รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 11 - 14 กรกฎาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 19, 2011 10:18 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน มิ.ย. 2554 มีจำนวนทั้งสิ้น 109.57 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน มิ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -13.6
  • ในวันที่ 13 ก.ค. 2554 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.25
  • GDP จีน ในไตรมาสที่ 2 ปี 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ในวันที่ 12 ก.ค. 54 Moody’s ปรับลดอันดับความน่าลงทุนของพันธบัตรรัฐบาลไอร์แลนด์สู่ระดับ Junk จาก Baa3 สู่ระดับ Ba1 ในขณะที่วันที่ 13 ก.ค. 54 Fitch ปรับลดอันดับความน่าลงทุนของพันธบัตรรัฐบาลกรีซจาก B+ สู่ระดับ CCC
  • อัตราการว่างงานสหรัฐฯ ในเดือน มิ.ย. 54 อยู่ ที่ระดับร้อยละ 9.2 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ระดับร้อยละ 9.1 ของกำลังแรงงานรวม
  • GDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 2 ปี 54 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Jun: Passenger car sale (% YoY)       -5.0               -15.2
  • เนื่องจากคาดว่ายังคงได้รับผลกระทบจากมาจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์ ซึ่งส่งผลต่อบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้เต็มกำลังการผลิต และไม่สามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้ตามระยเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม คาดว่าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะสามารถผลิตรถยนต์ได้เป็นปกติได้ในเดือนก.ค.54 เป็นต้นไป
Economic Indicators: This Week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน มิ.ย. 2554 มีจำนวนทั้งสิ้น 109.57 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงกว่าประมาณการ ผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สำหรับภาษีฐานบริโภคขยายตัวร้อยละ 15.7 และภาษีฐานรายได้ซึ่งรวมภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 18.2 สะท้อนถึงรายได้ประชาชนที่สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดี
  • ภาษีมูลค่าเพมิ่ ณ ระดบั ราคาคงที่ในเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 36.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวในอัตราเร่งเมื่อเดือนที่แลว้ เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำเมื่อปีที่แล้วที่ประสบปัญหาเหตุการณ์ทางการเมืองในเขตกรุงเทพและปริมณฑล อย่างไรก็ตามถือได้ว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดีโดยได้รับปัจจัยบวกกำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในเกณฑ์ดีสะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวเป็นบวกและอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 54 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (หรือขยายตัวร้อยละ 8.5 QoQ_SA) บ่งชี้ว่าการบริโภคภาคเอกชนในช่วงครึ่งปีแรกยังขยายตัวไดดี้
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน มิ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -13.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 8.4 โดยการหดตัวดังกล่าวเป็นผลมาจากปัจจัยฐานสูงของช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการต่ออายุมาตราการภาษีเพื่อช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ออกไป ทำให้เมื่อพิจารณาผลทางฤดูกาลพบว่าภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมีอยู่ต่อเนื่อง ประกอบกับอุปสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาส 2 ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 7.1 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 17.2
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.25 (ในวันที่ 13 ก.ค. 2554) ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ตั้งแต่ต้นปี 2554 เป็นต้นมา เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และลดแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูงตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มิ.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 72.3 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) รายได้ภาคครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งรายได้จากการส่งออก และรายได้ของเกษตรกรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง 2) ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลดลง และ 3) การใช้จ่ายที่ปรับเพิ่มขึ้นจากเม็ดเงินที่สะพัดในช่วงเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงกังวลเรื่องค่าครองชีพและราคาสินค้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
  • สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์เดือน พ.ค. 54 อยู่ที่ 2.3 ล้านล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 1.1 หมื่นล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า จากเงินฝากรวมตั๋วแลกเงินที่ยังคงเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นในปริมาณที่มากกว่าสินเชื่อ ซึ่งหากวิเคราะห์เฉพาะเงินฝากจะพบว่า เงินฝากธนาคารพาณิชย์หดตัวที่ร้อยละ -0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่ตั๋วแลกเงินปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการปรับรูปแบบการระดมเงินของธนาคารพาณิชย์ เพื่อรับมือกับการลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากในวันที่ 11 ส.ค. 54 ในขณะที่สินเชื่อขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทั้งในส่วนของภาคอุตสาหกรรมและการบริโภค
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือนมิ.ย. 54 คาดว่าจะยังคงหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -15.2 เนื่องจากคาดว่ายังคงได้รับผลกระทบจากมาจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์ ซึ่งส่งผลต่อบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้เต็มกำลังการผลิต และไม่สามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้ตามระยเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม คาดว่าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะสามารถผลิตรถยนต์ได้เป็นปกติได้ในเดือนก.ค.54 เป็นต้นไป

Global Economic Indicators: This Week

China: Mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 54 ชะลอลงเล็กน้อยโดยขยายตัวที่ร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับยอดค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย. 54 ที่ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 17.7 และร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนตามลำดับ เงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. 54 เพิ่มสูงที่สุดในรอบ 3 ปีที่ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากโดยดัชนีราคาอาหารขยายตัวร้อยละ 14.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ดัชนีสินค้าที่ไม่ใช่อาหารขยายตัวสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการส่งออกและนำเข้าเดือน มิ.ย 54 ขยายตัวชะลอลงโดยขยายตัวที่ร้อยละ 17.9 และร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมูลค่านำเข้าขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 20 เดือน
Eurozone: Mixed signal
  • Moody’s ปรับลดอันดับความน่าลงทุนของพันธบัตรรัฐบาลไอร์แลนด์สู่ระดับ Junk จาก Baa3 สู่ระดับ Ba1 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) จากการขยายตัวของผลผลิตพลังงานและสินค้าทุน ในขณะที่ Fitch ปรับลดอันดับความน่าลงทุนของพันธบัตรรัฐบาลกรีซจาก B+ สู่ระดับ CCC
USA: Mixed signal
  • การจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน มิ.ย. 54 เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 9 เดือนที่ 18,000 ตำแหน่งงาน โดยการจ้างงานในภาครัฐลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 มาอยู่ที่ 39,000 ตำแหน่งงาน ขณะที่การจ้างงานในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 57,000 ตำแหน่งงาน ส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับร้อยละ 9.2 ของกำลังแรงงานรวม มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ค. 54 หดตัวร้อยละ -0.5 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 2.6 จากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 47.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Indonesia: Mixed signal
  • ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ในวันที่ 12 ก.ค. 54 ที่ร้อยละ 6.75 จากแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ชะลอลง โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย. 54 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 จากปีก่อนหน้า
India: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงมากสุดในรอบ 9 เดือนที่ร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการชะลอลงของการผลิตสินค้าเพื่อธุรกิจ ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคยังคงขยายตัวได้ดี
Malaysia: Mixed signal
  • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. 54 หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการหดตัวของสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และการขุดเจาะน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติในช่วงดังกล่าว สะท้อนภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มชะลอลง
Philippines: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ค. 54 หดตัวลงที่ร้อยละ -3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากผลกระทบของภัยพิบัติสึนามิในญี่ปุ่น ทำให้อุปสงค์ของสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์หดตัวกว่าร้อยละ -26.2 จากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะเป็นเพียงชั่วคราว โดยภาคการส่งออกฟิลิปปินส์น่าจะกลับมาขยายตัวได้ตามปกติ หลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น
Singapore: Mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 54 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือหดตัวร้อยละ -2.0 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากปัจจัยฐานสูงและภาคการผลิตที่หดตัวลงที่ร้อยละ -5.5 จากปีก่อนหน้า รวมถึงภาคบริการที่ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.3 จากปีก่อนหน้
South Korea: improving economic trene
  • ธนาคารกลางประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 14 ก.ค. 54 ที่ร้อยละ 3.25 จากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยในช่วงต้นสัปดาห์ ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์หนี้สาธารณะยุโรปที่มีแนวโน้วทวีความรุนแรงขึ้นจากการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของโปรตุเกส ไอร์แลนด์และอาจลุมลามไปยังประเทศอิตาลี ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในวันอังคารที่ 12 ก.ค. 54 ถึง 2,965 ล้านบาท อย่างไรก็ตามดัชนีฯ ได้ปรับตัวขึ้นมาในวันถัดมา โดยทั้งสัปดาห์ (11-13 ก.ค. 54) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3,627 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายที่เบาบาง โดยนักลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศต่างเทขายเพื่อซื้อพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ 10 ปี ที่จะมีการประมูลในสัปดาห์นี้ ส่งผลให้ yield curve ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในพันธบัตรระยะสั้น
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 13 ก.ค. 54 สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค ผลจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.69 จากการที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ
  • ในขณะที่ราคารทองคำปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยราคาทองคำในวันที่ 13 ก.ค. 54 อยู่ที่ 1581.75 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ขยายตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.3 โดยส่วนนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลต่อสถานการณ์หนี้สาธารณะยุโรปและสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเช่น ทองคำเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ