รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 17 - 21 ตุลาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 25, 2011 09:59 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค.54 มีจานวนทั้งสิ้น 4,269.0 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 11.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.22 ของ GDP
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 90.7 ปรับลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
  • ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 54 มีขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 29.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปริมาณจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 25.7
  • Moody's ลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสเปนลง 2 ระดับสู่ระดับ A1
  • GDP จีน ในไตรมาสที่ 3 ปี 54 ขยายตัวในอัตราที่ต่าที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ยอดค้าปลีกของจีนในเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 17.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicators next week
 Indicators                          Forecast           Previous
Sep: MPI (% YoY)                       0.5                 7.0
  • โดยได้รับปัจจัยลบจากปัญหาน้าท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่อาจปรับตัวสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบ อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คงมีความเปราะบาง
Economic Indicators: This Week
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องโดยมีจำนวนทั้งสิ้น 1.5 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะจากกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ (สัดส่วน 22.8) ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งขยายตัวร้อยละ 46.6 35.9 และ 30.7 ตามลำดับ ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ปี 54 มีจานวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 14.4 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 27.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนภาคการท่องเที่ยวต่างชาติมีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 54
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศเดือน ก.ย.54 ขยายตัวร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.3 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาล ขยายตัวร้อยละ 2.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.2 โดยเป็นผลมาจากระดับการลงทุนที่กลับเข้าสู่ระดับปกติ รวมทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนจากราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน ก.ย.54 ขยายตัวเพียงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.3 ทั้งนี้ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.1 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลขยายตัวร้อยละ 6.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.9
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค.54 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,269.0 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 11.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.22 ของ GDP ทั้งนี้ การลดลงของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ลดลงสุทธิ 6.2 และ 2.8 พันล้านบาท ตามลำดับ สะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยมีความมั่นคง ทั้งนี้เนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ย.54 อยู่ที่ระดับ 90.7 ปรับลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 102.5 และเป็นการปรับลดเข้าสู่ระดับต่ำกว่า 100 เป็นครั้งแรกนับจาก พ.ย.53 เป็นต้นมาซึ่งค่าดัชนีที่ปรับลดลงเกิดจากองค์ประกอบด้านยอดคาสั่งโดยรวม ยอดขายโดยรวมต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ โดยได้รับปัจจัยลบสำคัญจากอุทกภัยในภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรและอุตสาหกรรม และสร้างความเสียหายแก่เขตเศรษฐกิจสาคัญและนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง ประกอบกับถนนหลายสายมีน้ำท่วมสูง จึงเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมและขนส่งสินค้า ประกอบกับปัจจัยรองอื่นๆ ได้แก่ ความผันผวนเศรษฐกิจโลก ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และแนวทางการฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่เสียหายภายหลังน้ำลด ทั้งนี้ ดัชนีฯ ได้ปรับต่ำกว่า 100 สะท้อนความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับต่ำ
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย.54 มีจำนวน 4.07 หมื่นคัน หรือขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 29.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 26.4 ตามอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่ชะลอการซื้อรถยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 54 เนื่องจากปัญหาภัยพิบัติสึนามิในญี่ปุ่นทำให้ขาดแคลนชิ้นส่วนการประกอบรถยนต์ ซึ่งในเดือนก.ย.54 เหตุการณ์คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคกลาง และบางส่วนของภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเนือ โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนประกอบยานยนต์นั้น คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์นั่งในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 ปี 54 เป็นต้นไป
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย.54 มีจำนวน 4.63 หมื่นคัน หรือขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 15.7 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 6.0 ตามการขยายตัวของรถกะบะขนาด 1 ตันที่ขยายตัวร้อยละ 28.7 เป็นสำคัญส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจากกำลังการผลิตที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และบริษัทรถยนต์สามารถส่งมอบรถยนต์ได้เร็วขึ้นกว่าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ประกอบกับการจัดกิจกรรมทางการตลาดรูปแบบใหม่ๆ ของค่ายรถยนต์เพื่อเพิ่มยอดขายในประเทศทั้งนี้คาดว่าจากเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคกลาง และบางส่วนของภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเนือ โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนประกอบยานยนต์นั้นคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 54 เป็นต้นไป
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ย.54 คาดว่าจะชะลอตัวที่ร้อยละ 0.50 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไตรมาส 3 มี MPI เฉลี่ยหดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.9 โดยได้รับปัจจัยลบจากปัญหาน้าท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่อาจปรับตัวสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบ อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คงมีความเปราะบาง

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: worsening economic trend
  • Moody's ลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสเปนลง 2 ระดับสู่ระดับ A1 ซึ่งต่ากว่าระดับน่าเชื่อถือสูงที่สุดอยู่ 4 ระดับ และคงมุมมอง Negative ไว้ เนื่องจากความกังวลต่อผลกระทบจากวิกฤตหนี้สาธารณะและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว มูลค่าการส่งออกเดือน ส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 14.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดี ขณะที่มูลค่าการนาเข้าในเดือนเดียวกันขยายตัวที่ร้อยละ 11.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ย. 54 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
China: Improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 54 ขยายตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 2.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) มูลค่าการก่อสร้างสินทรัพย์ถาวรในช่วง ม.ค.-ส.ค. 54 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 24.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 12.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 17.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 1.35 จากเดือนก่อนหน้า
USA: Mixed signal
  • ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวสูงที่สุดใน 7 เดือนที่ร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) โดยยอดขายรถยนต์ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 17 เดือนที่ร้อยละ 3.6 จากเดือนก่อนหน้า อัตราการว่างงานเดือน ก.ย. 54 คงที่เป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 9.1 ของกำลังแรงงานรวม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า โดยผลผลิตยานยนต์ คอมพิวเตอร์และอิเล็คทรอนิกส์ขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 และร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า ตามลำดับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ย.54 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนเดียวกันคงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.0
Singapore: Worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออกยกเว้นน้ำมัน (Non-Oil Export) เดือน ก.ย.54 หดตัวร้อยละ -4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หลังจากที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่หดตัวร้อยละ -35.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยพบว่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ -13.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งสะท้อนอุปสงค์จากนอกประเทศที่ชะลอลงชัดเจน ตามการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก
Philippines: Mixed signal
  • วันที่ 20 ต.ค.54 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 4.5 จาก (1) แรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอลงและ (2) ความเสี่ยงจากความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก
Malaysia: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 54 คงที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงจากราคาอาหาร วัสดุก่อสร้างที่ยังคงตัวอยู่ในระดับสูง ส่วนหนึ่งจากปัญหาอุทกภัยในไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก ที่อาจทำให้ผลผลิตเกษตรและข้าวลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อราคาอาหารและอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับสูงขึ้นต่อไป
Hong Kong: Mixed signal
  • อัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 3 ปี 54 ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง
India: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อดังกล่าว ถือว่ายังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 9.0 ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 10 เดือน และสร้างแรงกดดันให้ธนาคารกลางของอินเดียใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวต่อเนื่อง ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียที่เริ่มดาเนินมาตรการการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น จากปัจจัยเสี่ยงจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องลงสู่ระดับใกล้ 900 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเบาบางหลังจากที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์ก่อนหน้า ผลจากทั้งปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะความกังวลเรื่องการประชุมเพื่อเพิ่มวงเงินช่วยเหลือวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป อีกทั้ง Moody's ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปน 2 ขั้น จากเดิม Aa2 ลงมาอยู่ที่ระดับ A1 ในวันที่ 18 ต.ค. 54 ประกอบกับปัจจัยภายในจากภัยพิบัติน้าท่วมในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ถึงร้อยละ 20 จากทั้งหมด 510 บริษัท ทั้งนี้ ระหว่าง 17 - 20 ต.ค. 54 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,322 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลดลงในเกือบทุกช่วงอายุและการซื้อขายเบาบาง จากที่นักลงทุนรอผลการประชุมกนง. เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 54 โดยกนง. ได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.5 ประกอบกับเหตุการณ์น้าท่วมที่เกิดขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศ
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับ สัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 20 ต.ค. 54 อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ร้อยละ -0.19 ซึ่งเป็นการอ่อนค่าที่มากกว่าค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ขณะที่เงินวอนเกาเหลีต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 0.93 เนื่องจากการประกาศขยายขนาด bilateral total swap arrangement ระหว่าง ธนาคารกลางญี่ปุ่นและธนาคารกลางเกาหลีใต้ ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.37 สะท้อนว่าค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค
  • ราคาทองคาปรับลดลงต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 20 ต.ค. 54 ปิดที่ 1,619 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,669 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ