รายงานนโยบายการเงินภาคประชาชน ประจำเดือนมิถุนายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 26, 2011 16:21 —กระทรวงการคลัง

1. โครงการหมอหนี้
  • หลักการ แก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนโดยใช้ประชาชนผู้มีจิตอาสาในพื้นที่เป็นแกนนา เพื่อให้คาปรึกษาด้านการเข้าถึงบริการทางการเงิน เสริมสร้างวัฒนธรรมการออม และการจัดทาบัญชีครัวเรือน บนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมายผลิตหมอหนี้ในปี 2554 ทั้งสิ้น 88,000 คน แบ่งเป็น ธ.ก.ส. 26,000 คน และ ธ.ออมสิน 62,000 คน
  • ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2554 ธ.ออมสิน อบรมหมอหนี้ 57,699 คน ธ.ก.ส. อบรม 11,643 คน ซึ่งได้มีการลงพื้นที่ให้คาปรึกษาแล้ว
  • ความเห็น สพช. ดาเนินการสารวจโครงการต้นแบบ ณ จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 21-22 ก.ค. 54 พบว่าในภาพรวมโครงการหมอหนี้สามารถพัฒนาหมอหนี้ที่ได้รับการยอมรับจากภาคประชาชนมีแนวโน้มสูงในการช่วยเหลือแก้ไขหนี้สินภาคประชาชนผ่านการทาบัญชีครัวเรือน แต่ควรเพิ่มเติมการประเมินการอบรมหมอหนี้ให้เข้มข้นขึ้น
2. โครงการสินเชื่อประชาวิวัฒน์
  • หลักการ แก้ไขปัญหาการเข้าถึงความช่วยเหลือจากรัฐสาหรับผู้ประกอบอาชีพหาเช้ากินค่าที่อยู่นอกระบบมีระยะเวลา 6 เดือน (1 ม.ค. — 30 มิ.ย. 54) ประกอบด้วย 1.สินเชื่อแท็กซี่ไทยเข้มแข็ง ที่มีเป้าการปล่อยสินเชื่อทั้งสิ้น 2,000 คนวงเงิน 1,600 ล้านบาท และ 2.โครงการสินเชื่อ สู้อาชีพไทยเข้มแข็ง เพื่อปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบอาชีพ นอกระบบวงเงินไม่เกินรายละ 100,000 บาท โดยมีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 35,000 คนเป็นวงเงิน 3,400 ล้านบาท
  • ผลการดำเนินงาน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 สินเชื่อ taxi ไทยเข้มแข็งมียอดอนุมัติทั้งสิ้น 609 ราย วงเงิน 523.5 ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วนยอดอนุมัติต่อเป้าหมายที่ 30.45% และ 32.72% ตามลาดับ ขณะที่โครงการสินเชื่อสู้อาชีพฯ มียอดอนุมัติทั้งสิ้น 1,815 ราย ยอดเงิน 93.9 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนยอดอนุมัติต่อเป้าหมายที่ 5.19% และ 2.76% ตามลาดับ
  • ความเห็น ความคืบหน้าโครงการฯ อยู่ในเกณฑ์น่าเป็นห่วงเนื่องจากมีสัดส่วนของจานวนคนเข้าร่วมโครงการฯ และวงเงินน้อยและโครงการฯ จะหมดระยะเวลาในสิ้นเดือน มิ.ย. 54 แล้ว โดยปัญหาอุปสรรคหลักจากการรายงานของ ธ. อิสลาม และ ธ.ก.ส. คือ ความล่าช้าในการส่งมอบรถ Taxi และการขึ้นทะเบียนวินมอเตอร์ไซค์รวมทั้งผู้ขอกู้ไม่มีผู้ค้าประกันและมีสถานะเป็น NPL
3. โครงการประกันรายได้เกษตรกร
  • หลักการ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้แก่เกษตรกร โดยรัฐเข้ารับประกันราคาสินค้าเกษตรเมื่อราคาตลาดลดต่ากว่าราคารับประกัน โดยครอบคลุมสินค้า 4 ประเภท ได้แก่ ข้าวเปลือกนาปี ข้าวเปลือกนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสาปะหลัง
  • ผลการดำเนินงาน ปีการผลิต 53/54 ณ 20 มิ.ย. 54 มีเกษตรกรผ่านประชาคมแล้วจานวน 4.78 ล้านราย ทำสัญญาทั้งหมด 4.67 ล้านราย ใช้สิทธิตามโครงการ ฯ และจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างราคาประกันฯ แล้ว 3.13 ล้านราย เป็นวงเงินเบิกจ่า จำนวน 35,960 ล้านบาท
4 . โครงการลดภาระดอกเบี้ยบัตรเครดิต
  • หลักการ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยบัตรเครดิตให้กับผู้ที่มีวินัยการเงินดี โดยการออกสินเชื่อรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตกับ ธ. กรุงไทย ธ. ออมสิน และ ธ. อิสลาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน มีระยะเวลา 3 เดือน (1 มิ.ย.- 31 ส.ค. 54) วงเงิน 10,000 ล้านบาท
  • ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2554 ยอด ขอสินเชื่อ 10,119 ราย วงเงินรวม 1,265 ล้านบาท โดยมีสินเชื่ออนุมัติแล้วจานวน 1,126 ราย วงเงิน 122 ล้านบาท
  • ความเห็น โครงการฯ กาหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการต้องมีประวัติดีถึงสามารถเข้าร่วมได้โดยกาหนดวงเงินไม่เกินรายละ 300,000 บาท ซึ่งยังอยู่ในกรอบการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินทาให้ผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันการเงินยังอยู่ภายใต้กลไกตลาด และไม่เป็นภาระการคลัง ของประเทศในอนาคต
5. โครงการหนี้นอกระบบ
  • หลักการ แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยรับหนี้นอกระบบเข้าสู่กลไกสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาความยากจนและปัญหาเชิงสังคมอื่นๆ
  • ผลการดำเนินงาน ณ 16 มิถุนายน 2554 มีผู้ลงทะเบียนโครงการหนี้นอกระบบทั้งสิ้น 1.18 ล้านราย ทั้งนี้แบ่งเป็น หนี้นอกระบบที่เจรจาสาเร็จผ่านเกณฑ์จานวน 583,123 ราย มูลหนี้ทั้งสิ้น 67,206 ล้านบาท และมีการให้สินเชื่อแล้วจานวน 417,940 รายวงเงิน 43,773 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.27 และร้อยละ 31.91 ตามลำดับจากยอดการลงทะเบียน
  • ความเห็น โครงการหนี้นอกระบบระยะที่ 1 มีปัญหาสาคัญคือ ภาคประชาชนเข้าใจว่ารัฐจะทาการชาระหนี้ให้ทาให้มียอดลงทะเบียนเป็นจานวนมากแต่ยอดที่สามารถเจรจาสาเร็จมีต่า ซึ่งโครงการฯ ในระยะที่ 2 จาเป็นต้องปรับปรุงด้านการสร้างความเข้าใจในตัวโครงการกับธนาคารที่ร่วมโครงการและภาคประชาชนให้ชัดเจน
  • ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนให้ประสบความสาเร็จอย่างยั่งยืนจาเป็นต้องแก้ไขปัญหาด้านการ ใช้จ่ายเงินเกินตัวของประชาชนควบคู่ไปด้วย โดยการให้ความรู้แก่คนในชุมชนผ่านโครงการหมอหนี้และการจัดทาบัญชีครัวเรือนเพื่อให้ภาคประชาชนตระหนักถึงสถานะรายได้และรายจ่ายของตนอย่างแท้จริง
6. โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร
  • หลักการ ครม. มีมติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 กาหนดให้ปรับโครงสร้างหนี้เกษตรกร 3 กลุ่มคือ 1. กลุ่มสมาชิกขึ้นทะเบียนหนี้กับ กฟก. จำนวน 80,000 ราย 2. กลุ่มยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนหนี้กับ กฟก.จานวน 350,000 ราย และ 3. กลุ่มลูกหนี้สถาบันการเงินอื่น
  • ผลการดำเนินงาน ณ 10 มิถุนายน 2554 กลุ่มที่ 1 แก้ไขหนี้แล้ว 5,816 คน (คิดเป็นร้อยละ 7.27 ของเป้าหมาย) วงเงิน 1,241 ล้านบาท กลุ่มที่ 2 แก้ไขหนี้แล้ว 175,498 คน (คิดเป็นร้อยละ 50.14 ของเป้าหมาย) วงเงิน 20,183 ล้านบาท
  • ความเห็น โครงการฯ ควรมีแผนการแก้ปัญหาหนี้สินและแผนการประเมินผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกร สถาบันการเงิน และรัฐอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ควรอยู่บนพื้นฐานของความช่วยเหลือที่เสริมสร้างความมีวินัยทางการเงินอย่างรัดกุมยิ่งขึ้น
7. โครงการบ้านหลังแรก
  • หลักการ เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ไม่เคยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ให้สามารถซื้อบ้านเป็นของตนเองได้ ซึ่งดาเนินการโดย ธอส. วงเงิน 25,000 ล้านบาท มีระยะเวลาดาเนินการ 8 เดือน ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ถึง 30 ธันวาคม 2554 โดยมีวงเงินกู้ไม่เกินรายละ 3 ล้านบาท
  • ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2554 มีผู้ขอสินเชื่อทั้งสิ้น 18,583 รายคิดเป็นวงเงิน 24,999 ล้านบาท ในส่วนนี้อยู่ระหว่างดาเนินการพิจารณาสินเชื่อจานวน 6,810 รายวงเงิน 8,676 ล้านบาท อนุมัติสินเชื่อแล้ว 5,360 ราย เป็นวงเงิน 6,352 ล้านบาท ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ร้อยละ 25.41 จากยอดเป้าหมายโครงการฯ ที่ 25,000 ล้านบาท
  • ความเห็น การดาเนินโครงการบ้านหลังแรกของ ธอส. จะสามารถช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อเพื่อมี ที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ ในขณะที่กระตุ้นให้สถาบันการเงินอื่นออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าเพื่อแข่งขันกับ ธอส. เช่น โครงการดอกเบี้ย 0% 3 เดือนแรกของ ธ. กสิกรไทย เป็นต้น

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ