Macro Morning Focus ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2554
Summary:
1. “เซเว่นอีเลฟเว่น” ขออภัยประชาชนที่สินค้ามีน้อยกว่าความต้องการ
2. ทีดีอาร์ไอ ชี้เศรษฐกิจปี 54 โตบนความสูญเสีย
3. JP Morgan คาดเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวยาวถึงต้นปี 2012
Highlight:
1. “เซเว่นอีเลฟเว่น” ขออภัยประชาชนที่สินค้ามีน้อยกว่าความต้องการ
- ผู้บริหารเซเว่นอีเลฟเว่น ขออภัยลูกค้า ไม่สามารถวางจาหน่ายสินค้าได้ครบถ้วนตามปกติ หลังน้าท่วม ผลจากการขนส่งที่ล่าช้า ขณะซัปพลายเออร์บางรายลดปริมาณการผลิตลง ประกอบกับความต้องการของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเป็นประวัติการณ์ เผยคณะผู้บริหารและพนักงานทุกคนเร่งแก้ไขอย่างเต็มความสามารถ อาทิ การสั่งสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าต่างจังหวัดเข้ามาเสริม, การแสวงหารถขนส่งขนาดใหญ่เพิ่มเติม, การหาสินค้าทดแทน, การเพิ่มจุดกระจายสินค้าขนาดย่อมเพิ่มขึ้น ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า
- สศค. วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อภาคค้าปลีกค้าส่งของ เศรษฐกิจด้านอุปทานอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ประสบภาวะน้าท่วม การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนต้องหยุดชะงักลง ภาคการค้าปลีกค้าส่งจึงชะลอตัวลงอย่างมาก นอกจากนั้นการถูกเลิกจ้างชั่วคราวของแรงงานที่ทางานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้าท่วม ส่งผลให้ กาลังซื้อของประชาชนลดลง ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาคค้าปลีกค้าส่ง อย่างไรก็ดีสินค้าที่ขาดแคลนในบางพื้นที่ ยังเป็นแรงกดดันให้ราคาสินค้าเหล่านั้นปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่ออัตราเงินเฟ้อ ทาให้ สศค.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 54 จะขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.8 ได้ (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย.54)
2. ทีดีอาร์ไอ ชี้เศรษฐกิจปี 54 โตบนความสูญเสีย
- ปรึกษาฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ปัญหาน้าท่วมครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยประมาณเบื้องต้นว่า จะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่า 100,000 บาท โดยจะฉุดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะโตร้อยละ 4 ลดลง
- สศค. วิเคราะห์ว่า การเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต โดยเฉพาะ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ โดยในเบื้องต้น สศค. ได้ประเมินความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ โดยที่ความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 15.7 หมื่นล้านบาท และจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในปี 54 หดตัวลงร้อยละ 1.5 คาดว่าจะทาให้การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยทั้งปี 54 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.0 โดยเป็นการปรับลดลงจากเดือน ก .ย .54 ที่ สศค. เคยประมาณการว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตได้ร้อยละ 4.0 (ช่วงคาดการณ์ ร้อยละ 3.8 - 4.3) แต่อย่างไรก็ดี เมื่อช่วงวิกฤติดั่งกล่าวผ่านพ้นไปแล้ว คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากหมวดค้าปลีกค้าส่ง จากการซ่อมแซมถนนหนทางและการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของประชาชน รวมไปถึงการเร่งเปิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐเพื่อชดเชยให้แก่ผู้ประสบภัยน้าท่วม ซึ่งจะปัจจัยบวกให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
3. JP Morgan คาดเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวยาวถึงต้นปี 2012
- Bruce Kasman นักเศรษฐศาสตร์แห่ง JP Morgan Chase & Co. เปิดเผยว่าวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ตลอดจนมาตรการรัดเข็มขัดและความไม่แน่นอนของนโยบายทางการคลังในสหรัฐ จะเป็นปัจจัยสาคัญที่จะดึงเศรษฐกิจสหรัฐให้ชะลอตัวในช่วงต้นปี 2012 โดยคาดว่าในช่วงเวลาดังกล่าว การขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐจะต่ากว่าร้อยละ 1.0 ทั้งนี้ ภาวะการชะลอตัวดังกล่าวจะทาให้อัตราการว่างงานในสหรัฐเพิ่มสูงขึ้นจากระดับร้อยละ 9.1 ในเดือน ก.ย.2011
- สศค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาการว่างงานในสหรัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังกล่าว จะกระทบภาระการคลังของสหรัฐ เนื่องจากปัจจุบัน ชาวอเมริกันกว่า 29 ล้านคน (โดย 14 ล้านคนที่เป็นผู้ว่างงาน และอีก 25 ล้านคน เป็นผู้ที่กาลังหางานทา) ต้องรอรับสวัสดิการว่างงานต่างๆจากภาครัฐ อาทิ ค่าใช้จ่ายกองทุนประกันสังคม สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ และภาระดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกตามแนวโน้มการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในสหรัฐ ขณะเดียวกัน ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปที่ยังคงมีต่อเนื่อง หลังจากกรีซระบุว่าไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณของปี 54 และ 55 ได้ตามเกณฑ์ที่ตกลง ทาให้ สศค.คาดการณ์ ( ณ ก.ย. 54) ว่าเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปที่เป็นผู้นาเข้าอันดับ 3 และ 4 ของไทย ตามลาดับ จะชะลอลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7 ในทั้งสองภูมิภาค ซึ่งจะเป็นปัจจัยภายนอกที่เข้ามาซ้าเติมภาคการผลิตและการส่งออกของไทย นอกเหนือจากปัญหาภายในประเทศจากอุทกภัยที่ทาให้นิคมอุตสาหกรรมสาคัญ 7 แห่งของไทยต้องหยุดการผลิตลง
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th