ตามที่ประเทศไทยได้ประสบอุทกภัยอันเนื่องมาจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศและส่งผลให้เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ในช่วงปี 2550 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน ดังนั้น กระทรวงการคลังและสถาบันการเงินของรัฐจึงได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2550 ดังนี้
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
1.1 กรณีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิต จะจำหน่ายออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญโดยธนาคารรับภาระเอง
1.2 กรณีเกษตรกรลูกค้าไม่เสียชีวิตและประสบภัยอย่างร้ายแรง
1) หนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัย
- ขยายระยะเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
- งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2550 - 2552 โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR - 1 ต่อปี (MRR ปัจจุบันเท่ากับ 7.5 ต่อปี)
1.3 การให้เงินกู้ใหม่แก่เกษตรกรลูกค้า เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต
1) ให้เงินกู้รายละไม่เกิน 30,000 บาท
2) ลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ธนาคารเรียกเก็บจากเกษตรกรลูกค้า ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี
3) กำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกร ลูกค้า ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะลดหย่อนหลักประกันการกู้เงินจากหลักเกณฑ์ปกติ ดังนี้
- กรณีกู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน ให้ขยายวงเงินกู้จากที่กู้ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของวงเงินจดทะเบียนจำนองเป็นให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินจดทะเบียนจำนอง
- กรณีกู้เงินโดยใช้กลุ่มลูกค้ารับรองรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ให้ขยายวงเงินในการประกันจากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท
2. ธนาคารออมสิน
2.1 กรณีลูกค้าสินเชื่อเดิมของธนาคาร ได้แก่ สินเชื่อเคหะ สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน และสินเชื่อธุรกิจห้องแถว ธนาคารจะให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
1) ปลอดชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน กรณีมีผลกระทบรุนแรง ให้ปลอดชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยได้เป็นเวลา 1 ปี
2) เฉพาะลูกค้าสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 1.00 ต่อเดือน เป็นร้อยละ 0.50 ต่อเดือน
2.2 กรณีประชาชนทั่วไป ทั้งที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเดิมและลูกค้าสินเชื่อใหม่
1) ให้กู้สินเชื่ออเนกประสงค์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น (การให้สินเชื่อโครงการประชาชน) โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 1.00 ต่อเดือน เป็นร้อยละ 0.50 ต่อเดือน
2) ให้กู้สินเชื่อบำรุงขวัญ เพื่อนำไปซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย ในวงเงินกู้สูงสุดไม่เกินรายละ 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR — 1.75 ต่อปี (MLR ปัจจุบันเท่ากับ 6.87 ต่อปี) โดยใช้บุคคลค้ำประกัน และหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน ทั้งนี้ ให้ยื่นความจำนงได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550
3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
3.1 การลดภาระหนี้ที่ผ่อนชำระ
1) ลดอัตราดอกเบี้ยให้คงเหลือร้อยละ 1 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน
2) ในช่วง 6 เดือน ผู้กู้ผ่อนชำระเงินงวดเฉพาะดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี
3) หลังจาก 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยและเงินงวดให้เป็นไปตามสัญญาเดิม
3.2 เงินกู้เพื่อปลูกสร้าง หรือซ่อมแซม หรือปรับปรุงอาคาร หรือไถ่ถอนจำนองและซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคาร
1) ให้กู้ไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร หรือค่าซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคาร
2) คิดอัตราดอกเบี้ยปีแรกในอัตราร้อยละ MRR-2 ต่อปี (MRR ปัจจุบันเท่ากับ 7.5 ต่อปี) หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยประเภทลอยตัวพิเศษตามประกาศธนาคาร
3.3 การให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ
กรณีอาคารที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ตามการตรวจสอบของธนาคาร ธนาคารจะพิจารณาปลดภาระหนี้ เฉพาะภาระหนี้ตามยอดหนี้คงเหลือในส่วนของอาคาร โดยผู้กู้ผ่อนชำระหนี้ในส่วนของที่ดินคงเหลือ (ถ้ามี) ในอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม
ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้สิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ระยะเวลาในการทำนิติกรรมสิ้นสุดวันที่ 28 ธันวาคม 2550
4. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายและพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โทร 0 2273 9020 ต่อ 3246
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 99/2550 14 พฤศจิกายน 50--
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
1.1 กรณีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิต จะจำหน่ายออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญโดยธนาคารรับภาระเอง
1.2 กรณีเกษตรกรลูกค้าไม่เสียชีวิตและประสบภัยอย่างร้ายแรง
1) หนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัย
- ขยายระยะเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
- งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2550 - 2552 โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR - 1 ต่อปี (MRR ปัจจุบันเท่ากับ 7.5 ต่อปี)
1.3 การให้เงินกู้ใหม่แก่เกษตรกรลูกค้า เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต
1) ให้เงินกู้รายละไม่เกิน 30,000 บาท
2) ลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ธนาคารเรียกเก็บจากเกษตรกรลูกค้า ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี
3) กำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกร ลูกค้า ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะลดหย่อนหลักประกันการกู้เงินจากหลักเกณฑ์ปกติ ดังนี้
- กรณีกู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน ให้ขยายวงเงินกู้จากที่กู้ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของวงเงินจดทะเบียนจำนองเป็นให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินจดทะเบียนจำนอง
- กรณีกู้เงินโดยใช้กลุ่มลูกค้ารับรองรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ให้ขยายวงเงินในการประกันจากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท
2. ธนาคารออมสิน
2.1 กรณีลูกค้าสินเชื่อเดิมของธนาคาร ได้แก่ สินเชื่อเคหะ สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน และสินเชื่อธุรกิจห้องแถว ธนาคารจะให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
1) ปลอดชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน กรณีมีผลกระทบรุนแรง ให้ปลอดชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยได้เป็นเวลา 1 ปี
2) เฉพาะลูกค้าสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 1.00 ต่อเดือน เป็นร้อยละ 0.50 ต่อเดือน
2.2 กรณีประชาชนทั่วไป ทั้งที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเดิมและลูกค้าสินเชื่อใหม่
1) ให้กู้สินเชื่ออเนกประสงค์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น (การให้สินเชื่อโครงการประชาชน) โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 1.00 ต่อเดือน เป็นร้อยละ 0.50 ต่อเดือน
2) ให้กู้สินเชื่อบำรุงขวัญ เพื่อนำไปซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย ในวงเงินกู้สูงสุดไม่เกินรายละ 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR — 1.75 ต่อปี (MLR ปัจจุบันเท่ากับ 6.87 ต่อปี) โดยใช้บุคคลค้ำประกัน และหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน ทั้งนี้ ให้ยื่นความจำนงได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550
3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
3.1 การลดภาระหนี้ที่ผ่อนชำระ
1) ลดอัตราดอกเบี้ยให้คงเหลือร้อยละ 1 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน
2) ในช่วง 6 เดือน ผู้กู้ผ่อนชำระเงินงวดเฉพาะดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี
3) หลังจาก 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยและเงินงวดให้เป็นไปตามสัญญาเดิม
3.2 เงินกู้เพื่อปลูกสร้าง หรือซ่อมแซม หรือปรับปรุงอาคาร หรือไถ่ถอนจำนองและซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคาร
1) ให้กู้ไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร หรือค่าซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคาร
2) คิดอัตราดอกเบี้ยปีแรกในอัตราร้อยละ MRR-2 ต่อปี (MRR ปัจจุบันเท่ากับ 7.5 ต่อปี) หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยประเภทลอยตัวพิเศษตามประกาศธนาคาร
3.3 การให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ
กรณีอาคารที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ตามการตรวจสอบของธนาคาร ธนาคารจะพิจารณาปลดภาระหนี้ เฉพาะภาระหนี้ตามยอดหนี้คงเหลือในส่วนของอาคาร โดยผู้กู้ผ่อนชำระหนี้ในส่วนของที่ดินคงเหลือ (ถ้ามี) ในอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม
ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้สิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ระยะเวลาในการทำนิติกรรมสิ้นสุดวันที่ 28 ธันวาคม 2550
4. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายและพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โทร 0 2273 9020 ต่อ 3246
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 99/2550 14 พฤศจิกายน 50--