที่ยังตึงตัว ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงปรับลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน และการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปัจจัยทั้งหลายส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นใจในการใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ

ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ นั้น ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า การปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น แม้ว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 ก็ตาม โดยในเดือนพฤษภาคม 2554 ดัชนี Core-CPI ปรับเพิ่มขึ้นอีกมาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ได้วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของการประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) เพิ่มเติม หรือครั้งที่ 3 หลังจากมาตรการดังกล่าวครั้งที่ 2 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีกาหนดที่จะสิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน 2554 โดยนักวิเคราะห์บางส่วนเห็นว่ามาตรการดังกล่าวยังคงมีความจาเป็นเพื่อกระตุ้นการจ้างงานของสหรัฐฯ เพิ่มเติม ในขณะที่บางส่วนเห็นว่าการประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณครั้งที่ 3 จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นอีก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกาศใช้มาตรการดังกล่าวแต่อย่างใด

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
  • ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร และเงินเยน

ภาพรวมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในเดือนมิถุนายน 2554 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีความเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันไปเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างๆ โดยค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนประมาณร้อยละ 2 ส่วนค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินยูโรมีความผันผวนในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงในช่วงต้นเดือนมิถุนายนก่อนที่จะแข็งตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงสัปดาห์ที่สองและที่สามของเดือนดังกล่าว ในขณะที่มีค่าคงตัวเมื่อเทียบกับเงินปอนด์และเงินหยวน ทั้งนี้ อัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2554 อยู่ที่ 1.4301 USD/EUR, 1.6197 USD/GBP, 0.0125 USD/JPY, และ 0.1544 USD/CNY

เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในเดือนมิถุนายน โดยค่าเงินดอลลาร์ ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2554 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30.5689 THB/USD เพิ่มขึ้นจาก 30.3214 THB/USD เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2554

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ