รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 15 - 19 สิงหาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 22, 2011 11:32 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน ก.ค. 2554 มีจานวนทั้งสิ้น 104.07 พันล้านบาท
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ก.ค. 54 มีมูลค่า 43.4 พันล้านบาท
  • ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 43.5
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 105.2
  • ปริมาณจาหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 8.6
  • GDP ของยูโรโซนในไตรมาส 2 ปี 54 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ของญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 54 หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ที่ร้อยละ -1.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • GDP ของมาเลซีย ไตรมาส 2 ปี 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. 54 คงที่ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Jul: API (%yoy)                       -3.0                -8.14
  • เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออานวยต่อการผลิตและเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบจากน้าท่วมขังในหลายพื้นที่ ส่วนพื้นที่ภาคใต้ฝนตกชุกหนาแน่น ทาให้เกษตรกรกรีดยางได้ผลผลิตลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี ยังคงเป็นปัจจัยบวกที่ทาให้ผลผลิตสินค้าเกษตรไม่หดตัวลงมากหนัก
Economic Indicators: This Week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน ก.ค. 54 มีจำนวนทั้งสิ้น 104.07 พันล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -14.9 เนื่องจากมีการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันทำให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันต่ำกว่าประมาณการ สำหรับภาษีฐานบริโภคได้แก่ภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 8.3 และภาษีฐานรายได้ ได้แก่ภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 4.5 สะท้อนถึงรายได้ประชาชนที่สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือนก.ค. 54 มีมูลค่า 43.4 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.0 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกหดตัวร้อยละ -9.9 โดยปัจจัยหลักมาจากปัจจัยฐานสูงของช่วงเดียวกันของปีก่อน ในช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย 54 อยู่ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้เมื่อพิจารณาภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 13.4 บ่งชี้ถึงการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ดี
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 43.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนกลับมาขยายตัวเป็นบวกจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -11.1 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกหดตัวร้อยละ -5.8 โดยการขยายตัวดังกล่าวเป็นผลมาจากปัจจัยฐานต่ำของช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสิ้นสุดมาตราการภาษีเพื่อช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ดี แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอุปสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 16.0
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 105.2 ปรับลดลงเป็นเดือนที่ 2 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 107.4 โดยได้รับปัจจัยลบจากความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบ นโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ราคาพลังงานที่ทรงตัวในระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาทเป็นอุปสรรคต่อภาคการส่งออก และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คงมีความเปราะบาง อย่างไรก็ดีดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 แสดงว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการยังอยู่ในระดับที่ดีอยู่
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศเดือน ก.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาล ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากระดับการลงทุนของปีก่อนที่เริ่มเข้าสู่ระดับปกติภายหลังจากมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลสิ้นสุดลง รวมทั้งผู้รับเหมาได้สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างไว้ล่วงหน้าจากแนวโน้มของราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน ก.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.7
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ค. 54 มีจำนวน 3.23 หมื่นคัน ขยายตัวร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน ปรับตัวเป็นบวกหลังจากหดตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 7.7 เป็นผลมาจากกำลังการผลิตกลับเข้าสู่ภาวะปกติของค่ายผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น ทำให้สามารถส่งมอบรถให้กับผู้บริโภคได้เร็วขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนได้จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) ในเดือนก.ค. 54 ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 74.4 จากระดับ 72.3 ในเดือนมิ.ย. 54 รวมถึงการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในช่วง 7 เดือนแรกของปี 54 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 225.8 แสนคัน ขยายตัวร้อยละ 24.0
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ค. 54 มีจำนวน 4.62 หมื่นคัน ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อน กลับมาขยายตัวเป็นบวกจากที่หดตัว 2 เดือนติดต่อกัน และเมือขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 7.5 จากกำลังการผลิตที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และบริษัทรถยนต์สามารถส่งมอบรถยนต์ได้เร็วขึ้นกว่าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ประกอบกับการจัดกิจกรรมทางการตลาดรูปแบบใหม่ๆ ของค่ายรถยนต์ โดยปริมาณรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั้งหมด ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 54 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 279.1 แสนคัน ขยายตัวร้อยละ 16.2
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค.54 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ หดตัวร้อยละ -8.1 เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการผลิตและเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ส่วนพื้นที่ภาคใต้ฝนตกชุกหนาแน่น ทำให้เกษตกรกรีดยางลดลงได้ผลผลิตลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาสินค้าเกษตรที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ยังคงเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรไม่หดตัวลงมากนัก

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: Mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 54 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) โดยเศรษฐกิจเยอรมันและฝรั่งเศสขยายตัวร้อยละ 0.1 และร้อยละ 0.0 จากไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ มูลค่าส่งออกเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 19 เดือนที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าเดือน มิ.ย. 54 ขยายต่ำที่สุดในรอบ 17 เดือนที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 0.919 พันล้านยูโร เงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น) เดือน ก.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
Japan: Mixed signal
  • Japan GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 54 หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ที่ร้อยละ -1.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือหดตัวร้อยละ -0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) โดยการบริโภคภาครัฐและการสะสมสินค้าคงคลังส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัว (Contribution to growth) ที่ร้อยละ 0.4 และร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกสุทธิและการบริโภคภาคเอกชนส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ -1.4 และร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ มูลค่าส่งออกเดือน ก.ค 54 หดตัวร้อยละ -3.3 ขณะที่มูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 9.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
USA: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ค. 54 คงที่ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) จากยอดผลิตรถยนต์ที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากเดือนก่อนหน้าซึ่งนับเป็นการขยายตัวของยอดผลิตรถยนต์เป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ยอดอนุมัติสร้างบ้านใหม่เดือน ก.ค. 54 หดตัวร้อยละ -3.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) มาอยู่ที่ระดับ 5.97 แสนหลังต่อปี ยอดขายบ้าน (Existing Home Sales) เดือน ก.ค. 54 หดตัวร้อยละ -3.5 จากเดือนก่อนหน้า
Malaysia: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า(%qoq_sa) จากภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอลง ปัจจัยฐานสูงในปีก่อนหน้า และเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวอย่างเปราะบาง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ทั้งจากการบริโภคและการลงทุน ภาคเอกชน ขณะที่เล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สะท้อนแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ลดลง
Singapore: Mixed signal
  • มูลค่าส่งออกไม่รวมน้ำมันเชื้อเพลิง (Non-oil export) เดือน ก.ค. 54 เดือน ก.ค. 54 หดตัวมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 52 ที่ร้อยละ -2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการหดตัวของการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ซึ่งเป็นการเพิ่มความวิตกกังวลว่าสิงคโปร์อาจเผชิญภาวะถดถอย ในขณะที่ความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกสูงขึ้น
Taiwan: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 54 (ปรับปรุง) ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากภาคส่งออกที่ขยายตัวชะลอลง สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มแผ่วลงขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง
India: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ (WPI) เดือน ก.ค. 54 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) จากราคาอาหารและน้ำมัน รวมถึงราคาสินค้าภาคอุตสาหกรรมที่ปรับเพิ่มขึ้น สะท้อนแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า แต่ยังคงมีความผันผวน โดยในวันที่ 18 ส.ค. ระหว่างวัน ดัชนีปรับขึ้นเกินระดับ 1,100 จุด ก่อนจะลงมาปิดที่ระดับ 1,089 ณ สิ้นวัน จากที่นักลงทุนเริ่มคลายความตื่นตระหนกจากการปรับลดอันดับความน่าเชื่อของสหรัฐฯ ประกอบกับตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดผลิตรถยนต์ที่ขยายตัวดี โดยทั้งสัปดาห์ (15-18 ส.ค. 54) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเพียง -590 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายที่คึกคัก และนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในระดับสูง โดยทั้งสัปดาห์ (15-18 ส.ค.54) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิถึง 3,899 ล้านบาท โดยผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ จากการที่ตลาดมองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงทางการขยายตัวของเศรษฐกิจอยู่ อย่างไรก็ตาม มีแรงขายเพื่อทำกำไรในช่วงปลายสัปดาห์ ทำให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย โดยปิดที่ระดับ 29.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 18 ส.ค. 54 แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.03 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อย ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.11 จากการที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ
  • ในขณะที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยราคาทองคำปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1,824 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในวันที่ 18 ส.ค. 54 ผลจากความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเช่นทองคำเป็นจำนวนมาก

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ