รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 8 - 11 สิงหาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 15, 2011 10:40 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 18.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดชั นีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกบั ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ก.ค.54 อยู่ที่ระดับ 74.4
  • สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์เดือน มิ.ย.54 อยู่ที่ 2.1 ล้านล้านบาท
  • มูลค่าส่งออกและนำเข้าของจีนในเดือน ก.ค.54 ขยายตวัร้อยละ 20.4 และร้อยละ 22.9 จากช่วงเดียวกนั ของปี ก่อน
ตามลาดบั
  • S&P ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ลงจากระดับ AAA สู่ระดบั AA+
  • อัตราการว่างงานสหรัฐฯ ในเดือน ก.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 9.1 ของกำลังแรงงานรวม
  • GDP อนิ โดนีเซีย ในไตรมาสที่ 2 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วยเดียวกันปีก่อน
  • GDP สิงคโปร์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วยเดียวกันปีก่อน
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Jul: TISI (Level)                     110.7               107.4
  • โดยได้รับปัจจัยบวกจากอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่การเมืองมีความชัดเจนมากขึ้นทำให้คาดว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและนักลงทุนจะเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามผู้ประกอบการอาจมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ามัน
Economic Indicators: This Week
  • นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ค. 54 มีจานวน 1.52 ล้านคน ขยายตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.8 แต่ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 53.9 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปรับตัวเข้าสู่ระดับฐานปกติเนื่องจากไดรั้บผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองช่วงเดือน มี.ค. - มิ.ย.53 อย่างไรก็ตามกลุ่มประเทศที่ยังคงขยายตัวไดดี้ในระดับสูงยังคงเป็นกลุ่มประเทศเอเชีย ได้แก่ จีน เวียดนาม และ ญี่ปุ่น โดยขยายตัวร้อยละ 57.0 67.8 และ 33.6 ตามลำดับ ส่งผลให้ 7 เดือนแรกปี 54 มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 11.2 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 26.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 18.2 เนื่องจากในช่วงเดือนพ.ค.-ม. ย.54 อยู่ในช่วงการเลือกตั้งใหม่ ทำใหมี้เม็ดเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจ ส่งผลดีต่อปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ให้ขยายตัวในอัตราเร่ง อย่างไรก็ตาม ถือได้ว่าปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยมีปัจจัยบวกจากกำลังซื้อของประชาชนยังขยายตัวต่อเนื่องสะท้อนจากอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ และรายได้เกษตกรที่ยังขยายตัวตามราคาพืชผลทางการเกษตรที่ยี่งทรงตัวในระดับสูง
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ก.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 74.4 จากเดือนก่อนอยู่ที่ระดับ 2.3 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) ความคาดหวังในเชิงบวกของประชาชนต่อนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ และ 2) รายได้ภาคครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งรายได้จากการส่งออก การท่องเที่ยว และรายได้ของเกษตรกรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงกังวลเรื่องค่าครองชีพและราคาสินค้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
  • สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์เดือนมิ.ย.54 อยู่ที่ 2.1 ล้านล้านบาท ปรับตัวลดลงกว่า 1.7 แสนล้านบาทจากเดือนก่อนหน้าจากสินเชื่อที่ขยายตัวเร่งขึ้นมาก โดนในเดือน มิ.ย.54 สินเชื่อขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจากความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทั้งในส่วนของภาคการบริโภคและธุรกิจขณะที่เงินฝากรวมตั๋วแลกเงินปรับตัวเพิ่มขึ้นในปริมาณที่น้อยกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อ โดยเงินฝากในเดือน มิ.ย.54 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว )
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมี่นภาคภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค. 54 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 110.7 เพิ่มขึ้นจากเดืนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 07.4 โดยได้รับปัจจัยบวกจากอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่การเมืองมีความชัดเจนมากขึ้นทำให้คาดว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและนักลงทุนจะเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามผู้ประกอบการอาจมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบ อัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมัน

Global Economic Indicators: This Week

USA: Mixed signal
  • S&P ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ลงจากระดับ AAA สู่ระดบั AA+ จากความกังวลต่อการตัดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐที่น้อยเกินไป อย่างไรก็ตาม Moody’s และ Fitch ยังคงอันดับความน่าลงทุนของพันธบัตรสหรัฐฯ ไว้ที่ระดับ triple A การจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 117,000 ตำแหน่งงานสำหรับรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงขยายตัวร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้าหรือร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนสะท้อนสัญญาณที่ดีขึ้นในภาคการจ้างงานสอดคล้องกับด้านอัตราการว่างงานในเดือน ก.ค.54 ที่ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 9.1 ของกำลังแรงงานรวม
China: Mixed signal
  • การลงทุนในเขตเมืองช่วง 7 เดือนแรกของปี (ม.ค.—ก.ค.54 ) ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 25.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.54 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 14.0 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อนยอดค้าปลีกเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 17.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดขายรถยนต์ขยายตัวที่ร้อยละ11.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ค.54 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาอาหารที่ขยายตัวร้อยละ 14.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นสำคัญ โดยการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ22.3 และร้อยละ 27.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดุลการค้าในเดือน ก.ค.54 เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 20.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Japan: Mixed signal
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ค.54 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 37.0 สะท้อนแนวโน้มที่ขึ้นของผู้บริโภคต่อการจ้างงานและรายได้
Indonesia: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงกว่าระดับร้อยละ 6 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 จากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 57 ของGDP ที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเป็นสำคัญ การส่งออกเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 49.4เมื่อเทียบกบั ช่วงเดียวกนั ของปี ก่อนหน้า ในขณะที่การนาเข้าขยายตวั ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ทรี่ อยละ 28.3 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Singapore: Mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวที่ร้อยละ -1.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) จากการชะลอตัวของภาคการส่งออกและการหดตัวของการสะสมสินค้าคงคลัง เป็นสำคัญ
Taiwan: improving economic trend
  • มูลค่าส่งออกเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 17.6 จากช่วงเดียวกนั ปี ก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ10.8 จากการขยายตัวเร่งขึ้นของการส่งออกไปยังจีนและสหรัฐฯ เป็นสำคัญ โดยการส่งออกสินค้า ในหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือสื่อสารขยายตัวเร่งขึ้นชัดเจน ขณะที่การนำเข้าเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 14.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนนอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนจากราคาผลไม้สดและราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง
South Korea: Mixed signal
  • อัตราการว่างงานเดือน ก.ค.54 ทรงตัวอยู่ในระดับไม่สูงมากนักและใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที้ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงานรวมจากการจ้างงานที่เพิ่มสูงขึ้น 3.3 แสนคนในช่วงดังกล่าว สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้อย่างต่อเนื่อง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ผันผวนสูงและปรับตัวลดลงมากจากสัปดาห์ก่อนหน้า สู่ระดับต่ำกว่า 1,100 จุด จากที่ S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สู่ระดับ AA+ ก่อให้เกิดความหวาดกลัวและมีการเทขายในตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ของไทย อย่างไรก็ตามดัชนีฯ ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์หลังจากนักลงทุนคลายความตนื่ตระหนกลง ประกอบกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศคงอัตราดอกเบยี้ ในระดับต่ำไปจนถึงกลางปี 56 โดยทั้งสัปดาห์ (8-10 ส.ค. 54) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -16,112 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายที่คึกคัก และนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในระดับสูง โดยทั้งสัปดาห์ (8-10 ส.ค.54) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิถึง 10,480 ล้านบาท โดยผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวลดลงเล็กน้อย ผลจากแรงซื้อจำนวนมาก หลังจากนักลงทุนเทขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แล้วเข้ามาซื้อพันธบัตรแทนประกอบกับผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ลดลง
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย โดยปิดที่ระดับ 29.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 10 ส.ค. 54 อ่อนค่าลงรอ้ ยละ -0.27 จากสัปดาห์ก่อนหน้าสอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยประกอบกับเงินทุนไหลออก ผลจากการปรับลดอันดับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ทำให้เกิดความแตกตื่นในตลาดการเงินทั่วโลก ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.05 จากการที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ
  • ในขณะที่ราคาทองคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยราคาทองคำแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1,814 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในเช้าวันที่ 11 ส.ค. 54 ผลจากความกังวลต่อการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ดังกล่าว ส่งผลใหนั้กลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเช่นทองคำเป็นจำนวนมาก

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ