ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้
1. แผนบริหารการคลังระยะกลางได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
2. รัฐบาลคาดว่ายอดภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ของพื้นที่ประสบภัย 3 จังหวัดลดลง 1.1หมื่นล้านเยน
3. เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ 1.3 ในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2554
4. การส่งออกประจาเดือนกรกฎาคม ลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า
----------------------------------- 1.แผนบริหารการคลังระยะกลางได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2554 รัฐบาลเปิดเผยว่าแผนบริหารการคลังระยะกลางนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 ไปเป็นระยะเวลา 3 ปีที่จัดทาโดย Cabinet Office ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยมีเป้าหมายจะควบคุมยอดงบประมาณที่ไม่รวมยอดการออกพันธบัตรรัฐบาลให้อยู่ในวงเงิน 71 ล้านล้านเยน และควบคุมยอดการออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมไม่ให้เกิน 44 ล้านล้านเยน ซึ่งงบประมาณสาหรับการฟื้นฟูความเสียหายจากเหตุการณ์ภัยพิบัตินั้นจะแยกออกไปเป็นงบประมาณอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ Cabinet Office ยังได้เสนอแผนบริหารเศรษฐกิจการคลังระยะกลางต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยสาระสาคัญเกี่ยวกับการขึ้นอัตราภาษีบริโภคเป็นร้อยละ 10 ภายในปี 2558 จากปัจจุบันที่มีอัตราร้อยละ 5 นอกจากนี้ Cabinet Office ยังได้คาดการณ์ว่ายอดบัญชี Primary Balance ในปี 2563 จะขาดดุลประมาณ 17.6 — 18.3 ล้านล้านเยน ซึ่งหากรัฐบาลต้องการที่จะแก้ไขให้เป็นการเกินดุลบัญชีจะต้องปรับเพิ่มอัตราภาษีบริโภคขึ้นอีกประมาณร้อยละ 6 -7 เพิ่มเติมจากการขึ้นอัตราภาษีเป็นร้อยละ 10 ภายในปี 2558 โดยนาย Yoshihiko Noda รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่าถึงแม้จะมีการปรับขึ้นอัตราภาษีบริโภคเป็นร้อยละ 10 ในปี 2558 รัฐบาลก็จะพิจารณาปรับปรุงการใช้จ่ายของรัฐบาลต่อไป และยังได้กล่าวว่าการขึ้นอัตราภาษีบริโภคนั้นเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ในการฟื้นฟูสถานะการคลังของประเทศญี่ปุ่น
เหตุการณ์ภัยพิบัติและปัญหาโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ได้ส่งผลให้รถยนต์ในพื้นที่ประสบภัย 3 จังหวัดคือจังหวัดMiyagi จังหวัดIwate และจังหวัดFukushima ได้รับความเสียหายและไม่สามารถใช้งานได้เป็นจานวนมากส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่ายอดภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ที่เป็นแหล่งงบประมาณสาคัญของทั้ง 3 จังหวัดนั้นจะลดลงประมาณ 1.1 หมื่นล้านเยน โดยอดการลงทะเบียนรถยนต์ของ 3 จังหวัดนั้นมีจานวนประมาณเท่ากับ 2.34 ล้านคันซึ่งมียอดภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ประมาณ 8.33 หมื่นล้านเยน ซึ่งภายหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ทาให้รถยนต์นั้นได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากเช่นจังหวัด Miyagi ที่เดิมมียอดการลงทะเบียนรถยนต์เป็นจานวนประมาณ 9.35 แสนคันนั้นมีรถยนต์ได้รับความเสียหายประมาณ 1.46 แสนคันส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่ายอดภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์นั้นจะลดลงประมาณร้อยละ 10 หรือเท่ากับ 3.4 พันล้านเยนเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สาหรับอีก 2 จังหวัดที่เหลือนั้นยังไม่สามารถยืนยันจานวนรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายได้อย่างแน่นอนแต่คาดว่ายอดการเก็บภาษีรถยนต์นั้นน่าจะลดลงประมาณร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
รัฐบาลกลางได้ออกนโยบายช่วยเหลือสาหรับปัญหาดังกล่าวโดยให้รัฐบาลท้องถิ่นยกเว้นภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์แก่ผู้ประสบภัยที่มีความประสงค์จะซื้อรถยนต์ใหม่เพื่อทดแทนคันที่เสียหาย และรัฐบาลกลางจะจ่ายเงินทดแทนรายได้ภาษียานยนต์ที่ยกเว้นให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นแทน แต่ปัจจุบันพบว่ายอดการซื้อรถยนต์ใหม่ของผู้ประสบภัยนั้นมีจานวนน้อยกว่าที่คาดไว้ทาให้รัฐบาลท้องถิ่นของทั้ง 3 จังหวัดนั้นแสดงความต้องการให้รัฐบาลกลางและบริษัท TEPCO จ่ายเงินทดแทนหรือสนับสนุนงบประมาณในส่วนดังกล่าว
Cabinet Office ได้เปิดเผยว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2554 หดตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงมกราคม - มีนาคม 2554 โดยเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเวลา 3 ไตรมาส เนื่องจากการขาดแคลนชิ้นส่วนจากเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิทาให้การส่งออกยานยนต์ลดลงอย่างมาก แต่เป็นการหดตัวที่น้อยกว่าการคาดการณ์ที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.5
การใช้จ่ายส่วนบุคคลปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 0.6 ในไตรมาสแรกของปี 2554 ขณะที่การใช้จ่ายในด้านอาหารและค่าสาธารณูปโภคลดลงร้อยละ 2.4 การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ลดลงร้อยละ 1.9 ในขณะที่การลงทุนของเอกชนและการลงทุนของรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และ 3.0 ตามลาดับ เนื่องจากมีการสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวเพื่อรองรับผู้ประสบภัยพิบัตและซ่อมแซมหรือสร้างโรงงานใหม่
การส่งออกลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงมกราคม - มีนาคม 2554 เนื่องจากผลผลิตยานยนต์ลดลงอย่างมาก ขณะที่การนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1
กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่าญี่ปุ่นมียอดการเกินดุลการค้าในเดือนกรกฎาคม 2554 เท่ากับ 72.5 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการเกินดุลการค้าติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือนโดยยอดการส่งออกมีจานวนเท่ากับ 5.7819 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกยานยนต์ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกเดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 4 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนมิถุนายนที่ลดลงร้อยละ 13 บริษัทยานยนต์นารถยนต์เข้าไปสู่ตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นส่งผลให้การส่งออกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการส่งออกเครื่องจักรไปยังสหรัฐฯ และจีนก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่สาหรับในเดือนสิงหาคมนั้น ผลจากการหยุดเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ได้ส่งผลให้ผลผลิตลดลง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของต่างประเทศชะลอตัวลง และเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น จึงคาดการณ์ว่ายอดการส่งออกในเดือนสิงหาคมอาจจะลดลง
ยอดการนำเข้าของญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคม 2554 มีจำนวนเท่ากับ 5.7094 ล้านล้านเยน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า
ดุลการค้าประจำเดือนกรกฎาคม 2554
หน่วย: พันล้านเยน
ยอดการส่งออก (ร้อยละ) ยอดการนาเข้า (ร้อยละ) ดุลการค้า (ร้อยละ) สหรัฐฯ 892.5 (-8.2) 474.2 (-5.3) 418.3 (-11.4) สหภาพยุโรป 670.7 (6.0) 538.5 (7.7) 132.2 (-0.2) เอเชีย (รวมจีน) 3,249.9 (-2.7) 2,561.2 (8.5) 688.6 (-29.8) สาธารณรัฐประชาชนจีน 1,145.4 (-1.0) 1,218.4 (6.7) -73.0 (-) รวม 5,781.9 (-3.3) 5,709.4 (9.9) 72.5 (-90.8)
ที่มา กระทรวงการคลังญี่ปุ่น
สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th