รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 25 - 29 กรกฎาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 2, 2011 11:19 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน มิ.ย. 54 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 187.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 38.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มิ.ย. 54 เกินดุลจำนวน 146.9 พันล้านบาท
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) หดตัวร้อยละ -8.1
  • รัฐสภาญี่ปุ่นอนุมัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมงวดที่ 2 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิวงเงิน 2 ล้านล้านเยน (25.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
  • ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ ระดับ 52.1
  • Moody's ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรกรีซลง จากระดับ Caa1 สู่ระดับ Ca
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือน ก.ค. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 59.5
  • อัตราเงินเฟ้อออสเตรเลีย ในไตรมาสที่ 2 ปี 54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากปีก่อนหน้า
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Jul: Headline inflation (% YoY)       4.1                 4.1
  • เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในประเทศตามราคาน้ำมันดิบดูไบในตลาดโลกที่ปรับตัวอยู่ในระดับสูง ประกอบกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง โดยเฉพาะราคาสินค้าในหมวดเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อสุกร ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ราคาอาหารสำเร็จรูปปรับตัวขึ้นตาม ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าคาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.2 (%mom) เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.1
Economic Indicators: This Week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน มิ.ย. 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจานวน 187.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 38.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือน มิ.ย. 54 มีการเบิกจ่ายงบประมาณประจาปีงบประมาณจานวน 181.2 พันล้านบาท แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจาจานวน 161.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 44.8 (2) รายจ่ายลงทุนจานวน 19.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 68.9 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สาคัญในเดือน มิ.ย. 54 ได้แก่ งบชาระหนี้ของสานักงานบริหารหนี้สาธารณะจานวน 51.6 พันล้านบาท งบรายจ่ายของกระทรวงกลาโหมจานวน 6.8 พันล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการจานวน 5.1 พันล้านบาท และรายจ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจานวน 4.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายสะสมในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจานวน 1,697.9 พันล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 26.8 ประกอบด้วยการเบิกจ่ายงบประมาณประจาปีจานวน 1,592.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 31.9 หรือคิดเป็นอัตรา การเบิกจ่ายร้อยละ 73.4 ของกรอบวงเงิน 2.16 ล้านล้านบาท ขณะที่รายจ่ายประจาเบิกจ่ายได้จานวน 1,401.6 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จานวน 190.4 พันล้านบาท นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ วันที่ 22 ก.ค. 54 สามารถเบิกจ่ายสะสมได้ทั้งสิ้นจานวน 285.9 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายสะสมร้อยละ 81.7 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจานวน 350.0 พันล้านบาท
  • จากการวิเคราะห์ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มิ.ย. 54 พบว่า ดุลงบประมาณเกินดุลจานวน 146.9 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจานวน -5.5 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) เกินดุลจานวน 141.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจานวน 4.5 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินเกินดุลจานวน 145.9 พันล้านบาท สาหรับฐานะการคลังในช่วง 9 เดือน ของปีงบประมาณ 54 ดุลงบประมาณขาดดุลจานวน -307.7 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจานวน 40.0 พันล้านบาท ทาให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จานวน -267.7 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 54 มีจานวน 301.0 พันล้านบาท
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัว ร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน พ.ค. ที่หดตัวร้อยละ -3.7 ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกจากที่หดตัวต่อเนื่องมาถึง 4 เดือน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอุตสาหกรรมการส่งออกหลัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรม HDD ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบที่การส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับภาวะการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมรวมเดือน มิ.ย.54 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.4 ประกอบกับอุตสาหกรรมยานยนต์ก็มีการเร่งกาลังการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพื่อชดเชยช่วงที่ไม่สามารถผลิตได้จากผลกระทบเหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่น
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) ในเดือน มิ.ย.54 หดตัวร้อยละ -8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.8 ตามการลดลงของผลิตสาคัญ อาทิ ข้าว ยางพารา มันสาปะหลัง และปาล์มน้ามันส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออานวยต่อการผลิตและเก็บเกี่ยว ในขณะที่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ขยายตัวต่อเนื่องตามผลผลิตสุกรและไก่เนื้อที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 และร้อยละ 2.4 จากเดือนพ.ค.54 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 และร้อยละ 1.5 ตามลาดับ โดยได้รับปัจจัยบวกจากราคาปศุสัตว์ที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรมีเพาะเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกปี 54 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตร ในเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 18.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานสูงเมื่อปีก่อนที่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราเร่งตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปทานค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยประสบปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกปี 54 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 21.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของหมวดพืชผลสาคัญ โดยเฉพาะยางพารา และมันสาปะหลัง ส่งผลให้รายได้รายเกษตกรที่แท้จริง(หักอัตราเงินเฟ้อชนบท) ขยายตัวในระดับสูงสูงร้อยละ 30.7 ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนอุปสงค์ในประเทศในปี 54 ต่อไป
Economic Indicators: Next Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ค. 54 คาดว่าจะขยายตัวในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อเป็นผลมาจากราคาน้ามันในประเทศที่มีการปรับราคาขึ้นตามราคาน้ามันดิบดูไบในตลาดโลก ประกอบกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง โดยเฉพาะราคาสินค้าในหมวดเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อสุกร ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ราคาอาหารสาเร็จรูปปรับตัวขึ้นตาม ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าคาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.2 (%mom) เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.1

Global Economic Indicators: This Week

Japan: Mixed signal
  • รัฐสภาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมงวดที่ 2 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิวงเงิน 2 ล้านล้านเยน (25.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยส่วนหนึ่งจะเป็นการช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนและธุรกิจขนาดเล็ก ยอดค้าปลีกเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งจากราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราการว่างงานเดือน มิ.ย. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของกาลังแรงงานรวม ดัชนีคาสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค. 54 สูงที่สุดในรอบ 3 เดือนที่ระดับ 52.1
Eurozone: Mixed signal
  • Moody's ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรกรีซลงจากระดับ Caa1 สู่ระดับ Ca ซึ่งต่ากว่าระดับน่าลงทุนและปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลไซปรัสลงสู่ระดับBaa1 ซึ่งสูงกว่าระดับน่าลงทุนเล็กน้อย จากความกังวลต่อระดับหนี้สาธารณะ สหภาพยุโรปร่วมกับ IMF แถลงมาตรการช่วยเหลือกรีซวงเงิน 1.09 แสนล้านยูโร ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยและการขยายระยะเวลาการชาระเงินกู้ ทั้งนี้ 50 พันล้านยูโรมาจากความร่วมมือของภาคการเงิน คาสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากเดือนก่อนหน้า (%mom)
USA: Mixed signal
  • ราคาบ้าน (CaseShiller 20 yy) เดือน พ.ค. 54 ไม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และหดตัวร้อยละ -4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดขายบ้านใหม่เดือน มิ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า คาสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน มิ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -2.1 จากเดือนก่อนหน้า แต่เมื่อหักคาสั่งซื้อสินค้าหมวดขนส่งแล้ว พบว่าขยายตัวร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ค. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 59.5
Australia: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 2 ปี 54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากปีก่อนหน้า หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) สะท้อนแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารกลางดาเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวในระยะต่อไป
Philippines: Mixed signal
  • มูลค่านำเข้าเดือน พ.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงต่าที่สุดในรอบ 19 เดือนอยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากปีก่อนหน้า จากการชะลอตัวของการนาเข้าสินค้าอิเล็คโทรนิกส์และการหดตัวของสินแร่เชื้อเพลิงนาเข้า
Singapore: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. 54 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าขนส่ง ค่าเช่าที่อยู่อาศัย และราคารถยนต์จากการจากัดจานวนใบรับรองสิทธิการซื้อ
South Korea: Mixed signal
  • GDP ไตรมาส 2 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากปีก่อนหน้าหรือขยายตัวร้อยละ 0.8 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.4 จากปีก่อนหน้า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการชะลอลงของการผลิตในหมวดยานยนต์ จากการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต หลังการปิดตัวชั่วคราวของโรงงานในญี่ปุ่น นอกจากนี้ ปัญหาน้าท่วมรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี คาดว่าจะกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในส่วนของภาคการผลิต ในไตรมาสที่ 3 ของปี 54
Taiwan: Mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.6 จากปีก่อนหน้า จากการชะลอลงชั่วคราวของการผลิตในหมวดยานยนต์ ขณะที่ อัตราการว่างงานเดือน มิ.ย. 54 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ของกาลังแรงงานรวม ผลจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น 28,000 ตาแหน่ง จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนภาคการผลิตในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ ผลจากความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยล่าสุดกรีซถูก S&P และ Moody's ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ตลอดจนรัฐสภาสหรัฐฯ ยังไม่สามารถบรลุข้อตกลงเพดานหนี้ ประกอบกับสถานการณ์การเมืองไทยมั่นคงมากขึ้นหลังจากกกต.ประกาศรับรองสส.เพิ่มเติมจนสามารถเปิดประชุมสภาฯได้ ทาให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อหลักทรัพย์ในตลาดไทยมากขึ้น โดยทั้งสัปดาห์ (25-28 ก.ค. 54) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 8,929 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายที่คึกคัก และนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในระดับสูง โดยผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากแรงซื้อจากต่างชาติโดยตลาดมองว่าหากรัฐสภาสหรัฐฯ ไม่สามารถตกลงเรื่องเพดานหนี้ได้ จะมีแรงซื้อพันธบัตรระยะสั้นมหาศาล ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวสูงขึ้น จากการที่ตลาดมองว่ากนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในการประชุมครั้งต่อไป จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังคงมีอยู่
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 29.72 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 28 ก.ค. 54 แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.6 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค ผลจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงประกอบกับเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดทุนต่อเนื่อง ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.30 จากการที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ
  • ในขณะที่ราคาทองคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยราคาทองคาแตะระดับสูงสุดที่ 1,628 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในวันที่ 27 ก.ค. 54 ก่อนจะปิดด้วยราคาลดลงเล็กน้อย โดยส่วนนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลต่อสถานการณ์หนี้สาธารณะยุโรปและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเช่นทองคาเป็นจานวนมากต่อเนื่อง

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ