รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 11 ตุลาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 11, 2011 11:25 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 11 ตุลาคม 2554

Summary:

1. ธปท. - สภาพัฒน์ คาดน้ำท่วมเสียหาย 6-9 หมื่นล้านบาท

2. น้ำท่วมดันผักขยับราคา30-40%.

3. เยอรมนี-ฝรั่งเศสเผยแผนแก้วิกฤตหนี้ก่อนสิ้น ต.ค. 54

Highlight:
1. ธปท. - สภาพัฒน์ คาดน้ำท่วมเสียหาย 6-9 หมื่นล้านบาท
  • ธปท. คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะมีมูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 6 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.6 ของ GDP ขณะที่สานักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ประเมินว่าจะมีมูลค่าความเสียหาย 8 - 9 หมื่นล้านบาท คิดเป็นผลกระทบต่อ GDP ร้อยละ 0.8 - 0.9 โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ความเสียหายที่มีต่อภาคการเกษตร 4 หมื่นล้านบาท และความเสียหายที่มีต่อภาคอุตสาหกรรม 4.8 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร และสวนอุตสาหกรรมโรจนะ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมเสียหายประมาณ 8.6 ล้านไร่ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหลักจะอยู่ในจ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ โดยคาดว่าโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมีจานวน 49 โรงงาน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายราว 1.98 หมื่นล้านบาท และส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อภาคบริการ เช่น สาขาค้าปลีก/ค้าส่ง สาขาการคมนาคม ขนส่ง/สื่อสาร และสาขาโรงแรม/ภัตตาคาร เป็นหลัก ทั้งนี้จากการประเมินล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 54 พบว่าความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมจะส่งผลให้ GDP ลดลงร้อยละ -0.6 และเมื่อรวมผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อาจทาให้ สศค. มีการปรับประมาณการเศรษฐกิจลดลงจากเมื่อเดือนก.ย. 54 ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 54 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.0 (ช่วงการคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.8 - 4.3)
2. น้ำท่วมดันผักขยับราคา 30-40%
  • ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัท ยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ (ยูเอฟพี) และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการณ์และการตลาด บริษัท พรานทะเล มาร์เก็ตติ้ง ผู้ผลิตและทาตลาดอาหารแช่แข็งพร้อมรับทานแบรนด์ “พรานทะเล” และผักตัดแต่งแบรนด์ “พรานไพร” เปิดเผยว่าจากปัญหาภัยน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ของประเทศขณะนี้ กระทบตรงยังกลุ่มสินค้าพืชผักโดยรวม โดยเฉพาะผักที่เพาะปลูกในภาคเหนือ เช่น ผักกาด,กระหล่ำปลี เป็นต้น แต่กลุ่มผักในภาคกลาง อาทิ มะนาว, ผักคะน้า และผักใบอื่นๆ ยังทาตลาดได้ปกติ ซึ่งอาจทาให้มีผักบางรายการปรับราคาสินค้าสูงขึ้นราว 30-40% เทียบกับช่วงปกติ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า จากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ค้าส่งค้าปลีก และขนส่ง ที่มีสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 8.3 40.8 13.3 และ 9.4 ตามลำดับ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมได้รับผลกระทบรุนแรงมากที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรให้มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้น้ำหนักของผักและผลไม้ที่มีสัดส่วนในตะกร้าเงินเฟ้อร้อยละ 3.90 ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนก.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 8.12 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนก.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.03 ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 54 จะขยายตัวร้อยละ 3.8 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.6 — 4.1) (คาดการณ์ ณ ก.ย.54) จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะหมวดอาหารสดที่ได้รับแรงกกดดันจากปัญหาอุทกภัย และอากาศแปรปรวน ประกอบกับต้นทุนในหมวดพลังงานที่เร่งขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกเป็นสาคัญ
3. เยอรมนี-ฝรั่งเศสเผยแผนแก้วิกฤตหนี้ก่อนสิ้น ต.ค. 54
  • นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวหลังเสร็จสิ้นการเจรจาที่กรุงเบอร์ลินถึงเป้าหมายการกาหนดแนวทางที่ยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาหนี้ในกรีซ แนวทางการเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ในยุโรป และการนาเสนอแผนเร่งรัดการประสานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในยูโรโซนภายในสิ้น ต.ค.54 เพราะยุโรปจาเป็นต้องแก้ไขปัญหาก่อนเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของกลุ่ม G-20 ที่เมืองคานส์ ทั้งนี้ ตลาดการเงินคาดหวังว่าการประชุม 2 ประเทศดังกล่าวจะก่อให้เกิดความคืบหน้า และเพิ่มความชัดเจนของมาตรการแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปจาเป็นต้องมีความคืบหน้ารวดเร็ว เนื่องจากที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในบางประเทศ เช่น กรีซ (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับสูงกว่า 1.6 เท่าของจีดีพี) ยังประสบปัญหาบางประการ ได้แก่ ความเหมาะสมและชัดเจนของขนาดกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) และSafety Net Packages อื่นๆ ตลอดจนกระบวนการทางการเมืองและกฏหมายที่ขาดความยืดหยุ่นทำให้ไม่สามารถเข้าจัดการแก้ไขวิกฤตได้โดยรวดเร็ว ซึ่งวิกฤตฯ ได้ลุกลามและกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยล่าสุด Moody’s ปรับลดความน่าเชื่อถือของอิตาลีจากระดับ Aa2 เป็น A2 ทั้งนี้ หากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อ จะส่งผลให้ประเทศอื่นๆในยูโรโซนที่มีขนาดเศรษฐกิจค่อนข้างใหญ่ อาทิ สเปน ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เผชิญกับสถานการต้นทุนการระดมทุนที่สูงขึ้น และจะกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยในที่สุด เนื่องจากปัจจุบันสหภาพยุโรปเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 4 ของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปกลุ่มนี้ร้อยละ 9.8 ของการส่งออกทั้งหมด

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ