นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดสรุปได้ว่า นโยบายการคลังแบบขาดดุลของรัฐบาลยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 59,214 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 35,746 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายขยายตัวในอัตราที่สูง และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณจำนวน 23,468 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชดเชยการขาดดุลโดยการออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 11,500 ล้านบาท และใช้เงินคงคลัง จำนวน 47,714 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 119,643 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.5 โดยมีรายได้จากภาษีที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเบียร์ ภาษีรถยนต์ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากนั้นรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
2. รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 155,389 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 73.5 โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 147,936 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 82.0 คิดเป็นร้อยละ 8.9 ของวงเงินงบประมาณ (1,660,000 ล้านบาท)โดยมีการเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ๆ ได้แก่ รายจ่ายให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 12,000 ล้านบาท รายจ่ายให้กับกองทุนประกันสังคม 6,044 ล้านบาท รายจ่ายให้สำนักคณะกรรมการการเลือกตั้ง 5,563 ล้านบาท รายจ่ายบำเหน็จดำรงชีพ 2,300 ล้านบาท และการเบิกจ่ายงบลงทุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15,000 ล้านบาท และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 7,453 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.1 (ตารางที่1)
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนตุลาคม 2550
หน่วย: ล้านบาท
เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ 2551 ปีงบประมาณ 2550 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 147,936.01 81,266.44 66,669.57 82.04
1.1 รายจ่ายประจำ 121,123.34 75,534.56 45,588.78 60.35
1.2 รายจ่ายลงทุน 26,812.67 5,731.88 21,080.79 367.78
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 7,452.76 8,292.51 -839.75 -10.13
3. รายจ่ายรวม (1+2) 155,388.77 89,558.95 65,829.82 73.5
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
3. จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนตุลาคม 2550 ขาดดุล 35,746 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 23,468 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิจำนวน 19,000 ล้านบาท และการจ่ายเงินเหลื่อมจ่ายสุทธิจำนวน 3,209 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดขาดดุล 59,214 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลชดเชยการขาดดุลโดยออกพันธบัตรจำนวน 11,500 ล้านบาท และใช้เงินคงคลังจำนวน 47,714 ล้านบาท (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดเดือนตุลาคม 2550
หน่วย: ล้านบาท
เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ 2551 ปีงบประมาณ 2550 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 119,643.00 110,226.52 9,416.48 8.54
2. รายจ่าย 155,388.77 89,558.95 65,829.82 73.5
3. ดุลเงินงบประมาณ -35,745.77 20,667.57 -56,413.34 -272.96
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -23,468.59 -50,425.95 26,957.36 -53.46
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -59,214.36 -29,758.38 -29,455.98 98.98
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 11,500.00 - - -
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -47,714.36 -29,758.38 -17,955.98 60.34
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0 2273 9020 ต่อ 3555, 3558
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 100/2550 15 พฤศจิกายน 50--
1. รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 119,643 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.5 โดยมีรายได้จากภาษีที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเบียร์ ภาษีรถยนต์ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากนั้นรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
2. รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 155,389 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 73.5 โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 147,936 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 82.0 คิดเป็นร้อยละ 8.9 ของวงเงินงบประมาณ (1,660,000 ล้านบาท)โดยมีการเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ๆ ได้แก่ รายจ่ายให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 12,000 ล้านบาท รายจ่ายให้กับกองทุนประกันสังคม 6,044 ล้านบาท รายจ่ายให้สำนักคณะกรรมการการเลือกตั้ง 5,563 ล้านบาท รายจ่ายบำเหน็จดำรงชีพ 2,300 ล้านบาท และการเบิกจ่ายงบลงทุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15,000 ล้านบาท และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 7,453 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.1 (ตารางที่1)
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนตุลาคม 2550
หน่วย: ล้านบาท
เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ 2551 ปีงบประมาณ 2550 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 147,936.01 81,266.44 66,669.57 82.04
1.1 รายจ่ายประจำ 121,123.34 75,534.56 45,588.78 60.35
1.2 รายจ่ายลงทุน 26,812.67 5,731.88 21,080.79 367.78
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 7,452.76 8,292.51 -839.75 -10.13
3. รายจ่ายรวม (1+2) 155,388.77 89,558.95 65,829.82 73.5
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
3. จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนตุลาคม 2550 ขาดดุล 35,746 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 23,468 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิจำนวน 19,000 ล้านบาท และการจ่ายเงินเหลื่อมจ่ายสุทธิจำนวน 3,209 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดขาดดุล 59,214 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลชดเชยการขาดดุลโดยออกพันธบัตรจำนวน 11,500 ล้านบาท และใช้เงินคงคลังจำนวน 47,714 ล้านบาท (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดเดือนตุลาคม 2550
หน่วย: ล้านบาท
เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ 2551 ปีงบประมาณ 2550 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 119,643.00 110,226.52 9,416.48 8.54
2. รายจ่าย 155,388.77 89,558.95 65,829.82 73.5
3. ดุลเงินงบประมาณ -35,745.77 20,667.57 -56,413.34 -272.96
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -23,468.59 -50,425.95 26,957.36 -53.46
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -59,214.36 -29,758.38 -29,455.98 98.98
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 11,500.00 - - -
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -47,714.36 -29,758.38 -17,955.98 60.34
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0 2273 9020 ต่อ 3555, 3558
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 100/2550 15 พฤศจิกายน 50--