รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม - 2 กันยายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 6, 2011 09:25 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตรวม (PPI) อยู่ที่ร้อยละ 6.0
  • สินเชื่อเดือน ก.ค.54 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ที่ร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงิน ขยายตัวร้อยละ 11.0
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ค.54 เกินดุลสูงถึง 3,574.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ก.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • GDP สหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 2 (Preliminary) ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa)
  • GDP ฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 2 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังหักผลทางฤดูกาล)
  • GDP อินเดีย ในไตรมาส 2 ขยายตัวต่าสุดในรอบ 6 ไตรมาสอยู่ที่ร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราการว่างงานสหภาพยุโรป ในเดือน ก.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 10 ของกำลังแรงงาน
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Aug: Motorcycle Sale (%yoy)            8.0                 11.6
  • เนื่องจากคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ภาคเหนือ ส่งผลให้การจำหน่ายจักรยานยนต์ในภาคเหนือซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 16.0 ของยอดจำหน่ายรวมชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ถือได้ว่ายอดขายรถจักรยานยนต์ยังขยายตัวตัวในเกณฑ์ดี ตามรายได้ภาคครัวเรือนที่ยังขยายตัว จากรายได้จากภาคการส่งออก และอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่า
Economic Indicators: This Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นการเร่งขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าแล้วขจัดผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.43 โดยมีปัจจัยหลักมาจากดัชนีราคาในหมวดอาหารสาเร็จรูปปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ และเครื่องประกอบอาหารมีราคาเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามราคาน้ำมันโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.9 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.6
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 โดยหมวดสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 11.8 มาจากเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ท่อเหล็กดา ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี เหล็กแผ่นเรียบดา ดัชนีในหมวดซีเมนต์ขยายตัวร้อยละ 12.3 จากปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม ปูนฉาบ หมวดวัสดุฉาบผิวขยายตัวร้อยละ 5.8 ได้แก่ สีเคลือบน้ามัน สีน้ำอะครีลิคทาภายในภายนอก และดัชนีในหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆขยายตัวร้อยละ 5.3 สินค้าสำคัญ ได้แก่ ยางมะตอย อิฐมอญ อลูมิเนียมแผ่นเรียบ เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวเร่งขึ้นเป็นผลมาจากต้นทุนราคาวัตถุดิบที่นำเข้ายังคงปรับตัวสูงขึ้น
  • ดัชนีราคาผู้ผลิตรวม (PPI) ในเดือน ส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 ตามการขยายตัวของดัชนีราคาในหมวดอุตสาหกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ยางที่ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 30.1 และ 20.2 ตามลาดับ ในขณะที่ดัชนีราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมหดตัวลงร้อยละ -5.4 ตามการหดตัวของราคาหมวดผลผลิตการเกษตรที่หดตัวร้อยละ -8.2 เนื่องจากปัจจัยฐานสูงเมื่อปีที่แล้วที่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราเร่ง ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกปี 54 ดัชนีราคาผู้ผลิตรวมขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สินเชื่อเดือน ก.ค.54 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ที่ ร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวของทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อภาคครัวเรือน ซึ่งหากพิจารณาตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจชะลอลงเล็กน้อย จากปัจจัยฐานสูง สะท้อนความต้องการสินเชื่อที่ยังคงมีอยู่สูง ตามการขยายตัวของการลงทุน และการบริโภคภาคเอกชน
  • เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ก.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.6 หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว โดยหากพิจารณาตามผู้ให้เงินฝาก พบว่าเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ ขณะที่เงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากแรงจูงใจของอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์ และได้รับการคุ้มครองเงินฝากเต็มสัดส่วน
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ค.54 เกินดุลสูงถึง 3,574.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุลที่ 2,498.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลเป็นผลจากการเกินดุลทั้งดุลการค้าและดุลบริการ รายได้ และเงินโอน โดยดุลการค้าเกินดุล 2,705.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมูลค่าส่งออกเดือน ก.ค. ที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรตามอุปทานในตลาดโลกที่มีอยู่จากัด นอกจากนี้ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสินค้ายานยนต์กลับมาขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น ตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากจีนและญี่ปุ่น ขณะที่ มูลค่าการนาเข้าชะลอลง จากการการนาเข้าสินค้าทุนที่ปรับตัวลดลง อีกทั้งดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุลที่ 869.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายได้จากการท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในระดับสูง จากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี
  • การจ้างงานเดือน ก.ค.54 อยู่ที่ 39.5 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.1 ล้านคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 2.9 โดยการจ้างงานภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านคน เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวของพืชผลทางการเกษตรบางชนิดเช่น ข้าวนาปี และมันสาปะหลัง เป็นต้น ขณะที่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 4.8 หมื่นคน มาจากสาขาการทาเหมืองแร่ สาขาการผลิต และสาขาการจัดหาน้า และการจ้างงานภาคบริการ ลดลง 5.5 แสนคน มาจากสาขาการขายส่ง/ขายปลีก สาขาที่พักแรม/บริการด้าน และสาขาการขนส่ง ขณะที่อัตราการว่างงานเดือนก.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ของกาลังแรงงานรวม โดยมีว่างงาน 2.1 แสนคน ลดลง 1.4 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ก.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.8 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 2.5 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวสอดคล้องกับอัตราการใช้กาลังการผลิต (Cap U) ที่เพิ่มขึ้นในหมวดการผลิตโลหะขั้นมูลฐานในเดือน ก.ค.54 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 48.5 โดยปริมาณจาหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในเดือน ก.ค.54 ที่ขยายตัวมาจากปริมาณการจาหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้าง ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อย ลวดเหล็กแรงดึงสูง และท่อเหล็กกล้า ที่ขยายตัวร้อยละ 11.5 4.5 และ 45.9 ตามลาดับ ขณะเหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่สะท้อนจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีขยายตัวร้อยละ 25.7 ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -9.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาคการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ของค่ายผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ส.ค.54 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 ส่วนหนึ่งเป็นมาจากน้าท่วมขังในหลายพื้นที่ภาคเหนือ ส่งผลให้การจาหน่ายจักรยานยนต์ในภาคเหนือซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 16.0 ของยอดจาหน่ายรวม ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ถือได้ว่ายอดขายรถจักรยานยนต์ยังขยายตัวตัวในเกณฑ์ดี ตามรายได้ภาคครัวเรือนที่ยังขยายตัว จากรายได้จากภาคการส่งออก และอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่า

Global Economic Indicators: This Week

China: Mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุสาหกรรมเดือน ส.ค.54 เพิ่มขึ้น 0.2 จากเดือนก่อหน้ามาอยู่ที่ระดับ 50.9 ทางการจีนประกาศเพิ่ม Margin Deposits เข้าเป็นส่วนหนึ่งของฐานการคานวณสัดส่วนการกันสารองของธนาคารพาณิชย์ (Reserve Requirement Ratio) มีผลตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. เป็นต้นไป
Eurozone: Mixed signal
  • ธนาคาร Alpha Bank และ EFG Eurobank ของกรีซ ได้รับการลดหนี้ (Haircut) มูลค่า 1.2 พันล้านยูโร ภายใต้แผนความช่วยเหลือของ EU อัตราการว่างงานเดือน ก.ค.54 คงที่เป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 10 ของกาลังแรงงาน
Japan: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ค.54 อยุ่ในระดับเท่ากับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีคาส่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 51.9 อัตราการว่างงานเดือน ก.ค. 54 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 มาอยุ่ที่ระดับ 4.7 ของกาลังแรงงานรวม โดยตาแหน่งงานในเดือน ก.ค.54 ลดลง 40,000 ตาแหน่งจากเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีกเดือน ก.ค.54 หดตัวร้อยละ -0.3 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) นายกรัฐมนตรีโนดะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้ารับตาแหน่งในวันอังคารที่ 30 ส.ค.54 ทาให้มีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะขึ้นภาษีเพื่อหารายได้เพิ่มเติม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.54 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า
USA: Mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 2 (Preliminary) ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ส.ค. 54 อยู่ในระดับต่าที่สุดในรอบ 2 ปี ที่ระดับ 44.5 คาสั่งซื้อภาคการผลิตในเดือน ก.ค.54 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 4 เดือนที่ร้อยละ 2.4 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) ยอดทาสัญญาซื้อขายบ้าน (Pending Home Sales) เดือน ก.ค.54 หดตัวร้อยละ -1.3 จากเดือนก่อนหน้า ราคาบ้าน (Caseshiller 20yy) เดือน มิ.ย.54 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนหน้า ดัชนีคาสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) เดือน ส.ค.54 ยังคงขยายตัวแม้จะลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 50.6
Singapore: Mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.54 ขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อย ละ 7.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการหดตัวของภาคการผลิตสินค้าชีวเคมี ตามการหดตัวของอุปสงค์ในตลาดโลก
India: improving economic trend
  • GDP ไตรมาส 2 ขยายตัวต่าสุดในรอบ 6 ไตรมาสอยู่ที่ร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากนโยบายการเงินแบบรัดกุมเพื่อชะลอปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศ กอปรกับการขยายตัวชะลอลงของภาคการก่อสร้างที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนการชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจอินเดีย
Hong Kong: Mixed signal
  • ยอดค้าปลีกเดือน ก.ค.54 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ร้อยละ 29.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า โดยสินค้าคงทนประเภทเครื่องเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 16.1 สะท้อนการบริโภคภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น
Philippines: improving economic trend
  • GDP ไตรมาส 2 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 0.6 (หลังหักผลทางฤดูกาล) จากไตรมาสก่อนหน้า จากการส่งออกที่หดตัวร้อยละ -10.2 ตามการหดตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสาคัญ ขณะที่การลงทุนขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.9 จากการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวต่าสุดในรอบ 5 ไตรมาส มูลค่าการนาเข้าเดือน มิ.ย. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการนาเข้าเชื้อเพลิงธรรมชาติและสารหล่อลื่นที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 42.5 และ 11.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลาดับ
South Korea: Mixed signal
  • การส่งออกเดือน ส.ค.54 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 27.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกไปยังจีน ขณะที่การนาเข้าขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 29.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แรงกดดันจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค.54 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี ที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารและน้ำมันที่ทรงตัวอู่ในระดับสูง เพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารกลางใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวต่อเนื่อง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ โดยดัชนีมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ต้นสัปดาห์ โดยมาปิดที่ระดับ 1,069 จุด ณ วันที่ 1 ก.ย.54 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของดัชนีหลักทรัพย์ทั่วโลกจากที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า FED อาจดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทั้งสัปดาห์ (29 ส.ค. -1 ก.ย.54) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,858 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยมีการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง จากการที่นักลงทุนชะลอการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล โดยปริมาณการซื้อขายไม่มากนักเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า นอกจากนั้นนักลงทุนคาดว่า ธปท. อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไปหลังอัตราเงินเฟ้อเดือน ส.ค.54 อยู่ระดับที่สูงที่สุดในรอบกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นอึกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้นักลงทุนชะลอการลงทุนและทาให้ผลตอบแทนพันธบัตรในเกือบทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจาก สัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 29.96 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 1 ก.ย.54 แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.07 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคต่างแข็งค่าขึ้น เนื่องจากเงินทุนไหลเข้าในตลาดหลักทรัพย์เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.09 จากการที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค
  • ในขณะที่ราคาทองคำกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังปรับตัวลดลงในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า โดยราคาทองคา ณ วันที่ 1 ก.ย.54 ปิดที่ระดับ 1,824 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ