รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 19 — 23 กันยายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 26, 2011 12:12 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ส.ค.54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 143.5 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 30.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • การส่งออกสินค้าในเดือน ส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 31.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าสินค้ารวมขยายตัวร้อยละ 44.0
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค.54 อยู่ที่ระดับ 102.5
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 26.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 15.7
  • S&P ปรับลดระดับความน่าลงทุนของพันธบัตรอิตาลีลง 1 ระดับจากระดับ A+ สู่ระดับ A
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศเข้าซื้อพันธบัตรอายุ 6 ถึง 30 ปี วงเงิน 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ในเดือน ส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa)
  • อัตราการว่างงานไต้หวัน ในเดือน ส.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 4.45 ของแรงงานรวม ในขณะที่อัตราการว่างงานเกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ของแรงงานรวม
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Aug: MPI  (%YoY)                      1.0                -1.1
  • โดยมีปัจจัยบวกมาจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่คาดว่ามีการขยายตัวเข้าสู่ระดับปกติ ประกอบกับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน สะท้อนจากส่งออกที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
Economic Indicators: This Week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ส.ค.54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจานวน 143.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 30.4 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือน ส.ค.54 มีการเบิกจ่ายงบประมาณประจาปีงบประมาณจานวน 135.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 31.1 โดยแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจาจานวน 113.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 22.2 (2) รายจ่ายลงทุนจานวน 22.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 107.1 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สำคัญ ได้แก่ งบชาระหนี้ของสานักงานบริหารหนี้สาธารณะจานวน 8.3 พันล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการจานวน 8.0 พันล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจานวน 4.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายสะสมในช่วง 11 เดือนของปีงบประมาณ 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 1,984.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 24.7 นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ วันที่ 16 ก.ย. 54 สามารถเบิกจ่ายสะสมได้ทั้งสิ้นจำนวน 292.5 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายสะสมร้อยละ 83.6 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท
  • จากการวิเคราะห์ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ส.ค.54 พบว่าดุลงบประมาณขาดดุลจานวน -15.0 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจานวน 6.4 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ขาดดุลจำนวน -8.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 78 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินขาดดุลจานวน -8.5 พันล้านบาท สำหรับฐานะการคลังในช่วง 11 เดือน ของปีงบประมาณ 54 ดุลงบประมาณขาดดุลจานวน -365.7 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 59.0 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (หลังกู้) จำนวน -159.3 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 54 มีจำนวน 270.1 พันล้านบาท
  • การส่งออกสินค้าในเดือน ส.ค.54 สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ อยู่ที่ 21,567.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือขยายตัวร้อยละ 31.1 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 38.3 แต่ยังคงขยายตัวในระดับสูง เป็นผลจากสินค้าแร่และเชื้อเพลิงที่ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 79.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรและสินค้าเกษตร ที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 65.0 และ 58.9 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวชะลอลงที่รัอยละ 21.3 จากการชะลอลงของหมวดสินค้าหลักโดยเฉพาะในหมวดสินค้ายานยนต์ที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.6 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวร้อยละ 9.3 จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 15.6 ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออกขยายตัวรัอยละ 6.7 และปริมาณขยายตัวร้อยละ 22.8 ส่งผลให้การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 26.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน ส.ค. 54 อยู่ที่ 22,770.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ หรือขยายตัวร้อยละ 44.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวเร่งขึ้นของสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งที่ร้อยละ 41.2 หลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -3.7 รวมถึงสินค้ายานยนต์ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งเช่นกันที่ร้อยละ 11.8 หลังจากที่หดตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -2.1 ในขณะที่สินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าทุนก็ขยายตัวเร่งขึ้นเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 77.5 และ 37.6 ตามลำดับ โดยราคานำเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 11.8 และปริมาณขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 28.9 ส่งผลให้ 8 เดือนแรกของปี 54 การนาเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 28.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ จากการที่มูลค่าการส่งออกสินค้าต่ากว่ามูลค่าการนาเข้าสินค้า ทำให้ดุลการค้าเดือน ส.ค. 54 ขาดดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ค.54 มีจานวนทั้งสิ้น 4,280.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 16.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.57 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะที่สาคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นสุทธิ 16.0 พันล้านบาท สะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยมีความมั่นคง เนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 102.5 ปรับลดลงเป็นเดือนที่ 3 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 105.2 ซึ่งค่าดัชนีที่ปรับลดลงเกิดจากองค์ประกอบด้านยอดคาสั่งโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ โดยได้รับปัจจัยลบจากความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบ อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการแข็งค่าของเงินบาทที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก ประกอบกับการความกังวลของภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ตลอดจนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คงมีความเปราะบาง อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 แสดงว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการยังอยู่ในระดับที่ดีอยู่
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ส.ค. 54 มีจานวน 3.55 หมื่นคัน หรือขยายตัวร้อยละ 26.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 12.2 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวในอัตราเร่งเช่นกันที่ร้อยละ 16.1 ตามอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการชะลอการซื้อรถยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 54 เนื่องจากปัญหาภัยพิบัติสึนามิในญี่ปุ่น ทาให้ขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์ ส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้เต็มกาลังการผลิต ซึ่งในปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้คลี่คลายและเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ ปริมาณจาหน่ายรถยนต์นั่งในช่วง 8 เดือนแรกของปี 54 มีจานวนรวมทั้งสิ้น 2.6 แสนคัน หรือขยายตัวร้อยละ 24.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 54 มีจานวน 4.35 หมื่นคัน หรือขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10.1 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 5.2 จากกาลังการผลิตที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และบริษัทรถยนต์สามารถส่งมอบรถยนต์ได้เร็วขึ้นกว่าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ประกอบกับการจัดกิจกรรมทางการตลาดรูปแบบใหม่ๆ ของค่ายรถยนต์ เพื่อเพิ่มยอดขายในประเทศ ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 54 มีจานวนรวมทั้งสิ้น 3.23 แสนคัน หรือขยายตัวร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ส.ค.54 คาดว่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยบวกมาจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่คาดว่ามีการขยายตัวเข้าสู่ระดับปกติ ประกอบกับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน สะท้อนจากส่งออกที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: Mixed signal
  • S&P ปรับลดระดับความน่าลงทุนของพันธบัตรอิตาลีลง 1 ระดับจากระดับ A+ สู่ระดับ A และ Negative Outlook ซึ่งสูงกว่าระดับไม่น่าลงทุน (Junk) 5 ระดับ จากความกังวลต่อเศรษฐกิจ ปัญหาการเมืองและหนี้สาธารณะ และลดระดับความน่าลงทุนของ 7 ธนาคารของอิตาลีลงด้วย ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ (PMI) เดือน ก.ย.54 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี มาอยู่ที่ระดับ 48.4 และระดับ 49.1 ตามลำดับ ส่งผลให้ดัชนีโดยรวมหดตัวเช่นกันสู่ระดับ 49.2 มูลค่าส่งออกและนาเข้าเดือน ก.ค. 54 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 5.3 และร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 4.3 พันล้านยูโร ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ส.ค. 54 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาสู่ระดับ -16.6
Japan: Mixed signal
  • มูลค่าส่งออกเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มูลค่านำเข้าเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 19.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการนาเข้าจากจีนขยายตัวกว่าร้อยละ 16.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 10.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
USA: Mixed signal
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศเข้าซื้อพันธบัตรอายุ 6 ถึง 30 ปี วงเงิน 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และขายพันธบัตรอายุ 3 ปีและต่ำกว่าในวงเงินที่เท่ากันภายในกลางปีหน้า เพื่อดึงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวลง ยอดขายบ้าน (Existing Home Sales) เดือน ส.ค.54 อยู่ที่ระดับ 5.03 ล้านหลังต่อปี ขยายตัวร้อยละ 19 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) ส่วนหนึ่งจากราคาบ้านที่ปรับตัวลดลงโดยราคาเฉลี่ยบ้านมือสองในเดือน ส.ค. 54 ลดลงร้อยละ -5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) จากผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (Manufacturing output) ที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้าโดยเฉพาะผลผลิตรถยนต์
Taiwan: Mixed signal
  • อัตราการว่างงานเดือน ส.ค.54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.45 ของแรงงานรวม คิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 502,000 คน ทั้งนี้ ไต้หวันมีจำนวนแรงงาน (ณ เดือน ส.ค. 54) ทั้งสิ้น 10.78 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 58.54 ของประชากรทั้งหมด
South Korea: Mixed signal
  • อัตราการว่างงานเดือน ส.ค. 54 อยู่ในระดับต่าที่สุดในรอบ 3 ปีที่ร้อยละ 3.1 ของแรงงานรวม โดยมีตาแหน่งงานเพิ่มขึ้น 490,000 ตำแหน่งจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มตำแหน่งงานที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 53 ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีจำนวนแรงงาน (ณ เดือน ส.ค. 54) ทั้งหมด 24.5 ล้านคน
Malaysia: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่ม และราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหารที่ร้อยละ 4.6 และร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ ยอดขายรถยนต์เดือน ส.ค. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์โดยสารสาธารณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.88 (สัดส่วนร้อยละ 90 ของยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 54) และยอดขายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ร้อยละ 4.62 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Hong Kong: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วนหนึ่งจากฐานการคานวณที่สูงในช่วงเดียวกันปีก่อนขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากราคาอาหารและค่าเช่าบ้านที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสำคัญ อัตราการว่างงาน (หลังหักผลทางฤดูกาล) ระหว่างเดือน มิ.ย. - ส.ค.54 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของแรงงานรวม จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในภาคก่อสร้าง ภาคการขนส่ง ภาคการบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม และภาคธุรกิจ
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 1,000 จุด เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค.54 โดยดัชนีปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตามภาวะ risk averse โดยเฉพาะจากปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปหลัง S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศอิตาลี ทั้งนี้ ในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศใช้มาตรการ Operation twist ในช่วง ต.ค. 54 ถึง มิ.ย. 55 โดยจะเข้าซื้อพันธบัตรระยะ 6-30 ปีจำนวน 400 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะขายพันธบัตรระยะต่ากว่า 3 ปีในวงเงินที่เท่ากัน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวยังไม่สามารถคลายความกังวลของนักลงทุนได้ ส่งผลให้ดัชนีทั่วโลกยังคงปรับตัวลดลงรวมถึงดัชนี SET ที่ปรับตัวลดลงมาปิดที่ระดับ 990 จุด ณ วันที่ 22 ก.ย. 54 ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยทั้งสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในเกือบทุกช่วงอายุปรับขึ้นเล็กน้อย จากแรงเทขายค่อนข้างมากของนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนต่างชาติ
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.78 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 22 ก.ย. 54 อ่อนค่าลงร้อยละ 1.65 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาคที่อ่อนค่าลงเช่นกัน ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.13 สะท้อนค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าในอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค
  • ราคาทองคำปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 22 ก.ย. 54 อยู่ที่ 1,735 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่อยู่ที่ 1,777 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ