รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 22 - 26 สิงหาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 29, 2011 12:12 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 54 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ก.ค. 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจานวน 143.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • วันที่ 24 ส.ค. 2554 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.50
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ค. 54 หดตัว ร้อยละ -1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) หดตัวร้อยละ -7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การส่งออกสินค้าในเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 38.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนาเข้าขยายตัวร้อยละ 13.5
  • Moody's ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรญี่ปุ่นลง 1 ระดับลงสู่ระดับ Aa3
  • ดัชนีคาสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิตภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป ในเดือน ส.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 49.7
  • อัตราเงินเฟ้อสิงคโปร์ ในเดือน ก.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Jul: Inflation (%yoy)                 4.3                  4.1
  • เนื่องจากคาดว่า 1) ราคาข้าวที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบจากน้าท่วมทาให้ผลิตผลออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับโรงสีและพ่อค้าคนกลางมีการเก็งกาไรจากมาตรการการรับจานาข้าวของรัฐบาลชุดใหม่ 2) ราคาเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อสุกรที่ยังคงมีราคาที่ค่อนข้างสูงประกอบกับเป็นช่วงสารทจีน และ 3) ราคาผักและผลไม้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปัญหาน้าท่วมที่ส่งผลทาให้ผลผลิตลดลง ทั้งนี้อาจส่งผลต่อเนื่องให้ราคาอาหารสาเร็จรูปปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.4 (%mom) เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2
Economic Indicators: This Week
  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 54 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 54 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 และเมื่อพิจารณาผลของฤดูกาลออก (QoQ_SA) พบว่าหดตัวร้อยละ -0.2 โดยเป็นการชะลอลงในด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการผลิตลดลงจากผลกระทบจากของภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีในด้านอุปสงค์ พบว่ายังขยายตัวได้ดี ทั้งการส่งออกและบริการ การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวรอ้ยละ 19.0 2.8 และ 8.6 ตามลาดับ ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในช่วง 6 เดือนแรกปี 54 ขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ก.ค. 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจานวน 143.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือน ก.ค. 54 มีการเบิกจ่ายงบประมาณประจาปีงบประมาณจานวน 138.4 พันล้านบาท แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจาจานวน 120.3 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -3.6 (2) รายจ่ายลงทุนจานวน 18.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 76.2 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายสะสมในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจานวน 1,840.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 24.3 ประกอบด้วยการเบิกจ่ายงบประมาณประจาปีจานวน 1,730.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 28.9 หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 79.7 ของกรอบวงเงิน 2.16 ล้านล้านบาท ขณะที่รายจ่ายประจาเบิกจ่ายได้จานวน 1,521.9 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จานวน 208.5 พันล้านบาท นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ วันที่ 19 ส.ค. 54 สามารถเบิกจ่ายสะสมได้ทั้งสิ้นจานวน 288.2 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายสะสมร้อยละ 82.4 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจานวน 350.0 พันล้านบาท
  • จากการวิเคราะห์ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ค. 54 พบว่าดุลงบประมาณขาดดุลจานวน -41.4 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจานวน 10.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ขาดดุลจานวน -30.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจานวน 8.0 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินขาดดุลจานวน -22.5 พันล้านบาท สาหรับฐานะการคลังในช่วง 9 เดือน ของปีงบประมาณ 54 ดุลงบประมาณขาดดุลจานวน -348.5 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจานวน 55.2 พันล้านบาท ทาให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (หลังกู้) จานวน -146.5 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 54 มีจานวน 278.5 พันล้านบาท
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย.54 มีจานวนทั้งสิ้น 4,263.4 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 15.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อย ละ 40.69 ของ GDP ทั้งนี้ การลดลงของหนี้สาธารณะที่สาคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลงสุทธิ 16.3 พันล้านบาท สะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยมีความมั่นคง เนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ากว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
  • วันที่ 24 ส.ค. 2554 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.50 โดยให้เหตุผลว่า แม้ความเสี่ยงของการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะสูงขึ้นจากการประชุมครั้งที่แล้ว เนื่องจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น แต่ในภาพรวม เศรษฐกิจไทยยังมีแรงขับเคลื่อนให้ขยายตัวได้ ในขณะที่ความเสี่ยงดานเงินเฟ้อในอนาคตก็สูงขึ้นเช่นกัน ประกอบกับระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ากวาปกติ คณะกรรมการฯ จึงปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เข้าใกล้ระดับสมดุลมากขึ้น เพื่อดูแลแรงกดดันเงินเฟ้อในอนาคต
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) ในเดือน ก.ค.54 หดตัวร้อยละ -7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัว ร้อยละ -8.1 ตามการลดลงของผลผลิตสาคัญ อาทิ ข้าว และยางพาราเป็นสาคัญส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออานวยต่อการผลิตและเก็บเกี่ยว ในขณะที่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ขยายตัวต่อเนื่องตามผลผลิตสุกรและไก่เนื้อที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 และร้อยละ 4.6 จากเดือนมิ.ย.54 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 และร้อยละ 2.4 ตามลาดับ โดยได้รับปัจจัยบวกจากราคาปศุสัตว์ที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรมีเพาะเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกปี 54 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) ในเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อย ละ 12.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานสูงเมื่อปีก่อนที่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราเร่งตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปทานค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยประสบปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกปี 54 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 19.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของหมวดพืชผลสาคัญ โดยเฉพาะยางพารา และมันสาปะหลัง ส่งผลให้รายได้รายเกษตกรที่แท้จริง(หักอัตราเงินเฟ้อชนบท) ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 23.2
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ค. 54 หดตัว ร้อยละ -1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งกลับมาหดตัวอีกครั้งจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ในเดือน มิ.ย.54 โดยมีปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย การปั่นการทอและอุปกรณ์วิทยุ โทรทัศน์ สาเหตุหลักมาจากราคาวัตถุดิบในการผลิตที่ยังคงมีราคาสูงโดยเฉพาะฝ้าย ในส่วนของอุปกรณ์วิทยุโทรทัศน์เป็นผลมาจากชิ้นส่วนที่เป็นส่วนประกอบในการทาแผงวงจรวิทยุโทรทัศน์ (Inegrated Cricuits : IC) สอดคล้องกับอัตราการใช้กาลังการผลิตที่การปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน
  • การส่งออกสินค้าในเดือน ก.ค. 54 สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ อยู่ที่ 21,521 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 38.3 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.8 เป็นผลจากสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 38.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวแทบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะในหมวดสินค้ายานยนต์ที่ขยายตัวร้อยละ 15.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 และหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งหลังจากที่หดตัวในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ยังเป็นผลมาจากการส่งออกทองคาที่สูงมากเนื่องจากราคาส่งออกทองคาอยู่ในระดับสูง ในขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 7.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 43.1 ส่งผลให้การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรก ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน ก.ค. 54 อยู่ที่ 18,723.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หน้า ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 26.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการหดตัวของหมวดสินค้าวัตถุดิบและยานยนต์ ที่หดตัวร้อยละ -3.7 และ -2.1 ตามลาดับ ในขณะที่การนาเข้าสินค้าเชื้อเพลิงขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 60.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.1 ส่งผลให้ 7 เดือนแรกปี 54 การนาเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 26.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ จากการที่มูลค่าการส่งออกสินค้าสูงกว่ามูลค่าการนาเข้าสินค้า ทาให้ดุลการค้าเดือน ก.ค. 54 เกินดุล 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Economic Indicators: Next Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค. 54 คาดว่าเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4.3 เทียบกับร้อยละ 4.1 ในเดือนก่อนหน้า คาดว่าการเร่งตัวขึ้นจากปีที่แล้วจะเป็นผลมาจาก 1) ราคาข้าวที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบจากน้าท่วมทาให้ผลิตผลออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับโรงสีและพ่อค้าคนกลางมีการเก็งกาไรจากมาตรการการรับจานาข้าวของรัฐบาลชุดใหม่ 2) ราคาเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อสุกรที่ยังคงมีราคาที่ค่อนข้างสูงประกอบกับเป็นช่วงสารทจีน และ 3) ราคาผักและผลไม้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปัญหาน้าท่วมที่ส่งผลทาให้ผลผลิตลดลง ทั้งนี้อาจส่งผลต่อเนื่องให้ราคาอาหารสาเร็จรูปปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะสูงขึ้นที่ร้อยละ 0.4 (%mom) เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: Mixed signal
  • ดัชนีคาสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 54 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 49.7 บ่งชี้การหดตัวในภาคการผลิต ขณะที่คาส่งดังกล่าวในภาคบริการยังคงขยายตัวเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 51.5 ส่งผลให้ดัชนีคาสั่งซื้อโดยรวมคงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.1 คาสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรม (Industrial New Order) เดือน มิ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -0.7 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) แต่ขยายตัวร้อยละ 11.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเมื่อหักคาสั่งซื้อสินค้าหมวดยานพาหนะพบว่าหดตัวร้อยละ -3.0 จากเดือนก่อนหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ส.ค. 54 (เบื้องต้น) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ -16.6 ต่าที่สุดในรอบ 15 เดือน บ่งชี้แรงกดดันต่อการบริโภค
Japan: Mixed signal
  • Moody's ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรญี่ปุ่นลง 1 ระดับลงสู่ระดับ Aa3 ต่ากว่าระดับสูงที่สุด 3 ระดับ นับเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบ 9 ปี จากความกังวลต่อปัญหาหนี้สาธารณะและเสถียรภาพทางการเมือง
USA: Mixed signal
  • ยอดขายบ้านใหม่ (New Home Sales) เดือน ก.ค. 54 อยู่ในระดับต่าที่สุดในรอบ 5 เดือนที่ 298,000 ล้านหลังต่อปี หรือหดตัวร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) ราคาบ้านเดือน มิ.ย. 54 หดตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.9 (%mom) ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ราคาบ้านหดตัวร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอุปธานบ้านในตลาดที่มีมากจากการยึดบ้าน คาสั่งซื้อสินค้าคงทน (Durable Goods Order) เดือน ก.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากคาสั่งซื้อเครื่องบินและรถยนต์ที่ขยายตัวร้อยละ 43.4 และร้อยละ 11.5 จากเดือนก่อนหน้า ตามลาดับ และเมื่อหักคาสั่งซื้อสินค้าหมวดขนส่งจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า
Singapore: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ค. 54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากราคาที่อยู่อาศัย ค่าขนส่งภาคเอกชน รวมถึงราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าสะท้อนแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงเพิ่มขึ้น และเพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารกลางของสิงคโปร์ใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวต่อเนื่องในระยะต่อไป
Taiwan: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 2.4 จากเดือนก่อนหน้า จากการก่อสร้างอาคารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ขณะที่อัตราการว่างงานเดือน ก.ค. 54 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ของกาลังแรงงานรวม จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น
Hong Kong: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี การค้ายังคงขยายตัวได้ดี โดยมูลค่าส่งออกเดือน ก.ค 54 ขยายตัวร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และมูลค่าการนาเข้าขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Philippines: improving economic trend
  • มูลค่านาเข้าเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากปริมาณการนาเข้าสินแร่และเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่การนาเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลง
South Korea: Mixed signal
  • South Korea ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ค. 54 อยู่ที่ระดับต่าสุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 99 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยล่าสุดในเดือน ก.ค. 54 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอลง
Weekly Financial Indicators
  • ปัจจัยภายในประเทศด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทย ดัชนี SET ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องทั้ง สัปดาห์ โดยดัชนีปรับตัวลดลงติดต่อกัน 4 วันนับตั้งแต่ต้นสัปดาห์ โดยมาปิดที่ระดับ 1,250 จุด ณ วันที่ 25 ส.ค. 54 จากที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้นักต่างชาติขายหลักทรัพย์ไทยสุทธิอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 14,071 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายที่คึกคักน้อยกว่าสัปดาห์ก่อนหน้า จากการที่นัก ลงทุนชะลอการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากมีการคาดการ์ว่า ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ ๆ โดยเฉพาะผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น ทั้งนี้ ทั้งสัปดาห์ (22-25 ส.ค.54) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,444 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ ก่อนหน้าเล็กน้อย โดยปิดที่ระดับ 29.94 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 25 ส.ค. 54 อ่อนค่าลงร้อยละ -0.27 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคต่างแข็งค่าขึ้น เนื่องจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อย ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.38 จากการที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในขณะที่ค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ต่างแข็งค่าขึ้น
  • ในขณะที่ราคาทองคาปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยราคาทองคาปรับตัวลดลงติดต่อกัน3 วัน (23-25 ส.ค. 54) หลังราคาทองคาปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1,897 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ณ ต้นสัปดาห์ โดยเป็นผลมาจากนักลงทุนเริ่มคลายความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ส่งผลให้นักลงทุนขายทองคาเป็นออกมาบางส่วน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ