รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 2, 2011 14:28 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. พาณิชย์เผยเงินเฟ้อทั่วไป ต.ค. 54 เพิ่ม 4.19 %

2. น้ำท่วมฉุด GDP ไตรมาส4 ติดลบ

3. ยูโรโซนตกงานพุ่ง

Highlight:
1. พาณิชย์เผยเงินเฟ้อทั่วไป ต.ค. 54 เพิ่ม 4.19 %
  • ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI) ในเดือน ต.ค.54 อยู่ที่ 113.07 เพิ่มขึ้น 4.19% จากช่วงเดียวกันปีก่อนต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 4.5% ขณะที่เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ CPI เฉลี่ย10 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.54) เพิ่มขึ้น 3.79% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI) ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารสดและ พลังงาน ใน ต.ค.อยู่ที่ 106.83 เพิ่มขึ้น 2.89% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.07% จากเดือนก่อนหน้า
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนต.ค.54 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.19 (%mom) เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งผลิต ส่งผลให้ราคาข้าว ไข่ ผักสด และเครื่องดื่มไม่มีแอลกฮอลล์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น สะท้อนจากน้ำหนักของตะกร้าเงินเฟ้อในหมวดของผักและผลไม้ และหมวดอาหารสดที่มีสัดส่วนร้อยละ 3.90 และ 14.61 ขยายตัวร้อยละ 15.49 และ 10.15 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ในขณะที่หมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงมีการหดตัวร้อยละ 0.29 ตามการลดลงของราคาน้ำมันดิบดูไบในตลาดโลก ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 54 จะขยายตัวร้อยละ 3.8 ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.6 — 4.1 (คาดการณ์ ณ ก.ย. 54)
2. น้ำท่วมฉุด GDP ไตรมาส4 ติดลบ
  • บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ให้สัมภาษณ์กับ Money Channel ถึงผลกระทบของเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ของไทย ว่าจะทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากเกิดความเสียหายกับหลายนิคมอุตสาหกรรม อีกทั้งยังลุกลามเข้ามาในกรุงเทพมหานคร โดยได้ประเมินผลกระทบเป็น 2 กรณี คือ ในกรณีพื้นฐานระดับน้ำในกรุงเทพเฉลี่ยประมาณ 50 เซ็นติเมตร และท่วมขังเป็นระยะเวลา 30 วัน จะทำให้การขยายตัวของจีดีพีในไตรมาส 4 ติดลบ 3.3% และทำให้จีดีพีทั้งปี 54 ขยายตัว 1.7%
  • สศค. วิเคราะห์ว่า วิกฤตอุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นอย่างยิ่ง ทั้งภาคการผลิตต่างๆ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ภาคบริการ และภาคการส่งออก ประกอบกับการถูกเลิกจ้างชั่วคราวของแรงงานที่ทางานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง ทั้งนี้ในเบื้องต้น สศค.ได้ประเมินความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ โดยมีความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 19.0 หมื่นล้านบาท และจะส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในปี 54 หดตัวลงร้อยละ 1.8 จากกรณีฐานรวมผลกระทบของพื้นที่ กทม.(ภายใต้สมมุติฐานน้ำท่วมร้อยละ 50 ของพื้นที่ มีระยะเวลา 15 วัน) อย่างไรก็ดี เมื่อช่วงวิกฤตอุทกภัยผ่านพ้นแล้ว คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากหมวดการก่อสร้างในส่วนของการซ่อมแซมถนนและที่อยู่อาศัยของประชาชน และหมวดค้าปลีกค้าส่ง รวมไปถึงการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐเพื่อชดเชยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็วขึ้นในปี 55 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 (คาดการณ์ ณ ก.ย. 54)
3. ยูโรโซนตกงานพุ่ง
  • สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป รายงานว่าจำนวนคนว่างงานของประเทศกลุ่มยูโรโซนในเดือน ก.ย.54 พุ่งขึ้น 185,000 คน ทำให้อัตราการการว่างงานสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 10.2 ของกำลังแรงงานรวม ทั้งนี้ ยอดคนว่างงานของประเทศกลุ่มยูโรโซนมีทั้งสิ้น 16.6 ล้านคน ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่มีการเริ่มใช้เงินยูโรเมื่อเดือน ม.ค.41
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ความเสี่ยงด้านปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะของประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) เป็นแรงกดดันที่สาคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ EU โดยล่าสุด อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ EU ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 2.0 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (qoq SA) ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 1.0 โดยเป็นผลมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของเยอรมนีเป็นสาคัญ อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูง และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการก็ยังคงบ่งชี้ถึงการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการของ EU โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 48.5 และ 48.8 ตามลำดับ ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ EU ในปี 54 จะขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย.54)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ