Macro Morning Focus ประจำวันที่ 29 กันยายน 2554
Summary:
1. "รองนายก" ยันปี 55 จีดีพีพุ่งต่อเนื่อง
2. ดัชนีอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 54 ขึ้น ร้อยละ 7.0
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ เดือน ก.ย.54 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 45.4
Highlight:
1. "รองนายก" ยันปี 55 จีดีพีพุ่งต่อเนื่อง
- รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในปาฐกถาเรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี 55" ว่า ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปในปี 55 อาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อไทยโดยตรง เนื่องจากสัดส่วนการส่งออกตลาดดังกล่าวมีไม่มาก ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกปี 55 คาดว่าจะได้รับผลกระทบบางส่วน แต่กระทรวงพาณิชย์จะไม่ปรับเป้าหมายการส่งออกที่ตั้งเป้าว่าจะขยายตัวร้อยละ 15 เพื่อไม่ให้กระทบแผนการส่งออกที่กาหนดไว้
- สศค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐที่เริ่มมีสัญญาณชะลอลงและวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปขณะนี้ อาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยอยู่บ้าง เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศเป็นคู่ค้าหลักของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐและยุโรปในปี 53ที่ร้อยละ 10.3 และ 9.8 ตามลาดับ ของสัดส่วนการส่งออกทั้งหมด ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 54 การส่งออกของไทย มีมูลค่า 158.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 26.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐและยุโรปขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 15.4 และ 24.5 ตามลาดับทั้งนี้ สศค. คาดว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าในปี 54 จะขยายตัวร้อยละ 22.3 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 21.8 - 22.8 และในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 13.7 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 12.7 - 14.7 และเศรษฐกิจไทย ในปี 54 จะขยายตัวร้อยละ 4.0 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.8 - 4.3 และในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 4.5 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0 - 5.0 (คาดการณ์ ณ เดือนก.ย.54)
2. ดัชนีอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 54 ขึ้น ร้อยละ 7
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ส.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 196.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ระดับ 188.87 โดยมีอัตราการใช้กาลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 64.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน ก.ค.54 ที่มีการใช้กาลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 63.08 อุตสาหกรรมที่ทาให้ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตยานยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ผลิตภัณฑ์ยาง ปูนซีเมนต์ เครื่องปรับอากาศ และเบียร์
- สศค. วิเคราะห์ว่า จากข้อมูลล่าสุด การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือน ส.ค. 54 กลับมาขยายตัวได้ดีอีกครั้ง หลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.7 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และเครื่องประดับ ขยายตัวที่ร้อยละ 17.3 15.5 และ 14.0 ตามลาดับ ทั้งนี้ สศค. คาดว่า การปรับตัวดีขึ้นของภาคอุตสาหกรรมจะทาให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 54 คาดว่าจะยังคงขยายตัวในระดับสูง ที่ร้อยละ 13.2 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 12.7-13.7 (คาดการณ์ ณ 28 ก.ย. 54)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ เดือน ก.ย.54 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 45.4
- สำนัก Conference board รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ เดือน ก.ย.54 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 45.4 จุด จากระดับ 45.2 ในเดือน ส.ค.54 แต่ก็ยังต่ากว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 46 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับต่ากว่า 70 จุด นับตั้งแต่ต้นปี 54 ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้บริโภคยังคงวิตกกังวลต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
- สศค.วิเคราะห์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับต่าสะท้อนถึงความเสี่ยงที่จะเผชิญกับสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ (Double-Dip Recession) โดยล่าสุด อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 2 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.1 ทาให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 54 เติบโตได้เพียงร้อยละ 0.5 นอกจากนี้ ปัจจัยภายในประเทศก็ยังคงอยู่ในสถานะที่เปราะบางได้แก่ (1) อัตราการจ้างงานอยู่ในระดับสูง ในเดือน ส.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 9.1 ของกาลังแรงงาน (2) ยอดขายบ้านมือสอง ในเดือน ส.ค.54 หดตัวลงร้อยละ 2.3 และมียอดขายอยู่ที่ 295.0 ยูนิตต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 302.0 ยูนิตต่อปี (3) ราคากลางของบ้านใหม่ ในเดือน ส.ค.54 อยู่ที่ 209.1 พันดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 228.9 พันดอลลาร์สหรัฐ และ (4) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในเดือน ส.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 54 จะขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปี (คาดการณ์ ณเดือน ก.ย.54)
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th