Macro Morning Focus ประจำวันที่ 20 ตุลาคม 2554
Summary:
1. กนง.มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี
2. ยอดขายรถยนต์เดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 27.5%
3. GDP จีน ในไตรมาสที่ 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 9.1
Highlight:
1. กนง.มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี
- คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 3.50 ต่อปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันน่าจะช่วยดูแลแรงกดดันด้านราคาและยังเอื้อต่อการปรับตัวของเศรษฐกิจภายใต้ภาวะที่ปัจจัยลบจากเศรษฐกิจโลกมีมากขึ้น ในขณะที่ปัญหาและผลกระทบของอุทกภัยต่อภาพรวมของเศรษฐกิจยังไม่ยุติ ทั้งนี้ กนง. จะเฝ้าระวังสถานการณ์ความเสี่ยงต่างๆ อย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะดาเนินนโยบายอย่างเหมาะสมต่อไป
- สศค. วิเคราะห์ว่า นับจากต้นปี กนง. มีการประชุมทั้งหมด 6 ครั้ง และมีปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องนับจากต้นปีจานวน 5 ครั้ง และในครั้งล่าสุดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 3.50 ปัจจัยหลักมาจากเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันได้เผชิญความเสี่ยงกับเหตุการณ์อุทกภัยที่ขยายวงกว้างและอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป ทั้งนี้ สศค. ประเมินว่าผลกระทบจากเหตุการณ์น้าท่วม (ล่าสุด ณ วันที่ 8 ต.ค.54) จะส่งผลให้ GDP ลดลงร้อยละ -1.5 จากกรณีฐานและ สศค. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 54 (ณ เดือนก.ย. 54) จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.25 — 3.75
2. ยอดขายรถยนต์เดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 27.5%
- ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จากัด เปิดเผยถึงยอดขายรถยนต์เดือนก.ย. 54 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 87,012 คัน เพิ่มขึ้น 27.5% ประกอบด้วยรถยนต์นั่ง 40,685 คัน เพิ่มขึ้น 29.6% รถเพื่อการพาณิชย์ 46,327 คัน เพิ่มขึ้น 25.7% รวมทั้ง รถกะบะขนาด 1 ตันในเซกเมนท์นี้จานวน 40,087 คัน เพิ่มขึ้น 28.2% ทั้งนี้ ปัจจัยหลักยังคงเป็นผลต่อเนื่องจากการเพิ่มกาลังการผลิตเพื่อเร่งส่งมอบรถค้างจองที่มีอยู่เป็นจานวนมากให้เร็วขึ้น
- สศค. วิเคราะห์ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยจากข้อมูลล่าสุด 9 เดือนแรกของปี 54 ตลาดรถยนต์มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 670,969 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 เป็นผลจากความนิยมรถรุ่นใหม่ที่เข้าสู่ตลาด กาลังการผลิตที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติของประเทศญี่ปุ่นที่ทาให้สามารถส่งมอบรถได้เร็วขึ้น และกาลังซื้อของผู้บริโภคที่อยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม การเกิดภาวะอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต โดยเฉพาะโรงงานผลิตรถยนต์ และโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลายแห่งที่มีฐานการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ส่งผลให้โรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่งต้องหยุดการผลิตไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วน ทั้งนี้ สศค. คาดว่า ภาวะอุทกภัยจะส่งผลกระทบทาให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยปี 54 หดตัวลงร้อยละ 1.5 จากกรณีฐาน ทาให้เศรษฐกิจไทยทั้งปี 54 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.0
3. GDP จีน ในไตรมาสที่ 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 9.1
- สำนักข่าวซินหัว รายงานตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาสที่ 3 ปี 54 ว่าขยายตัวร้อยละ 9.1 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่าที่สุดในรอบ 2 ปี โดยชะลอลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 54 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 และไตรมาสแรกอยู่ที่ร้อยละ 9.7 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป และปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐ
- สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจประเทศจีนมีสัญญาณการเติบโตในอัตราชะลอลง สาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจจีนมีอัตราการขยายตัวอย่างร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมา ทาให้รัฐบาลจีนเองต้องชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจลง ผ่านการใช้นโยบายการเงินอย่างเข้มงวด เช่น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มสัดส่วนเงินทุนสารองตามกฎหมาย (Reserve requirement) เป็นต้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหภาพยุโรปที่ยังคงประสบปัญหาหนี้สาธารณะในระดับสูง และชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ถือได้ว่าเศรษฐกิจจีนยังคงขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง โดยในช่วง 9 เดือนแรกปี 54 เศรษฐกิจจีนขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 9.4 ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในปี 54 จะขยายตัวร้อยละ 9.2 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย. 54)
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th