รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 1, 2011 14:17 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. นำเข้าไข่ไก่ 3 ล้านฟองกู้วิกฤตขาดแคลน

2. รัฐตรึงค่าเอฟทีงวดหน้าลดค่าครองชีพประชาชน

3. เงินเยนอ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน

Highlight:
1. นำเข้าไข่ไก่ 3 ล้านฟองกู้วิกฤตขาดแคลน
  • รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์ไข่ไก่ขาดแคลนว่า กระทรวงพาณิชย์ได้แก้ปัญหาด้วยการอนุมัติให้มีการนาเข้าไข่ไก่ โดยล็อตแรกจะนำเข้ามาจากมาเลเซียจานวน 3 ล้านฟอง โดยเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาความขาดแคลนได้ส่วนหนึ่ง พร้อมกล่าว่า ตอนนี้ไข่ไก่ในประเทศไม่เพียงพอ กระทรวงพาณิชย์ก็ต้องให้นาเข้า เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนเราต้องมองถึงความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก ไม่อยากให้นักธุรกิจมองถึงแค่ผลประโยชน์ของตนเอง ไม่อยากให้มองแบบนักธุรกิจมากเกินไป ในภาวะฉุกเฉินแบบนี้ต้องมองในแง่จริยธรรมด้วย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์อุทกภัยทำให้สินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันหลายรายการขาดแคลน และหายไปจากตลาด โดยเฉพาะสินค้าในหมวดอาหาร เนื่องจากแหล่งผลิตส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วม เส้นทางคมนาคมขนส่งถูกตัดขาด ประกอบกับประชาชนมีความวิตกกังวลจึงหันมากักตุนสินค้าเพิ่มขึ้น จนทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นในที่สุด ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาส 4/2554 ทาให้ สศค.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2554 จะเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.9 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.8 ใน เดือน ก.ย.2554 ทั้งนี้การนำเข้าสินค้าที่ขาดแคลนดังกล่าวจะสามารถช่วยลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ และบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในระยะสั้น
2. รัฐตรึงค่าเอฟทีงวดหน้าลดค่าครองชีพประชาชน
  • กรรมการกำกับกิจการพลังงาน สาขาด้านพลังงานกิจการไฟฟ้า เปิดเผยว่าจากการหารือร่วมกัน ระหว่างคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน กระทรวงพลังงาน และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เกี่ยวกับมาตรการลดภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ได้ข้อสรุปว่าจะตรึงค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟทีอย่างน้อย 1 งวด คืองวดเดือน ม.ค.-เม.ย.55 และปรับลดจานวนหน่วยของผู้ใช้ไฟฟ้าฟรีเหลือ 50 หน่วยต่อเดือนจากเดิม 90 หน่วย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มาตรการตรึงค่าไฟฟ้าและการปรับลดหน่วยผู้ใช้ไฟฟ้าฟรีเหลือ 50 หน่วยต่อเดือนจากเดิม 90 หน่วยจะช่วยแก้ปัญหาและลดผลกระทบของโรงงานอุตสาหกรรมที่ประสบภัยน้ำท่วม เนื่องจากเดิมผู้ใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมต้องแบกรับภาระให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าฟรี 12 สตางค์ต่อหน่วย แต่การลดจำนวนหน่วยใช้ไฟฟ้าฟรีเหลือ 50 หน่วยต่อเดือน จะเป็นการกระจายให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่มร่วมรับภาระประมาณ 2-4 สตางค์ต่อหน่วย นอกจากนี้การตึงค่าเอฟทีจะเป็นผลดีแต่แรงกดดันต่อเงินเฟ้อ ซึ่งหมวดค่าไฟฟ้าเชื้อเพลิง น้ำประปา และแสงสว่างมีสัดส่วนอยู่ในตะกร้าเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 5.0 โดยสศค.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยของปี 54 และ 55 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.8 และ 3.3 ตามลำดับ (ประมาณการ ณ เดือน ก.ย.54)
3. เงินเยนอ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
  • เงินเยนร่วงลงแตะระดับต่าสุดในรอบ 3 เดือน โดยอยู่ที่ระดับ 78.14 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตราที่นิวยอร์คเมื่อคืน 31 ต.ค.54 ซึ่งอ่อนค่าลงร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับวันศุกร์ที่ผ่านมาหลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราด้วยการเทขายสกุลเงินเยน โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดการแข็งค่าของเงินเยนที่กำลังสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นทั้งนี้ นาย จุน อาซูมิ รมว.คลังญี่ปุ่น ยืนยันว่าทางการญี่ปุ่นจะเข้าแทรกแซงตลาดจนกว่าสกุลเงินเยนจะอยู่ในระดับที่เอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรมการส่งออก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นนับจากต้นปีถึง ส.ค.54 หดตัวลงร้อยละ -2.3 ต่อปี จากที่เคยขยายตัวร้อยละ 24.4 ในปี 53 ขณะเดียวกันการพึ่งพารายได้จากการลงทุนในต่างประเทศของญี่ปุ่นยังประสบปัญหาจากปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง นอกจากนี้ในประเทศไทยที่มีนักลงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในสัดส่วนที่มากที่สุด กาลังเผชิญปัญหาอุทกภัยที่ส่งผลให้นิคมอุตสาหกรรม 6 แห่งในจังหวัดอยุธยาและปทุมธานี (ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนรวม 3.96 แสนล้านบาท โดยมีสัดส่วนนักธุรกิจจากญี่ปุ่นลงทุนกว่าร้อยละ 58.6) ต้องปิดตัวลง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ภาครัฐของญี่ปุ่นต้องสกัดการแข็งค่าของเงินเยนเพื่อเอื้ออำนวยต่อการส่งออกและทดแทนรายได้จากการลงทุนในต่างประเทศที่เผชิญปัจจัยลบดังกล่าว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ