รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 3, 2011 17:01 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. กนง. แจงอุทกภัยกระทบศก.ช่วงที่เหลือปีนี้ขยายตัวต่ากว่าคาด

2. ต่างชาติมั่นใจอุตฯยานยนต์ไทยฟื้นตัวเร็ว

3. ดัชนีภาคการผลิตเดือน ต.ค. 54 ของสหรัฐฯ ชะลอตัว

Highlight:
1. กนง. แจงอุทกภัยกระทบศก.ช่วงที่เหลือปีนี้ขยายตัวต่ากว่าคาด
  • ธนาคารแห่งประเทศ(ธปท.) และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือน ต.ค.54 ว่า สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นมีผลรุนแรงและทาให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนหยุดชะงัก ซึ่งจะทาให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 54 ต่ากว่าที่คาดไว้มาก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 4.19 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อแหล่งผลิตสินค้า ทาให้ดัชนีในหมวดอาหารและเครื่องดื่มขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.86 ประกอบกับการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนหยุดการผลิตหรือผลิตได้ลดลง รวมทั้งไม่สามารถขนส่งสินค้าได้ตามปกติ ซึ่งจะทาให้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 54 ชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี เมื่อวิกฤตอุทกภัยผ่านพ้นแล้ว คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากการบูรณะซ่อมแซมความเสียหาย จะช่วยกระตุ้นให้อุปสงค์ภายในประเทศกลับมาขยายตัวได้ต่อไป ทั้งนี้ ในเบื้องต้น สศค. ได้ประเมินความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ประมาณ 19.0 หมื่นล้านบาท และจะส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในปี 54 หดตัวลงร้อยละ 1.8 จากกรณีฐานรวมผลกระทบของพื้นที่ กทม.(ภายใต้สมมุติฐานน้าท่วมร้อยละ 50 ของพื้นที่ มีระยะเวลา 15 วัน)
2. ต่างชาติมั่นใจอุตฯยานยนต์ไทยฟื้นตัวเร็ว
  • ผู้อานวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวนองค์กรให้คาปรึกษาและวิจัยระดับโลก เชื่อว่าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในไทยหลายรายจะสามารถกลับมาผลิตรถยนต์ได้อีกครั้งในช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้ ทั้งนี้ได้เสนอแนวทางการฟื้นฟูปัญหาซัพพลายเชน ด้วยการเพิ่มระยะเวลาการสต๊อกชิ้นส่วนเพื่อให้ผู้ผลิตมีสต๊อกเพียงพอสาหรับอย่างน้อย 1 เดือน หากมีการหยุดชะงักใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาชิ้นส่วน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า จากเหตุการณ์น้าท่วมที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคอุตสาหกรรม ที่มีสัดส่วนต่อ GDP ถึงร้อยละ 40.8 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องจากบริษัทผลิตยานยนต์ไม่สามารถผลิตตามกาลังการผลิตตามสถานการณ์ปกติได้ที่มีการผลิตจานวน 6,000 คันต่อวันของ 9 บริษัทผู้ผลิตยานยนต์ในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ดังกล่าวรัฐบาลจาเป็นต้องมีมาตรการรองรับเพื่อการฟื้นฟู อุตสาหกรรมยานยนต์ อาทิ มาตรการทางภาษี การหาแหล่งเงินทุนช่วยภาคอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงขยายตัวได้ดี สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในหมวดยานยนต์ และอัตราการใช้กาลังการผลิต (Cap U) ในหมวดการผลิตยานยนต์ รถพ่วงและรถกึงพ่วงในเดือนก.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 28.2 และร้อยละ 99.1 ตามลาดับ ประกอบกับยอดการจาหน่ายรถยนต์นั่งและรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 29.6 และ 25.7 ตามลาดับ
3. ดัชนีภาคการผลิตเดือน ต.ค. 54 ของสหรัฐฯ ชะลอตัว
  • สถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) รายงานว่า ดัชนีภาคการผลิตเดือน ต.ค.54 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ50.8 จากระดับ 51.6 ในเดือนก่อนหน้า และอยู่ในระดับที่ต่ากว่าการคาดการณ์ที่ระดับ 52.0 ทั้งนี้ การสารวจข้อมูลจากอุตสาหกรรมการผลิต 18 ประเภท พบว่า มีเพียงอุตสาหกรรม 8 ประเภท เท่านั้นที่มีการขยายตัว เช่น อุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า/ผลิตภัณฑ์ถ่านหินและปิโตรเลียม/ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์โลหะ ในขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกและยาง และผลิตภัณฑ์เคมีมีการชะลอตัวลง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การชะลอตัวของดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ บ่งชี้ถึงความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยล่าสุด ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (ISM Manufacturing PMI) ในเดือน ต.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 50.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.6 โดยเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่เติบโตในอัตราชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงดัชนีคาสั่งซื้อใหม่ (ISM New Orders Index) ในเดือน ต.ค.54 พบว่า อยู่ที่ระดับ 52.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.6 ถือเป็นระดับที่มากกว่า 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน แสดงถึงสัญญาณที่ดีของภาคการผลิตของสหร ฐฯ ที่จะสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะต่อไป ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของสหร ฐฯ ยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงในเรื่องของปัญหาการว่างงานในระดับสูงซี่งเป็นสิ่งที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป โดยล่าสุด อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 9.1 ของกาลังแรงงานรวม ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 54 จะขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย.54)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ