รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 12 — 16 กันยายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 19, 2011 09:47 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน ส.ค. 54 มีจำนวนทั้งสิ้น 301.2 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.7
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ส.ค. 54 มีมูลค่า 48.4 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 47.0
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศเดือนส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • มูลค่าส่งออกและนำเข้าของจีน ในเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.5 และร้อยละ 30.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลาดับ
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป ในเดือนก.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom)
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่น ในเดือน ส.ค. 54 เท่ากับเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 37.0
  • ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ไม่ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (%mom)
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Aug: Passenger car Sale (%YoY)        20.0                 12.2
  • ตามอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการชะลอการซื้อรถยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 54 จากปัญหาภัยพิบัติสึนามิในญี่ปุ่น ทำให้ขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์ ส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้เต็มกาลังการผลิต ซึ่งในปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้คลี่คลายและเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
Economic Indicators: This Week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน ส.ค. 54 มีจำนวนทั้งสิ้น 301.2 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.7 สาเหตุสำคัญมาจากการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากประมาณการกำไรสุทธิครึ่งรอบปีบัญชี 2554 (ภ.ง.ด. 51) ที่ครบกำหนดชำระในเดือนสิงหาคม 2554 นี้ เพิ่มขึ้นมาก สำหรับภาษีฐานบริโภค ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 17.8 และภาษีฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 24.1 สะท้อนถึงรายได้ประชาชนที่สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ส.ค. 54 มีมูลค่า 48.4 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 12.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งขึ้นของภาษีมูลค่า ณ ระดับราคาคงที่ ที่เก็บบนฐานการนำเข้าสินค้าที่ขยายตัวร้อยละ 25.6 ตามการเร่งนำเข้าสินค้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตและส่งออก รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 13.5 บ่งชี้ถึงการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ดี
  • ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 47.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 47.2 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลขยายตัวถึงร้อยละ 3.0 ซึ่งการขยายตัวดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายบ้านหลังแรก ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ ในปี 54 รวมถึงปัจจัยฐานต่ำของช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการสิ้นสุดมาตราการภาษีเพื่อช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 19.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 11.6 จากการขยายตัวในอัตราเร่งของยอดขายรถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร (สัดส่วนประมาณร้อยละ 20.0 ของยอดขายรถจักรยานยนต์รวม) ที่ร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -2.2 ในขณะที่ยอดขายรถจักยานยนต์ในเขตภูมิภาคยังขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 16.9 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.9 โดยได้รับปัจจัยบวกจากกำลังซื้อของประชาชนที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในช่วง 8 เดือนแรกปี 54 ขยายตัวร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศเดือน ส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาล หดตัวร้อยละ -0.5 จากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อนภายหลังจากมีการเร่งการก่อสร้างในช่วงครึ่งปีแรกของปี 53 ที่รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งในเดือนก่อนหน้าผู้รับเหมาได้สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างไว้ล่วงหน้าจากราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ค.54 อยู่ที่ระดับ 2.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 2.1 ล้านล้านบาท จากเงินฝากและเงินกู้ยืมที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อปรับเพิ่มขึ้นในระดับที่น้อยกว่า โดยยอดคงค้างเงินฝากในเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อนหน้า ประกอบกับเงินกู้ยืมซึ่งมีตั๋วแลกเงินเป็นหนึ่งในองค์ประกอบปรับเพิ่มขึ้น 8.4 หมื่นล้านบาท ส่วนยอดคงค้างสินเชื่อขยายตัวร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนการระดมเงินฝากต่อเนื่องของภาคธนาคารเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ส.ค.54 คาดว่าจะ ขยายตัวร้อยละ 20.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 12.2 ตามอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการชะลอการซื้อรถยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 54 เนื่องจากปัญหาภัยพิบัติสึนามิในญี่ปุ่น ทำให้ขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์ ส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้เต็มกำลังการผลิต ทั้งนี้ในปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้คลี่คลายและเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

Global Economic Indicators: This Week

China: Mixed signal
  • มูลค่าส่งออกและนาเข้าเดือน ส.ค.54 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.5 และ ร้อยละ 30.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนตามลาดับ ขณะที่มูลค่านำเข้าขยายตัวสูงสุดนับจากต้นปี โดยการนำเข้าจากญี่ปุ่นขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ ร้อยละ 16.5 และการนำเข้าจากสหภาพยุโรปขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 เดือนที่ร้อยละ 31.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลลดลงจากเดือน ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 17.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ยอดค้าปลีกเดือน ส.ค.54 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 17.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค.54 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 13.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วง ม.ค.-ส.ค.54 ที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 25.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Eurozone: Mixed signal
  • รัฐบาลกรีซจะปรับปรุงการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน (Property Tax) ในอีก 2 ปีข้างหน้าเพื่อหารายได้ 2 พันล้านยูโร ตามเงื่อนไขของ IMF ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตสินค้าทุนและสินค้าคงทนเพื่อการบริโภคขยายตัวร้อยละ 3.0 และร้อยละ 2.9 จากเดือนก่อนหน้าตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค.54 คงที่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Japan: Mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค.54 เท่ากับเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 37.0 โดยเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 5 เดือน บ่งชี้การขยายตัวที่ดีของการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ของปี 54
USA: Mixed signal
  • ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ไม่ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (%mom) อย่างไรก็ตาม ยอดค้าปลีกไม่รวมยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค.54 สูงขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.8 จากปีก่อนหน้า
Australia: Mixed signal
  • มูลค่าส่งออกเดือน ก.ค. 54 หดตัวร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปี ก่อนหน้าจากการหดตัวของยอดส่งออกถ่านหินขณะที่มูลค่านาเข้าเดือน ก.ค.54 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการนำเข้าสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคและสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย.54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 96.9 จากความผ่อนคลายความกังวลเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่อยู่ในระยะฟื้นตัว
India: Mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.54 ขยายตัวต่าที่สุดในรอบ 21 เดือนที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยผลผลิตสินค้าภาคการผลิต (Manufacturing Output) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 76 ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมรวมขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ขณะที่ผลผลิตสินค้าทุนหดตัวที่ร้อยละ -15.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อเดือน ส.ค.54 สูงสุดในรอบ 13 เดือนที่ร้อยละ 9.78 จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาทุกหมวดสินค้า
Singapore: Mixed signal
  • อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 54 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ของ กำลังแรงงานรวม (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ส่วนหนึ่งจากการที่รัฐบาลสิงค์โปร์เพิ่มตำแหน่งงาน 24,800 อัตราในไตรมาสนี้
Malaysia: Mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Factory Output) เดือน ก.ค. 54 หดตัว ที่ร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากผลผลิตสินค้าเหมืองแร่หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -7.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์ต่างประเทศจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำของโลก สอดคล้องกับผลผลิตภาคการผลิต (Manufacuring Output) ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แม้ยอดขายภาคการผลิต (Manufacturing Sales) เดือน ก.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 10.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ดัชนีปรับตัวลดลงตามภาวะ risk averse ต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า จากการที่นักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป โดยเฉพาะข่าวรัฐบาลเยอรมนีเตรียมจะออกมาตรการฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์และบริษัทประกันภัยในกรณีที่อาจจะต้องเผชิญกับผลขาดทุนร้อยละ 50 ในพันธบัตรของกรีซหากเงินช่วยเหลืองวดต่อไปรับการอนุมัติ อย่างไรก็ตาม ดัชนีได้ปรับตัวสูงขึ้นมาเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ตามดัชนีในภูมิภาคหลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศยืดระยะเวลามาตรการเงินกู้ยืมระยะ 3 เดือนใหกับธนาคารพาณิชย์ยุโรป ส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลลง ทั้งนี้ ทั้งสุปดาห์นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 8,418 ล้านบาท (12 - 15 ก.ย. 54) ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยทั้งสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในเกือบทุกช่วงอายุปรับขึ้นเล็กน้อย จากแรงเทขายค่อนข้างมากของนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนต่างชาติในช่วงปลายสัปดาห์หลังตลาดมีความเชื่อมั่นมากขึ้นจากสถานการณ์วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปที่เริ่มคลี่คลาย
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 15 ก.ย. 54 อ่อนค่าลงร้อยละ 0.87 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาคที่อ่อนค่าลงเช่นกัน ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 จากการที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าในอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค
  • ในขณะที่ราคาทองคาปรับตัวลดลงอย่าง ต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 15 ก.ย. 54 อยู่ที่ 1,781 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่อยู่ที่ 1,813 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ