ผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกันยายน 2554 และรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 17, 2011 10:09 —กระทรวงการคลัง

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกันยายน 2554 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2554 ดังนี้

ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ

1. การกู้เงินภาครัฐ

1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล

การกู้เงินในประเทศของรัฐบาลในเดือนกันยายน 2554

ในเดือนกันยายน 2554 กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชย การขาดดุลงบประมาณ โดยการออกตั๋วเงินคลัง 45,691 ล้านบาท การออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 7,000 ล้านบาท และการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อรายย่อยพิเศษ 458.70 ล้านบาท และการกู้ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 888.19 ล้าน

ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลได้ทำการกู้เงินรวม 320,033.25 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

1. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 200,665.54 ล้านบาท

2. การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 112,940.09 ล้านบาท

3. การกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ จำนวน 6,427.63 ล้านบาท

1.2 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ

การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจในเดือนกันยายน 2554

ในเดือนกันยายน 2554 รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศ รวมกันทั้งสิ้น 3,898 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1,562 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมามีจำนวนรวม 44,310.15 ล้านบาท

2. การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ

2.1 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล

การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในเดือนกันยายน 2554

ในเดือนกันยายน 2554 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

2.1.1 การแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรเพื่อการบริหารหนี้จำนวน 27,000 ล้านบาท

2.1.2 การปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สอง (FIDF 3) จำนวน 9,367.45 ล้านบาท โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 8,064.16 ล้านบาท และทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1 และ FIDF 3) จำนวน 1,303.29 ล้านบาท

2.1.3 การออกพันธบัตรรัฐบาล 29,000 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ระยะสั้นจำนวน 18,000 ล้านบาท และเพื่อนำไปคืนเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1 และ FIDF 3) ในเดือนกรกฎาคม 1,000 ล้านบาท เดือนสิงหาคม 8,696.71 ล้านบาท และเดือนกันยายน 1,303.29 ล้านบาท ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 29,000 ล้านบาท จะไม่ปรากฏในตารางที่ 3 เนื่องจากจะเป็นการนับซ้ำกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่ได้รายงานไปแล้ว

2.1.4 การชำระคืนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนกำหนดวงเงิน 3,825.52 ล้านบาท และการชำระคืนพันธบัตรรัฐบาล ก่อนกำหนดวงเงินรวม 1,417,000 เหรียญสหรัฐ ก่อนกำหนด หรือคิดเป็น 42.52 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) พันธบัตรเงินกู้เพื่อพัฒนาการอาชีวะศึกษา 210,000 เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 6.30 ล้านบาท (2) พันธบัตรเงินกู้ทั่วไปในปีงบประมาณ พ.ศ. 2511 ครั้งที่ 2 จำนวน 170,000 เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 5.10 ล้านบาท และ (3) พันธบัตรเงินกู้เพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนมัธยมแบบประสม 1,037,000 เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 31.12 ล้านบาท

การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2554 กระทรวงการคลังดำเนินการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ในประเทศเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 365,482.03 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างเงินกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้ จำนวน 134,868.04 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างเงินกู้ชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ FIDF 3 จำนวน 113,013.99 ล้านบาท และเงินกู้โครงการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 117,600 ล้านบาท

2.2 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจในเดือนกันยายน 2554

ในเดือนกันยายน 2554 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศเป็นเงิน 4,000 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ซึ่งส่งผลให้การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมามีจำนวนรวม 75,112.77 ล้านบาท

3. การชำระหนี้ของรัฐบาล

ในเดือนกันยายน 2554 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้โดยใช้เงินงบประมาณ รวม 26,272.20 ล้านบาท ดังนี้

          - ชำระหนี้ในประเทศ 26,244.14 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 4,538.40 ล้านบาท และดอกเบี้ย 21,705.74         ล้านบาท
  • ชำระหนี้ต่างประเทศ 28.06 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 22.28 ล้านบาท ดอกเบี้ย 4.35 ล้านบาท และค่าธรรมเนียม 1.43 ล้านบาท

ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมรวม 198,352.89 ล้านบาท

          ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2554 มีจำนวน 4,269,026.84 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40.22 ของ GDP โดยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 3,010,317.68 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,072,101.07 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 155,624.44 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 30,983.65 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า   หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 11,026.52 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลง 6,167.39 ล้านบาท 2,807.60 ล้านบาท และ 2,482.13 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 430.60 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้น                      ไม่มีหนี้คงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 6 โดยรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของหนี้สาธารณะ มีดังนี้

1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง

1.1 หนี้ในประเทศ

หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 3,850.84 ล้านบาท โดยที่สำคัญเกิดจาก

  • การไถ่ถอนเงินกู้ระยะสั้น 20,000 ล้านบาท
  • การทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1 และ FIDF 3) เพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สอง (FIDF 3) จำนวน 8,696.71 ล้านบาท
  • การออกพันธบัตรเพื่อการบริหารหนี้ 25,000 ล้านบาท

1.2 หนี้ต่างประเทศ

หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลงจากเดือนก่อน 2,316.55 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูป เงินเหรียญสหรัฐลดลง 90.44 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก

  • ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 907.62 ล้านบาท และในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 16.94 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเยนได้มีการชำระคืนประมาณ 800.73 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 313.78 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐเท่ากับ 10.45 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการชำระคืนประมาณ 96.93 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 2,910.39 ล้านบาท

โดยมีรายละเอียดหนี้ต่างประเทศที่รัฐบาลกู้โดยตรงในสกุลเงินต่างๆ

2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

2.1 หนี้ในประเทศ

2.1.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 3,751.51 ล้านบาท โดยเกิดจาก

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการเคหะแห่งชาติได้ไถ่ถอนพันธบัตร 3,500 ล้านบาท และ 1,500 ล้านบาท ตามลำดับ และการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ไถ่ถอนและออกพันธบัตร 1,700 ล้านบาท และ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ
  • รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่า ชำระคืนต้นเงินกู้ 1,948.49 ล้านบาท

2.1.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 4,063.74 ล้านบาท โดยเกิดจาก

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีการไถ่ถอนพันธบัตร 3,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้มีการออกพันธบัตรและไถ่ถอนพันธบัตร 1,200 ล้านบาท และ 2,150 ล้านบาท ตามลำดับ
  • รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่า ชำระคืนต้นเงินกู้ 113.74 ล้านบาท

2.2 หนี้ต่างประเทศ

2.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3,873.10 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 79.51 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก

  • ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาท เพิ่มขึ้น 3,746.62 ล้านบาท และในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 75.30 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเยนได้มีการเบิกจ่ายมากกว่าการชำระคืนประมาณ 322.77 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 126.48 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐเท่ากับ 4.21 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาล ค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ

2.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1,134.55 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.23 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก

  • ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 1,828.48 ล้านบาท และในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 22.88 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินยูโรได้มีการชำระคืนประมาณ 9.05 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 392.13 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐเท่ากับ 13.06 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเยนได้มีการชำระคืนประมาณ 770.16 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 301.80 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐเท่ากับ 10.05 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาล ไม่ค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

3.1 หนี้ในประเทศ

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 2,530 ล้านบาท โดยเกิดจาก

  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ไถ่ถอนพันธบัตร 2,000 ล้านบาท
  • รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืน ต้นเงินกู้ 530 ล้านบาท

3.2 หนี้ต่างประเทศ

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 47.87 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐลดลง 0.34 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก

  • ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 121.81 ล้านบาท และในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.13 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเยนได้มีการชำระคืนประมาณ 121.95 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 47.79 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐเท่ากับ 1.60 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการชำระคืนประมาณ 0.87 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 26.15 ล้านบาท

โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ

4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 430.60 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของหนี้สินหมุนเวียน

หนี้สาธารณะ จำนวน 4,269,026.84 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 341,360.76 ล้านบาท หรือร้อยละ 8 และหนี้ในประเทศ 3,927,666.08 ล้านบาท หรือร้อยละ 92 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็น หนี้ระยะยาว 4,207,475.26 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.56 และหนี้ระยะสั้น 61,551.58 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.44 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 11 และ 12 ตามลำดับ

ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512

--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 125/2554 14 ตุลาคม 54--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ