รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 19 - 22 กรกฎาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 27, 2011 14:43 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค.54 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,279.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.1 ของ GDP
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 107.4
  • การส่งออกสินค้าในเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 26.1
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งเดือนมิ.ย. 54 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่หดตัวร้อยละ -0.3
  • การส่งออกญี่ปุ่น เดือน มิ.ย. 54 หดตัวน้อยที่สุดในรอบ 4 เดือนที่ร้อยละ -1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 9.8
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหภาพยุโรป เดือน ก.ค. 54 ลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 3 เดือนมาอยู่ที่ระดับ -11.4
  • ยอดสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 5 เดือนที่ร้อยละ 14.6 จากเดือนก่อนหน้า (%mom)
  • อัตราเงินเฟ้อมาเลเซีย เดือน มิ.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อฮ่องกงอยู่ที่ร้อยละ 5.6
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Jun: MPI (% YoY)                       0.3                -3.9
  • โดยคาดว่าจะได้รับปัจจัยบวกจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (มูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมรวมเดือน มิ.ย.54 ขยายตัวร้อยละ 8.42) ประกอบกับอุตสาหกรรมยานยนต์คาดว่าจะมีการเร่งกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยช่วงที่ชะลอการผลิตลงจากผลกระทบเหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่น
Economic Indicators: This Week
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค.54 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,279.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 30.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.1 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้นสุทธิ 21.7 และ 9.7 พันล้านบาท ตามลำดับ สะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยมีความมั่นคง เนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค.54 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,279.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 30.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.1 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้นสุทธิ 21.7 และ 9.7 พันล้านบาท ตามลำดับ สะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยมีความมั่นคง เนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
  • การส่งออกสินค้าในเดือน มิ.ย. 54 อยู่ที่ 21,074.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.6 เป็นผลจากการหดตัวในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และการชะลอลงของหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ในขณะที่สินค้าในหมวดยานยนต์กลับมาขยายตัวครั้งแรกที่ร้อยละ 2.2 หลังจากหดตัว 2 เดือนติดต่อกันหลังประสบปัญหาภัยพิบัติสึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ การส่งออกในช่วง 6 เดือนแรก ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การส่งออกสินค้าในเดือน มิ.ย. 54 อยู่ที่ 21,074.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.6 เป็นผลจากการหดตัวในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และการชะลอลงของหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ในขณะที่สินค้าในหมวดยานยนต์กลับมาขยายตัวครั้งแรกที่ร้อยละ 2.2 หลังจากหดตัว 2 เดือนติดต่อกันหลังประสบปัญหาภัยพิบัติสึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ การส่งออกในช่วง 6 เดือนแรก ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนมิ.ย. 54 มีจำนวน 3.28 หมื่นคัน หรือยังคงหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -15.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากได้รับผลกระทบจากมาจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์ ซึ่งส่งผลต่อบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้เต็มกำลังการผลิต และไม่สามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้ตามระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นมาก ทำให้คาดว่าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะสามารถผลิตรถยนต์ได้เป็นปกติได้ในเดือนก.ค.54 เป็นต้นไป
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนมิ.ย. 54 มีจำนวน 3.75 หมื่นคัน หรือหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ปรับลดลง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวปรับตัวดีขึ้นมาก ทำให้คาดว่าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะสามารถผลิตรถยนต์ได้เป็นปกติได้ในเดือนก.ค.54 เป็นต้นไป
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.8 เป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำที่ผู้รับเหมาได้เร่งการก่อสร้างในเดือนก่อนหน้าของปี 53ก่อนที่มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลสิ้นสุดลง และเมื่อปรับผลทางฤดูกาล ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงภาคการลงทุนของไทยที่กลับเข้าสู่ระดับปกติ ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ -1.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาล ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากไตรมาสก่อนหน้า
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มิ.ย. 54 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือน พ.ค. 54 ที่หดตัวร้อยละ -3.9 ซึ่งคาดว่าจะเป็นการขยายตัวครั้งแรกจากการหดตัวต่อเนื่องมาถึง 4 เดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจากอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (มูลค่าการส่งออกสินค้าอุสาหกรรมรวมเดือน มิ.ย.54 ขยายตัวร้อยละ 8.42) ประกอบกับอุตสาหกรรมยานยนต์คาดว่าจะมีการเร่งกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยช่วงที่ชะลอการผลิตลงจากผลกระทบเหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่น

Global Economic Indicators: This Week

Japan: Mixed signal
  • มูลค่าส่งออกเดือน มิ.ย. 54 หดตัวน้อยที่สุดในรอบ 4 เดือนที่ร้อยละ -1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือขยายตัวร้อละ 5.4 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) บ่งชี้การฟื้นตัวของภาคส่งออกภายหลังเหตุการณ์สึนามิเมื่อเดือน มี.ค. 54 ขณะที่มูลค่านำเข้าเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 9.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนที่ 70.7 พันล้านเยน
Eurozone: Mixed signal
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ค. 54 ลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 3 เดือนมาอยู่ที่ระดับ -11.4 บ่งชี้สัญญาณชะลอตัวของการบริโภคภาคเอกชนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ก.ค. 54 อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 22 เดือนที่ระดับ 50.4 และระดับ 51.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามดัชนีดังกล่าวยังอยู่เหนือระดับ 50.0 ซึ่งสะท้อนว่าภาคการผลิตและภาคบริกายังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้จะชะลอตัวลงบ้างในช่วงครึ่งหลังของปี ธนาคาร 8 แห่งจาก 90 แห่งไม่ผ่านการทำ Stress Test ของ European Banking Authority โดยเป็นธนาคารในสเปน 5 แห่ง กรีซ 2 แห่ง และออสเตรีย 1 แห่ง
USA: Mixed signal
  • ยอดสร้างบ้านใหม่เดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 5 เดือนที่ร้อยละ 14.6 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรืออยู่ที่ระดับ 629,000 หลัง ขณะที่ยอดอนุมัติสร้างบ้านเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 2.5 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรืออยู่ที่ระดับ 624,000 หลัง โดยการก่อสร้างบ้านสำหรับหลายครอบครัว (Multi-family starts) ขยายตัวกว่าร้อยละ 30.4 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) ยอดขายบ้านเดือน มิ.ย. 54 หดตัวที่ร้อยละ -0.8 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) สู่ระดับ 4.77 ล้านหลังต่อปี ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 5 เดือน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการยกเลิกสัญญาของผู้ซื้อ จากความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ และเงื่อนไขการกู้ยืมที่เข้มงวดขึ้น
Malaysia: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. 54 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 27 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการปรับตัวสูงขึ้นของ 1) ราคาขนส่ง 2) ค่าไฟฟ้า และ 3) ราคาสินค้าขายปลีกในประเทศ ทั้งนี้ แรงกดดันจากเงินเฟ้อจะยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะเริ่มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงต้นปี 54 ทำให้คาดว่าธนาคารกลางมาเลเซียอาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป
Singapore: Mixed signal
  • ยอดค้าปลีกเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากอุปสงค์ของยานยนต์ซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 25 ของยอดค้าปลีกทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับราคายานยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้น จากข้อจำกัดด้านอุปทานและใบรับรองสิทธิการซื้อรถยนต์ที่มีอยู่อย่างกำจัด ขณะที่ยอดการส่งออกที่ไม่รวมน้ำมัน เดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.1 เนื่องจากการส่งออกอิเล็คโทรนิกส์หดตัวที่ร้อยละ -17.2 จากอุปสงค์ที่ลดลงจากประเทศญี่ปุ่นหลังประสบภัยสึนามิ ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกของสิงคโปร์จะกลับมาขยายตัวตามปกติหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น
Hong Kong: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. 54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากราคาอสังหาริมทรัพย์และราคาอาหารที่ทรงตัวในระดับสูง
Taiwan: Mixed signal
  • คำสั่งซื้อสินค้าเพื่อส่งออกเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อนหน้า ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 11.5 จากปีก่อนหน้า จากคำสั่งซื้อสินค้าพิเศษในเดือนก่อนหน้า (เรือขนาดใหญ่) ทั้งนี้ หลังหักคำสั่งซื้อสินค้าพิเศษแล้วพบว่า คำสั่งซื้อสินค้าอื่นๆ โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน พ.ค. 54 สะท้อนอุปสงค์จากภายนอกประเทศที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ ผลจากความกังวลต่อสถานการณ์หนี้สาธารณะยุโรปที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น จนทำให้ธนาคารพาณิชย์ 8 แห่งในยุโรปไม่ผ่าน stress test ถึงแม้จะยังไม่รวมกรณีสมมติร้ายแรงที่กรีซไม่สามารถชำระหนี้ได้ก็ตาม ประกอบกับสถานการณ์การเมืองไทยมั่นคงมากขึ้นหลังจากกกต.ประกาศรับรองสส.ที่เหลือ ทำให้นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อหลักทรัพย์ในตลาดไทยมากขึ้น โดยทั้งสัปดาห์ (18-21 ก.ค. 54) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิสูงถึง 11,076 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายที่คึกคัก และนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในระดับสูง โดยผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย จากการประมูลพันธบัตรธปท.ในช่วงกลางสัปดาห์ อีกทั้งตลาดมองว่ากนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในการประชุมครั้งต่อไป จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังคงมีอยู่
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 29.82 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 21 ก.ค. 54 แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.23 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค ผลจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.77 จากการที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ
  • ในขณะที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยราคาทองคำอยู่ในระดับสูงสุดที่ 1,600.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในวันที่ 20 ก.ค. 54 ก่อนจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยในวันถัดมา โดยส่วนนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลต่อสถานการณ์หนี้สาธารณะยุโรปและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเช่น ทองคำเป็นจำนวนมากต่อเนื่อง

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ